(Translated by https://www.hiragana.jp/)
The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20090206144949/http://rirs3.royin.go.th:80/word41/word-41-a9.asp
เหอะ ๑(ปาก) ว. เถอะ.
เหอะน่า (ปาก) เถอะน่า, คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิง
ชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น, เฮอะน่า ก็ว่า.
เหอะ ๒ว. เปรอะ เช่น ราขึ้นเหอะ; ขรุขระ เช่น หน้าเป็นสิวเหอะ.
เหะว. เละ ใช้แก่กริยาเมา ในคำว่า เมาเหะ.
เหะหะว. มีเสียงอึกทึกอย่างคนเมาเหล้า.
เหา ๑น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน
๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด
ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี
หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน
อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ
ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ
ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
เหา ๒, เหาฉลาม, เหาทะเลดู ติด ๓.
เห่า ๑ก. อาการส่งเสียงสั้น ๆ ของหมา.
เห่า ๒น. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร
พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดํา นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น
บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและ
แผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย
(N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra)
ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.
เหาน้ำน. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในอันดับ Isopoda เป็นปรสิต ที่พบในนํ้าจืด
เช่น สกุล Alitropus ในวงศ์ Aegidae, ในนํ้าเค็ม เช่น สกุล Livoneca ในวงศ์
Cymothoidae.
เหาไม้ดู เรือดไม้.
เหาะก. เคลื่อนที่ไปในอากาศด้วยฤทธิ์.
เหินก. บินอยู่ในระยะสูง เช่น หงส์เหิน นกเขาเหิน, ร่อนอยู่ในระยะสูง เช่น
นกนางแอ่นเหินลม.
เหินห่าง ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกันเหมือน
เดิม, จืดจาง, ห่างเหิน ก็ว่า.
เหินหาว ก. บินหรือเหาะไปในอากาศในระยะสูง.
เหินเห่อ ก. ค้างเติ่ง.
เหิมว. กําเริบ, ลําพองใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น เหิมเกริม เหิมหาญ เหิมห้าว
เหิมฮึก.
เหิมเกริม ก. กำเริบเสิบสาน.
เหิมหาญ ว. ลำพองใจด้วยความกล้าหาญ.
เหิมห้าว ว. ลำพองใจด้วยความมุทะลุดุดัน, ลำพองใจด้วยความแข็งกร้าว.
เหิมเห่อ ว. มีใจกำเริบทะเยอทะยาน, เห่อเหิม ก็ว่า.
เหิมฮึก ว. ลำพองใจด้วยความคะนอง, ฮึกเหิม ก็ว่า.
เหี้ยน. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิด Varanus salvator ในวงศ์ Varanidae
เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด โตเต็มวัยยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร ตัวอ้วนใหญ่
สีดํา มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยและหากินบริเวณใกล้นํ้า,
ภาษาปากว่า ตัวเงินตัวทอง.
เหียงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.
ในวงศ์ Dipterocarpaceae เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง.
เหียงกราด ดู กราด ๔.
เหียน ๑ก. หัน เช่น เหียนใบเรือ.
เหียนหัน ก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, หันเหียน ก็ว่า.
เหียน ๒, เหียน ๆก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ,
มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.
เหียนราก ก. มีอาการจะอาเจียน.
เหี้ยนก. กร่อนไปเกือบหมดหรือหมด, ตัดหมด.
เหี้ยมว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว.
(แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
เหี้ยมเกรียม ว. ใจดํา, ปราศจากใจกรุณา; ดุร้าย เช่น หน้าตาเหี้ยมเกรียม.
เหี้ยมหาญ ว. เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดขาด, ห้าวหาญปราศจากความปรานี.
เหี้ยมโหด ว. ดุร้ายทารุณ, โหดเหี้ยม ก็ว่า.
เหี่ยวว. ไม่สดชื่นเพราะขาดน้ำ เช่น ดอกไม้เหี่ยว, ค่อยแห้งไป เช่น ส้มโอเหี่ยว,
ไม่เต่งตึง เช่น หนังเหี่ยว; สลด เช่น ใจเหี่ยว.
เหี่ยวแห้ง ว. เหี่ยวแล้วค่อย ๆ แห้งไป เช่น ใบไม้เหี่ยวแห้ง. ก. ขาดความ
สดชื่นเพราะหดหู่ใจ เช่น จิตใจเหี่ยวแห้ง, แห้งเหี่ยว ก็ว่า.
เหื่อ(ปาก) น. เหงื่อ.
เหือด ๑น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้ ต่อมนํ้าเหลืองที่คอโต
ออกผื่นแดงทั่วตัวคล้ายโรคหัด แต่อาการไม่รุนแรงเท่า มีผลรุนแรง
ต่อทารกในครรภ์ระยะ ๓ เดือนแรก, หัดเยอรมัน ก็เรียก.
เหือด ๒ก. ซาลง เช่น ไข้เหือดแล้ว, ค่อยแห้งหายไปในคำว่า เหือดหาย เหือดแห้ง
แห้งเหือด.
เหือดหาย ก. แห้งหายไป, หมดไป.
เหือดแห้ง ก. ค่อยแห้งหายไป, แห้งเหือด ก็ว่า.
แห ๑น. ชื่อเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่าย ใช้ทอดแผ่ลงในนํ้าแล้วค่อย ๆ
ดึงขึ้นมา.
แห ๒(ถิ่น-ปักษ์ใต้, อีสาน) ว. เปรียว, ไม่เชื่อง.
แห ๓(วรรณ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแห
ห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม. (เห่เรือ).
แห่น. ขบวนที่ไปพร้อมกันด้วยวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีการ
ตกแต่งหรือมีดนตรีประกอบเป็นต้น เช่น แห่นาค แห่ขันหมาก แห่ศพ.
ก. ไปกันเป็นพวกเป็นหมู่มาก ๆ.
แห่ห้อม ก. แวดล้อมไป.
แห่แหน [-แหนฺ] ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหน
พระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน; ยกพวกกันมามาก ๆ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด
อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนฝูงแห่แหนกันมาเต็มบ้าน.
แห้ว. เสียงอย่างเสียงหมาคําราม, เขียนเป็น แฮ่ ก็มี.
แหกก. แยกออก, ถ่างออก, ทําให้อ้าออก, เช่น แหกขา, ใช้กําลังฟันฝ่าออกไป
เช่น แหกคุก กองทหารตีแหกวงล้อมข้าศึกออกไป.
แหกขี้ตา (ปาก) ก. รีบร้อน เช่น แหกขี้ตามาแต่เช้า.
แหกคอก ก. ประพฤติตัวผิดเหล่าผิดกอหรือผิดขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่เคยประพฤติปฏิบัติกันมา (มักใช้ในเชิงตำหนิ).
แหกตา ก. ใช้มือถ่างเปลือกตาออก, โดยปริยายหมายความว่า ลืมตา
(ใช้ในเชิงประชด) เช่น แหกตาดูเสียบ้างซิ, หลอก เช่น ถูกแม่ค้าแหกตา.
แหกปาก (ปาก) ก. ตะเบ็งเสียง.
แหง ๑[แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง;
ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
แหง ๒, แหง ๆ[แหฺง, แหฺงแหฺง] (ปาก) ว. แน่, แน่นอน, เช่น ชนะแหง ตายแหง ๆ.
แหง่[แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ
ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ
ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยัง
ทําอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.
แห่งน. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่,
ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.
แห้งว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่
น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค
ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง;
ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า
ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
แห้งผาก ว. แห้งอย่างไม่มีความชื้นปนอยู่, แห้งสนิท.
แห้งแล้ง ว. ปราศจากความสดชื่น, ปราศจากความชุ่มชื้น.
แห้งเหี่ยว ก. ขาดความสดชื่น, เหี่ยวแห้ง ก็ว่า.
แห้งเหือด ก. ค่อยแห้งหายไปเพราะหดหู่ใจ เช่น จิตใจแห้งเหี่ยว, เหือดแห้ง
ก็ว่า.
แหงแก๋[แหฺง-] (ปาก) ว. แน่, แน่นอน, สิ้นสงสัย, เช่น ตายแหงแก๋ แพ้แหงแก๋.
แหงน[แหฺงน] ก. หงายหน้าขึ้น, เงยขึ้น.
แหงนคอตั้งบ่า (สำ) ก. เงยเต็มที่.
แหงนเต่อ, แหงนเถ่อ ว. ค้างอยู่; โดยปริยายหมายความว่า เก้อ, ไม่สม
ปรารถนา.
แหน ๑[แหนฺ] ก. ใช้เข้าคู่กับคำอื่น ในคำว่า หวงแหน แห่แหน เฝ้าแหน.
แหน ๒[แหนฺ] (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์
Combretaceae เช่น แหนนา (T. glaucifolia Craib).
แหน ๓[แหฺน] น. ชื่อไม้นํ้าหลายชนิดในวงศ์ Lemnaceae ใบกลมเล็ก ๆ ลอยอยู่
ตามนํ้านิ่ง เช่น แหนเล็ก (Lemna minor L., L. perpusilla Torr.) แหนใหญ่
[Spirodela oligorrhiza (Kurz) Hegelm. และ S. polyrrhiza (L.) Schleid.].
แห้นก. แทะ, กัดด้วยฟันหน้า.
แหนง ๑[แหฺนง] (โบ) ก. หมาง, ระแวง, เช่น แหนงกัน คือ หมางใจกัน แหนงความ
คือ ระแวงความ.
แหนงใจ ก. หมางใจ, ระแวงแคลงใจ.
แหนงหน่าย [แหฺนงหฺน่าย] ก. ระอาเพราะหมางใจหรือแคลงใจเป็นต้น,
หน่ายแหนง ก็ว่า.
แหนง ๒[แหฺนง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. พิธีทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่ได้
แต่งงานตลอดไป.
แหนบ[แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ;
แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง
สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์;
เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน
เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น
ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง
แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด
ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย
ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
แหนม[แหฺนม] น. อาหารอย่างหนึ่ง ทําด้วยหมู หมักให้เปรี้ยว.
แหบว. ลักษณะของเสียงที่แห้งไม่แจ่มใส, เรียกชื่อของกลุ่มเสียงที่บีบให้สูง
เป็นพิเศษของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะปี่ในว่า เสียงแหบ.
แหม ๑[แหฺม] น. ปลอกรัดสิ่งของบางอย่าง เช่นลํากล้องปืนยาวแบบโบราณให้ติด
กับราง ด้ามมีด ด้ามสิ่ว ไม้กวาดทางมะพร้าว.
แหม ๒[แหฺม] ว. เสียงที่เปล่งออกมาให้รู้สึกว่าเป็นการแปลกเป็นต้น.
แหม่[แหฺม่] ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว.
แหม่ม[แหฺม่ม] น. คําเรียกหญิงฝรั่ง.
แหมะ ๑[แหฺมะ] ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เดินมาจนเหนื่อยเลยแหมะ
อยู่ที่โคนต้นไม้ก่อน เอาของแหมะไว้ตรงนี้อีกแล้ว. ว. อาการที่นั่งหรือ
วางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น นั่งแหมะ วางของแหมะ.
แหมะ ๒, แหมะ ๆ[แหฺมะ] ว. เสียงดังอย่างเสียงน้ำหยด.
แหย[แหฺย] ว. อาการที่ไม่สู้ใครหรือเก้ออาย.
แหย่[แหฺย่] ก. เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นแยงเข้าไป; เย้า, ทําให้เกิดความ
รําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้; ลองดูชั้นเชิง.
แหยง[แหฺยง] ก. ขยาด, ย่อท้อ, ไม่คิดสู้, เช่น พอเห็นหน้าก็แหยงเสียแล้ว.
ว. อาการที่รู้สึกขยาด ย่อท้อหรือไม่คิดสู้, แหยง ๆ ก็ว่า, เช่น รู้สึกแหยง ๆ.
แหย่ง[แหฺย่ง] น. สัปคับ, ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง, แหย่งช้าง ก็เรียก.
แหยม[แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ
ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า
หนวดแหยม.
แหย็ม(ปาก) ก. เข้าไปยุ่งด้วยโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องของผู้ใหญ่
เด็กอย่างเราอย่าไปแหย็ม.
แหยะ, แหยะ ๆ[แหฺยะ] ว. ไม่น่ากินไม่น่าแตะต้องเพราะแฉะ; อาการที่เคี้ยวข้าวเคี้ยวหมาก
เป็นต้นอย่างเนิบ ๆ.
แหล่ ๑[แหฺล่] ว. มาก เช่น เหลือแหล่ หลายแหล่.
แหล่ ๒[แหฺล่] น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล
เช่น นั้นแล นั่นแล. ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์.
แหล่นอก [แหฺล่-] น. แหล่เรื่องที่อยู่นอกคัมภีร์เทศน์มหาชาติ.
แหล่ใน น. แหล่ตามคัมภีร์เทศน์มหาชาติ.
แหลก[แหฺลก] ว. เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น ข้าวแหลก, ละเอียดเป็นผง เช่น บดยา
ให้แหลก, ป่นปี้ เช่น ตีกันแหลก.
แหลกลาญ [-ลาน] ว. ย่อยยับ, แตกทลาย, พังทลาย.
แหลกเหลว ว. ป่นปี้, ไม่มีชิ้นดี, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
แหล่ง[แหฺล่ง] น. ถิ่น, ที่อยู่, บริเวณ, ศูนย์รวม, บ่อเกิด, แห่ง, ที่.
แหล่งเสื่อมโทรม น. บริเวณที่คนอาศัยอยู่อย่างแออัด ประกอบด้วยบ้านเรือน
ที่ทรุดโทรมไม่ถูกสุขลักษณะ.
แหล่งหล้า น. พื้นแผ่นดิน.
แหลน[แหฺลน] น. เครื่องมือใช้แทงปลาเป็นต้น ทําด้วยเหล็กกลมยาว ปลายแหลม
มีด้ามยาว; ชื่อเครื่องกีฬาชนิดหนึ่ง มีลักษณะกลมยาว ปลายแหลม ใช้พุ่ง
ในการแข่งขันกรีฑาประเภทลาน.
แหลม[แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา
แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น
ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน
หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
แหลมหลัก ว. คมคาย เช่น วาจาแหลมหลัก, เฉียบแหลม เช่น ความคิด
แหลมหลัก, หลักแหลม ก็ว่า.
แหละ[แหฺละ] ว. คําประกอบเพื่อเน้นความ เช่น คนนี้แหละ.
แหว[แหฺว] ว. ลักษณะของเสียงดังที่แสดงอาการดุ. ก. แผดเสียงดุ.
แห้ว[แห้วฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cyperaceae ขึ้น
ตามที่ชื้นแฉะ หัวกินได้ เช่น แห้วจีน [Eleocharis tuberosa (Roxb.)
Schult.], แห้วกระดาน (Scirpus grossus L.f. var. kysoor C.B. Clarke),
แห้วไทย (Cyperus esculentus L.).
แห้วหมู น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Cyperus rotundus L. ในวงศ์ Cyperaceae
หัวมีกลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้, หญ้าแห้วหมู ก็เรียก.
แหวก[แหฺวก] ก. แยกให้เป็นช่อง, แยกสิ่งที่ปิดบังหรือกีดขวางให้เป็นช่องทาง
เช่น แหวกม่าน แหวกหญ้า แหวกผม; ฝ่าสิ่งที่กีดขวางเข้ามาหรือออกไป
เช่น แหวกวงล้อมข้าศึก.
แหวกแนว ก. ทําไม่ซํ้าแบบใคร เช่น เขาชอบแหวกแนว. ว. ที่ชอบทำใน
สิ่งที่ไม่ซ้ำแบบใคร เช่น เขาเป็นคนแหวกแนว.
แหวกประเพณี ก. ทำผิดประเพณีที่เคยกระทำกันมา.
แหวกว่าย ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไป
ในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า
แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.
แหว่ง[แหฺว่ง] ว. ไม่เต็มตามที่ควรมี เช่น ปากแหว่ง ตัดผมแหว่ง กินขนมแหว่ง
ไปหน่อย.
แหวด[แหฺวด] น. ชื่อเรือแจวชนิดหนึ่ง มีเก๋งรูปยาว ๆ ท้ายโตและสูง เรียก
เรือแหวด.
แหวน[แหฺวน] น. เครื่องประดับสําหรับสวมนิ้วทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, เรียก
สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นวงว่า วงแหวน เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
แหวนหัว น. แหวนที่ฝังพลอยเม็ดใหญ่เม็ดเดียวนูนขึ้น.
แหวะ[แหฺวะ] ก. เอาสิ่งที่มีคมกรีดให้เป็นช่องตามที่ต้องการ เช่น แหวะท้องปลา;
อาการที่เด็กเล็ก ๆ สํารอกอาหารหรือยาออกมา. น. อาหารหรือยาที่ล้น
กระเพาะเด็กเล็ก ๆ ออกมาทางปาก.
แหะ, แหะ ๆว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร
ได้แต่แหะ ๆ.
โห่อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง
ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย
หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
โหก ๑น. ช่อง, ระวาง.
โหก ๒ก. โงกหลับ.
โหง ๑น. ผี; เรียกการตายผิดธรรมดาโดยอาการร้าย เช่นถูกฆ่าตาย ตกนํ้าตาย
ว่า ตายโหง.
โหงพราย น. ผีที่เขาปลุกเสกไว้ใช้.
โหง ๒ก. กระดกขึ้น, ยกขึ้น, เช่น เกวียนโหง.
โหด ๑(โบ) ว. ไร้, ไม่มี, เช่น นกไร้ไม้โหด, ยากไร้ เช่น เพราะเห็นกูโหดหืน
แลดูแคลนกูกลใด ด่งงนี้. (ม. คำหลวง มัทรี).
โหด ๒ว. ชั่ว, ร้าย, เช่น ใจโหด; (ปาก) ยากมาก เช่น ข้อสอบวิชานี้โหด; เข้มงวด
มาก เช่น ครูคนนี้โหด.
โหดร้าย ว. ร้ายกาจ.
โหดเหี้ยม ว. ดุร้ายทารุณ, เหี้ยมโหด ก็ว่า.
โหน[โหนฺ] ก. เหนี่ยวห้อย, เอามือเหนี่ยวให้ตัวลอยขึ้นไป; (ปาก) ประจบประแจง
เช่น เขามีนิสัยชอบโหนผู้บังคับบัญชา.
โหนก[โหฺนก] ว. นูนยื่นออกมา เช่น หน้าผากโหนก.
โหนกแก้ม น. ส่วนของแก้มตรงที่มีกระดูกนูนออกมา.
โหน่ง[โหฺน่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงตีฆ้องวง.
โหม ๑, โหม-[โหมะ-] น. การเซ่นแก่เทพดาของพวกพราหมณ์โดยใช้เนยเผาในไฟ;
การบูชายัญ, การเซ่นสรวงทั้งปวง. (ป., ส.).
โหมกรรม น. พิธีเซ่นสรวง. (ส. โหม + กรฺมนฺ).
โหมกูณฑ์ น. พิธีพราหมณ์เกี่ยวแก่การบูชาไฟ. (ส.).
โหม ๒[โหมฺ] ก. ระดม เช่น โหมกําลัง โหมไฟ.
โหมโรง น. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการ
บรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว
แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง
เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
โหมหัก ก. ระดมเข้าไปด้วยกําลังให้แตกหัก, หักโหม ก็ว่า.
โหมฮึก ก. ระดมเข้าไปด้วยความคะนอง, ฮึกโหม ก็ว่า.
โหม ๓[โหมฺ] น. ผักโหม. [ดู ขม ๒ (๑)].
โหม่[โหฺม่] (ปาก) ก. โผล่. ว. โด่ เช่น นั่งหัวโหม่.
โหม่ง ๑[โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย
ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น
หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
โหม่ง ๒[โหฺม่ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ฆ้องคู่. ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง.
โหมด[โหฺมด] น. เรียกผ้าชนิดหนึ่งซึ่งเดิมทําด้วยกระดาษทองตัดเป็นเส้นเหมือน
เส้นทอง แล้วทอกับไหม ต่อมาใช้กระดาษเงินกระดาษทองพันเส้นไหมทอ
กับไหมสี ว่า ผ้าโหมด.
โหมดเทศ น. ผ้าโหมดที่ทํามาจากอินเดีย.
โหย[โหยฺ] ก. อ่อนกําลัง, อ่อนใจ; ครวญถึง, รํ่าร้อง; มักใช้ประกอบคำอื่น ๆ
เช่น โหยหา โหยหิว โหยหวน โหยไห้.
โหยหวน ว. ลักษณะของเสียงที่คร่ำครวญด้วยความเสียใจหรือเจ็บปวด
เป็นต้น ทำให้รู้สึกวังเวงใจ.
โหยหา ก. คร่ำครวญถึงบุคคลผู้เป็นที่รักซึ่งพลัดพรากจากไปเป็นต้น.
โหยหิว ก. รู้สึกอ่อนเพลียเพราะมีความหิวมาก.
โหยไห้ ก. ร้องไห้ครํ่าครวญถึง.
โหยกเหยก[โหฺยกเหฺยก] ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, ไม่แน่นอน, (ใช้แก่การพูด), เช่น
พูดจาโหยกเหยก; โยเย, ขี้อ้อน, ร้องไห้งอแง, (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้
โยเยโหยกเหยกจริง.
โหยง[โหฺยง] ว. อาการที่กระโดดโดยฉับไวด้วยดีใจหรือตกใจ เช่น กระโดดโหยง
สะดุ้งโหยง.
โหย่ง ๑[โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยาย
ตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.
โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ[โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน
สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า
ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ,
อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง
หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
โหร[โหน] น. ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก; ผู้ให้ฤกษ์
และพยากรณ์โชคชะตาราศี. (ส., ป. โหรา).
โหรา ๑ (กลอน) น. โหร.
โหราจารย์ น. ผู้ชํานาญในวิชาโหราศาสตร์.
โหราศาสตร์ น. วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาว
เป็นหลัก.
โหรง, โหรงเหรง[โหฺรง, โหฺรงเหฺรง] ว. มีน้อย, บางตา, เช่น โหรงตา, คนดูโหรงเหรง,
โกร๋งเกร๋ง หรือ โกร๋นเกร๋น ก็ว่า.
โหรดาจารย์[โหระ-] น. พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่สวดสดุดีและอาราธนาเทพต่าง ๆ
ให้มาร่วมในพิธีบูชาบวงสรวง. (ส. โหตฺฤ + อาจารฺย).
โหระพาน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum basilicum L. ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน
กินได้.
โหรา ๑ดู โหร.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒