การฟื้นฟูจังหวัดฟุกุชิมะภายหลังจากที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติซ้ำซ้อนอย่างไม่เคยมีมาก่อนในภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ และการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความคืบหน้าไปมาก
ในขณะเดียวกันกลับมีปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นแค่เฉพาะในจังหวัดนี้ อาทิ การรื้อถอนเตาปฏิกรณ์ การแพร่กระจายของข่าวลือ สภาพดินฟ้าอากาศ ฯลฯ
เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัดฟุกุชิมะสำหรับเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ ""ความคืบหน้าในการฟื้นฟูจังหวัดฟุกุชิมะ ณ ปัจจุบัน""
เนื่องจากได้มีการแบ่งข้อมูลออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ ""สภาพความเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิ"" ฯลฯ จึงหวังว่าผู้คนจำนวนมากจะสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดผ่านเว็บไซต์นี้ได้
จากนี้ไปเราจะเดินหน้าต่อไปเพื่อสร้างอนาคตที่สดใสให้กับจังหวัดฟุกุชิมะภายใต้สโลแกน ""ก้าวทีละก้าวเพื่อฟุกุชิมะ"" โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูจากภัยพิบัติรุนแรงที่ไม่เคยพบมาก่อน
""แผ่นดินไหวที่มหาสมุทรแปซิฟิกในพื้นที่โทโฮคุ ปี ค.ศ. 2011"" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ชายฝั่งซันริคุ โดยวัดขนาดได้ 9.0 ริกเตอร์ ถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ในญี่ปุ่น
มีการบันทึกความรุนแรงของแผ่นดินไหวสูงสุดที่ระดับ 7 การสั่นไหวที่รุนแรงมาพร้อมกับคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ที่ซัดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงไปทั่วทั้งจังหวัด
ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2024
*การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว: การเสียชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหว ฯลฯ ซึ่งเป็นความเสียหายโดยตรง เป็นการเสียชีวิตจากสาเหตุทางอ้อม เช่น สุขภาพร่างกายทรุดโทรมจากการอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพหรือการทำงานหนักเกินไปหลังเกิดภัยพิบัติ
ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2024
ความเสียหายจากสึนามิ: เมืองนามิเอะ
|
ความเสียหายต่อบ้านเรือน: เมืองฟุกุชิมะ
|
ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2012
*คำนวณมูลค่าความเสียหายคร่าวๆ โดยประมาณจากภาพถ่ายทางอากาศ ฯลฯ ภายในระยะ 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่หนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของจังหวัด ไม่รวมมูลค่าความเสียหายคร่าวๆ ในส่วนหนึ่งของเมืองมินามิโซมะรวมถึง 8 หมู่บ้านและอำเภอในเขตฟุตาบะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของเทศบาล
ชายฝั่ง: เมืองอิวากิ
|
พื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ: เมืองนามิเอะ
|
ฮะจิมังมะจิ เมืองสุกะกาวะ (มีนาคม 2011)
|
ฮะโนะกิไดระ เมืองชิรากาวะ (25 มีนาคม 2011)
|
ฮิสะโนะฮามะ เมืองอิวากิ (11 มีนาคม 2011)
|
อุเคโดะ เมืองนามิเอะ (12 มีนาคม 2011)
|
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่หนึ่งของบริษัท Tokyo Electric Power Company (TEPCO) สูญเสียแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกเนื่องจากแผ่นดินไหว และสึนามิที่ตามมาส่งผลให้แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าฉุกเฉินใช้ไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์หล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ถึง 3 ได้
ด้วยเหตุนั้น เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่อยู่ภายในเตาปฏิกรณ์จึงมีอุณหภูมิสูงและได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เกิดการระเบิดของไฮโดรเจน และปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีจำนวนมากออกมา
รัฐบาลได้ออกคำสั่งอพยพเพื่อปกป้องประชาชนจากการสัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลและฟุ้งกระจาย ทำให้ประชาชนมากกว่า 160,000 คนในจังหวัดต้องถูกบังคับให้อพยพออกมา นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร พื้นที่เกษตรกรรม ผลผลิตทางน้ำ วัตถุดิบ ฯลฯ ถูกปนเปื้อนทำให้เกิดความเสียหาย เช่น ระงับการผลิตและการขนส่ง อีกทั้งข่าวลือที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงยังทำให้สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเป็นอย่างมาก
การยกเลิกคำสั่งอพยพคืบหน้าไปเรื่อยๆ จากการปรับเตรียมสภาพแวดล้อมสำหรับการกลับสู่บ้าน โดยพื้นที่ของเขตที่มีคำสั่งอพยพซึ่งปกครองโดยจังหวัดได้ลดลงจากประมาณ 12% เหลืออยู่ประมาณ 2.2%
จากการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยมาตรการพิเศษเกี่ยวกับการบูรณะและฟื้นฟูฟุกุชิมะเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 ได้มีการยกเลิกคำสั่งอพยพบางส่วนในเขตที่ยากต่อการกลับสู่บ้าน และสามารถกำหนด "เขตยุทธศาสตร์การบูรณะและฟื้นฟูที่เจาะจงเฉพาะ" เพื่อมุ่งสู่การทำให้สามารถอยู่อาศัยได้แล้ว
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีเรวะที่ 4 (ค.ศ. 2022) จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปีเรวะที่ 5 (ค.ศ. 2023) มีการยกเลิกคำสั่งอพยพทั้งหมดของเมืองและหมู่บ้าน 6 แห่ง (เมืองโทมิโอกะ เมืองโอคุมะ เมืองฟุตาบะ เมืองนามิเอะ หมู่บ้านคัตสึราโอะ หมู่บ้านอีทาเตะ) ที่ถูกกำหนดให้เป็นเขตยุทธศาสตร์การบูรณะและฟื้นฟูที่เจาะจงเฉพาะ
จากการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยมาตรการพิเศษเกี่ยวกับการบูรณะและฟื้นฟูฟุกุชิมะเมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ที่พื้นที่นอกเขตยุทธศาสตร์การบูรณะและฟื้นฟูที่เจาะจงเฉพาะ ในเขตที่ยากต่อการกลับสู่บ้าน สามารถกำหนดให้เป็น "เขตกลับสู่บ้านอยู่อาศัยที่เจาะจงเฉพาะ" ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการกลับสู่บ้านของผู้ที่เคยอาศัยอยู่และฟื้นฟูการอยู่ดำเนินชีวิตหลังจากนั้นได้ จากการยกเลิกคำสั่งอพยพ
เมืองโอคุมะ เมืองฟุตาบะ เมืองนามิเอะ และเมืองโทมิโอกะมีการจัดทำแผนเกี่ยวกับการกำหนดเขตกลับสู่บ้านอยู่อาศัยที่เจาะจงเฉพาะและการเตรียมความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อม (การเตรียมความพร้อมด้านการขจัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ) โดยได้รับการรับรองจากนายกรัฐมนตรี การขจัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสี ที่เมืองโอคุมะและเมืองฟุตาบะได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2023 ส่วนเมืองนามิเอะได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2024
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2018 การขจัดสิ่งปนเปื้อนของพื้นที่อยู่อาศัยทั้งหมดภายในจังหวัดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ปริมาณรังสีในอากาศภายในจังหวัดเกือบจะอยู่ในระดับเดียวกันกับเมืองหลักในต่างประเทศ
จำนวนผู้อพยพลดลงหลังจากพุ่งสูงสุดที่ 164,865 คนในเดือนพฤษภาคม 2012 ปัจจุบันยังมีผู้อพยพประมาณ 26,000 คน
เพื่อป้องกันการกระจายสินค้าที่เกินค่ามาตรฐาน จึงมีการตรวจสอบก่อนจัดส่ง
ส่วนต่างราคากับทั้งประเทศ ขณะนี้ก็ยังไม่ฟื้นตัวถึงระดับก่อนเกิดแผ่นดินไห
ประเทศ - ภูมิภาคที่มีการจำกัดการนำเข้าลดลงจาก 55 ⇒ 6
ประเทศ - ภูมิภาคที่ระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายประเภทจากจังหวัดฟุกุชิมะ (12 ⇒ 3) |
ประเทศ - ภูมิภาคที่ระงับการนำเข้าอาหารบางชนิดจากจังหวัดฟุกุชิมะ (4 ⇒ 2) |
ประเทศ - ภูมิภาคที่อนุญาตให้นำเข้าอาหารได้โดยต้องแนบใบรับรองการตรวจสอบ ฯลฯ (39 ⇒ 1) |
สถานการณ์การส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดแผ่นดินไหว และปริมาณการส่งออกในปีงบประมาณเรวะที่ 5 (ค.ศ. 2023) ก็เป็นปริมาณการส่งออกที่สูงที่สุดในประวัติการณ์
จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาลดลง จากผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และเหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟุกุชิมะที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในปีงบประมาณ 2021 และ 2022 หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จำนวนนักท่องเที่ยวและทริปทัศนศึกษาก็มีกาารฟื้นตัวขึ้น
จำนวนผู้เข้าพักชาวต่างชาติโดยรวมมีสถิติสูงสุดในปีงบประมาณเรวะที่ 5 (ค.ศ. 2023)