(Translated by https://www.hiragana.jp/)
พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20090212162306/http://rirs3.royin.go.th:80/wordsymbol.html

ค. เครื่องหมายต่าง ๆ

การใช้เครื่องหมายต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑. เครื่องหมายจุลภาค ( , ) ก. ใช้คั่นบทนิยามแต่ละบทที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน หรือทำนองเดียวกัน เช่น กระ ตือรือร้น ก. รีบร้อน, เร่งรีบ, ขมีขมัน, มีใจฝักใฝ่เร่งร้อน. หรือคั่นหลังบทนิยามก่อนหน้าคำบอกไวพจน์ ของคำตั้ง เช่น เข้าโกศ ก. บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า. ในกรณีที่คำไวพจน์อยู่หลังบทนิยามซึ่ง มีเครื่องหมายอัฒภาคคั่น หมายความว่าคำไวพจน์นั้นใช้กับความหมายของบทนิยามที่อยู่ข้างหลังเครื่อง หมายอัฒภาคเท่านั้น เช่น ไข่ข้าว น. ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัว ต้มแล้วแข็งและเหนียวผิดปรกติ; ไข่ปอกเสียบ ไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ขวัญ ก็เรียก. (ดู ขวัญ). ข. ใช้คั่นหลังบทนิยามสุดท้าย ก่อนหน้าตัวอย่างที่ยกมาประกอบ เพื่อแสดงว่าตัวอย่าง ที่ยกมาประกอบนั้นเป็นตัวอย่างของบทนิยามทุกบทที่อยู่ข้างหน้า เช่น ขวย ก. กระดาก, อาย, เช่น แก้ ขวย ขวยใจ. ถ้าไม่มีเครื่องหมายจุลภาคหน้าตัวอย่างที่ยกมาประกอบ แสดงว่าตัวอย่างนั้นเป็นตัวอย่าง ของบทนิยามที่อยู่ติดข้างหน้าเท่านั้น เช่น ขีดคั่น ก. ขีดกั้นไว้, กำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น อ่านหนังสือไป ถึงไหนแล้ว ให้ทำเครื่องหมายขีดคั่นไว้. ค. ใช้คั่นหลังบทนิยามสุดท้ายก่อนข้อความที่เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมของคำตั้ง เช่น ถลอก [ถะหฺลอก] ก. ลอกออกไป, ปอกออกไป, เปิดออกไป, (มักใช้แก่สิ่งที่มีผิว) เช่น หนังถลอก สี ถลอก. ง. ใช้คั่นอักษรย่อบอกที่มาของคำ โดยเฉพาะคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งมีรูปคำตรงกันกับคำตั้ง เช่น ทวิ มีวงเล็บบอกที่มาของคำท้ายบทนิยามดังนี้ (ป., ส.) ๒. เครื่องหมายอัฒภาค ( ; ) ก. ใช้คั่นบทนิยามแต่ละบทที่มีความหมายหลายอย่าง และความหมายเหล่านั้นแตกต่าง กันแต่ยังมีนัยเนื่องกับความหมายเดิม เช่น กิ่ง น. ส่วนที่แยกออกจากต้น, แขนง; ใช้เรียกส่วนย่อยที่แยก ออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอำเภอ กิ่งสถานีตำรวจ; ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง; ชื่อเรือชนิดหนึ่งในกระบวนพยุหยาตรา. ข. ใช้คั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายไม่สัมพันธ์กัน เช่น เจริญ [จะเริน] ก. เติบโต, งอกงาม, ทำให้งอกงาม, เช่น เจริญทางพระราชไมตรี เจริญสัมพันธไมตรี, มากขึ้น; ทิ้ง เช่น เจริญยา, จำเริญยา ก็ว่า; ตัด เช่น เจริญเกศา, จำเริญเกศา ก็ว่า; สาธยาย, สวด, (ในงานมงคล) เช่น เจริญพระ พุทธมนต์. ค. ใช้คั่นหลังบทนิยามก่อนหน้าคำบอกไวพจน์ของคำตั้งที่มีบทนิยามแตกต่างกัน เพื่อ แสดงว่าไวพจน์นั้นใช้กับความหมายของทุกบทนิยาม เช่น ปทัสถาน น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนว ทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. ปทฏฺ?าน). ง. ใช้คั่นอักษรย่อบอกที่มาของคำ โดยเฉพาะคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งมีรูปคำไม่ตรงกันกับคำตั้ง เช่น ศีรษะ มีวงเล็บบอกที่มาของคำท้ายบทนิยามดังนี้ (ส.; ป. สีส) เขม-, เขมา บอกที่มาว่า (ป.; ส. เกฺษม) ๓. เครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) ก. ใช้แทนส่วนหน้าของคำที่เข้าคู่กันซึ่งละไว้ เช่น –กระส่าย ใช้เข้าคู่กับคำ กระสับ เป็น กระสับกระส่าย. –กระเฟียด ใช้เข้าคู่กับคำ กระฟัด เป็น กระฟัดกระเฟียด. ข. ใช้หลังคำภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤตเพื่อแสดงว่ามีคำอื่นมาสมาสหรือสนธิได้ เช่น อัคร- สม- ศาสตร- ค. ใช้แทนคำอ่านของพยางค์ที่ไม่มีปัญหาในการอ่าน เช่น ชบา [ชะ-] ยี่หร่า [–หฺร่า] ง. ใช้เขียนระหว่างพยางค์แต่ละพยางค์เพื่อบอกคำอ่านของคำที่อาจอ่านเป็นอย่างอื่นได้ เช่น เพลา [เพ-ลา] เสมา [เส-มา] ๔. เครื่องหมายมหัพภาค ( . ) ก. ใช้เมื่อจบบทนิยาม เช่น กำแหง [–แหง] ว. แข็งแรง, กล้าแข็ง, เข้มแข็ง. ก. อวดดี. ข. ใช้หลังวงเล็บซึ่งบอกที่มาของคำหรือที่มาของตัวอย่าง เช่น กำจาย ๑ ก. กระจาย. (ข. ขฺจาย). กระโสง (กลอน) น. ปลากระสง เช่น กระโสงสังควาดหว้าย ชลา. (สรรพสิทธิ์).