(Translated by https://www.hiragana.jp/)
อีเอฟแอลคัพ - วิกิพีเดีย

อีเอฟแอลคัพ

การแข่งขันฟุตบอลจัดโดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ

อีเอฟแอลคัพ (อังกฤษ: EFL Cup; เดิมคือ ลีกคัพ, อังกฤษ: League Cup) หรือเรียกตามผู้สนับสนุนหลักว่า คาราบาวคัพ (อังกฤษ: Carabao Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยแบบแพ้คัดออก จัดโดยอีเอฟแอลของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งสโมสรที่มีสิทธิเข้าแข่งขันมีทั้งหมด 92 ทีมคือ 20 ทีมจากพรีเมียร์ลีก และ 72 ทีมจากฟุตบอลลีก (ซึ่งจะต่างจาก เอฟเอคัพ ที่เปิดกว้างให้สโมสรเข้าแข่งได้ถึง 762 ทีม) ทีมที่ชนะเลิศในแต่ละฤดูกาล จะได้สิทธิเข้าแข่งขันรายการยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก รอบเพลย์ออฟ ในกรณีที่ไม่ได้สิทธิจากทางอื่นมาก่อน

อีเอฟแอลคัพ
ผู้จัดอิงกลิชฟุตบอลลีก
ก่อตั้ง1960; 64 ปีที่แล้ว (1960)
ภูมิภาค อังกฤษ
 เวลส์
จำนวนทีม92
ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก รอบเพลย์ออฟ
ทีมชนะเลิศปัจจุบันลิเวอร์พูล (สมัยที่ 10)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดลิเวอร์พูล (10 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์อังกฤษ สกายสปอร์ตส์
ไทย พีพีทีวี ไทยรัฐทีวี
อีเอฟแอลคัพ ฤดูกาล 2024–25

ปัจจุบันสโมสรที่ชนะเลิศรายการฟุตบอลลีกคัพปีล่าสุด (ฤดูกาล 2023-24) คือลิเวอร์พูลที่สามารถเอาชนะเชลซี 1-0

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ

แก้
การแข่งขันเข้าชิงชนะเลิศ
การแข่งขันชนะในช่วงหลังต่อเวลาพิเศษ
* การแข่งขันชนะในช่วงการดวลลูกโทษ
& การแข่งขันชนะหลังจากการแข่งขันใหม่
§ การแข่งขันชนะหลังจากการแข่งขันใหม่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ
£ การแข่งขันชนะหลังจากการแข่งขันสองนัดในช่วงต่อเวลาพิเศษ
ตัวเอน สโมสรจากนอกชั้นบนลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ


อีเอฟแอลคัพ ชนะเลิศ
ปี ชนะเลิศ ผลคะแนน รองชนะเลิศ สนาม จำนวนผู้ชม
1961 แอสตันวิลลา 0–2 รอเทอรัมยูไนเต็ด มิลล์มอร์ 12,226
แอสตันวิลลา 3–0 รอเทอรัมยูไนเต็ด วิลลาพาร์ก 31,202
รวมผลสองนัด แอสตันวิลลา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3–2
1962 นอริชซิตี 3–0 รอชเดล สปอตแลนด์ 11,123
นอริชซิตี 1–0 รอชเดล แคร์โรว์โรด 19,708
รวมผลสองนัด นอริชซิตี คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 4–0
1963 เบอร์มิงแฮมซิตี 3–1 แอสตันวิลลา เซนต์แอนดรูว์ 31,850
เบอร์มิงแฮมซิตี 0–0 แอสตันวิลลา วิลลาพาร์ก 37,921
รวมผลสองนัด เบอร์มิงแฮมซิตี คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3–1
1964 เลสเตอร์ซิตี 1–1 สโตกซิตี วิกตอเรียกราวด์ 22,309
เลสเตอร์ซิตี 3–2 สโตกซิตี ฟิลเบิร์ตสปีต 25,372
รวมผลสองนัด เลสเตอร์ซิตี คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 4–3
1965 เชลซี 3–2 เลสเตอร์ซิตี สแตมฟอร์ดบริดจ์ 20,690
เชลซี 0–0 เลสเตอร์ซิตี ฟิลเบิร์ตสปีต 26,958
รวมผลสองนัด เชลซี คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3–2
1966 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 1–2 เวสต์แฮมยูไนเต็ด บุลินกราวนด์ 28,341
เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 4–1 เวสต์แฮมยูไนเต็ด เดอะฮอว์ทอนส์ 31,925
รวมผลสองนัด เวสต์บรอมมิชอัลเบียน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5–3
1967 ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 3–2 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน สนามกีฬาเวมบลีย์ 97,952
1968 ลีดส์ยูไนเต็ด 1–0 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ 97,887
1969 สวินดอนทาวน์ 3–1 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ 98,189
1970 แมนเชสเตอร์ซิตี 2–1 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน สนามกีฬาเวมบลีย์ 97,963
1971 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2–0 แอสตันวิลลา สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
1972 สโตกซิตี 2–1 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ 97,852
1973 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1–0 นอริชซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
1974 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 2–1 แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ 97,886
1975 แอสตันวิลลา 1–0 นอริชซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ 95,946
1976 แมนเชสเตอร์ซิตี 2–1 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
1977 แอสตันวิลลา 0–0 เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
แอสตันวิลลา 1–1 เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาฮิลส์โบโร 55,000
แอสตันวิลลา 3–2£ เอฟเวอร์ตัน โอลด์แทรฟฟอร์ด 54,749
1978 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 0–0 ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 1–0& ลิเวอร์พูล โอลด์แทรฟฟอร์ด 54,375
1979 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 3–2 เซาแทมป์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ 96,952
1980 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 1–0 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 96,527
1981 ลิเวอร์พูล 1–1 เวสต์แฮมยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
ลิเวอร์พูล 2–1& เวสต์แฮมยูไนเต็ด วิลลาพาร์ก 36,693
1982 ลิเวอร์พูล 3–1 ทอตนัมฮอตสเปอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
1983 ลิเวอร์พูล 2–1 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ 99,304
1984 ลิเวอร์พูล 0–0 เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
ลิเวอร์พูล 1–0& เอฟเวอร์ตัน เมนโรด 52,089
1985 นอริชซิตี 1–0 ซันเดอร์แลนด์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 100,000
1986 ออกซฟอร์ดยูไนเต็ด 3–0 ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 90,396
1987 อาร์เซนอล 2–1 ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ 96,000
1988 ลูตันทาวน์ 3–2 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ 95,732
1989 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 3–1 ลูตันทาวน์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 76,130
1990 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 1–0 โอลดัมแอทเลติก สนามกีฬาเวมบลีย์ 74,343
1991 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 1–0 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ 77,612
1992 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1–0 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 76,810
1993 อาร์เซนอล 2–1 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 74,007
1994 แอสตันวิลลา 3–1 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ 77,231
1995 ลิเวอร์พูล 2–1 โบลตันวอนเดอเรอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 75,595
1996 แอสตันวิลลา 3–0 ลีดส์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ 77,065
1997 เลสเตอร์ซิตี 1–1 มิดเดิลส์เบรอ สนามกีฬาเวมบลีย์ 76,757
เลสเตอร์ซิตี 1–0§ มิดเดิลส์เบรอ สนามกีฬาฮิลส์โบโร 39,428
1998 เชลซี 2–0 มิดเดิลส์เบรอ สนามกีฬาเวมบลีย์ 77,698
1999 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1–0 เลสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ 77,892
2000 เลสเตอร์ซิตี 2–1 แทรนเมียร์โรเวอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 74,313
2001 ลิเวอร์พูล 1–1 *
ดวลลูกโทษ
(5–4)
เบอร์มิงแฮมซิตี มิลเลนเนียมสเตเดียม 73,500
2002 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 2–1 ทอตนัมฮอตสเปอร์ มิลเลนเนียมสเตเดียม 72,500
2003 ลิเวอร์พูล 2–0 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด มิลเลนเนียมสเตเดียม 74,500
2004 มิดเดิลส์เบรอ 2–1 โบลตันวอนเดอเรอส์ มิลเลนเนียมสเตเดียม 72,634
2005 เชลซี 3–2 ลิเวอร์พูล มิลเลนเนียมสเตเดียม 78,000
2006 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 4–0 วีแกนแอทเลติก มิลเลนเนียมสเตเดียม 66,866
2007 เชลซี 2–1 อาร์เซนอล มิลเลนเนียมสเตเดียม 70,073
2008 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2–1 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ 87,660
2009 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 0–0 *
ดวลลูกโทษ
(4–1)
ทอตนัมฮอตสเปอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 88,217
2010 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–1 แอสตันวิลลา สนามกีฬาเวมบลีย์ 88,596
2011 เบอร์มิงแฮมซิตี 2–1 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ 88,851
2012 ลิเวอร์พูล 2–2 *
ดวลลูกโทษ
(3–2)
คาร์ดิฟฟ์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ 89,041
2013 สวอนซีซิตี 5–0 แบรดฟอร์ดซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ 82,597
2014 แมนเชสเตอร์ซิตี 3–1 ซันเดอร์แลนด์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 84,697
2015 เชลซี 2–0 ทอตนัมฮอตสเปอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 89,294
2016 แมนเชสเตอร์ซิตี 1–1 *
ดวลลูกโทษ
(3–1)
ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ 86,206
2017 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 3–2 เซาแทมป์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ 85,264
2018 แมนเชสเตอร์ซิตี 3–0 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ 85,671
2019 แมนเชสเตอร์ซิตี 0–0 *
ดวลลูกโทษ
(4–3)
เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ 81,775
2020 แมนเชสเตอร์ซิตี 2–1 แอสตันวิลลา สนามกีฬาเวมบลีย์ 82,145
2021 แมนเชสเตอร์ซิตี 1–0 ทอตนัมฮอตสเปอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ 7,773
2022 ลิเวอร์พูล 0–0 *
ดวลลูกโทษ
(11–10)
เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ 88,512
2023 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–0 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ 87,306
2024 ลิเวอร์พูล 1–0 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ 88,868

ทำเนียบผู้ชนะเลิศจำแนกตามสโมสร

แก้
ลีกคัพ
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีชนะเลิศ ปีรองชนะเลิศ
ลิเวอร์พูล 10 4 1980–81, 1981–82, 1982–83, 1983–84, 1994–95, 2000–01, 2002–03, 2011–12, 2021–22, 2023–24 1977–78, 1986–87, 2004–05, 2015–16
แมนเชสเตอร์ซิตี 8 1 1969–70, 1975–76, 2013–14, 2015–16, 2017–18, 2018–19, 2019–20, 2020–21 1973–74
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 6 4 1991–92, 2005–06, 2008–09, 2009–10, 2016–17, 2022–23 1982–83, 1990–91, 1993–94, 2002–03
แอสตันวิลลา 5 4 1960–61, 1974–75, 1976–77, 1993–94, 1995–96 1962–63, 1970–71, 2009–10, 2019–20
เชลซี 5 5 1964–65, 1997–98, 2004–05, 2006–07, 2014–15 1971–72, 2007–08, 2018–19, 2021–22, 2023–24
ทอตนัมฮอตสเปอร์ 4 5 1970–71, 1972–73, 1998–99, 2007–08 1981–82, 2001–02, 2008–09, 2014–15, 2020–21
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 4 2 1977–78, 1978–79, 1988–89, 1989–90 1979–80, 1991–92
เลสเตอร์ซิตี 3 2 1963–64, 1996–97, 1999–2000 1964–65, 1998–99
อาร์เซนอล 2 6 1986–87, 1992–93 1967–68, 1968–69, 1987–88, 2006–07, 2010–11, 2017–18
นอริชซิตี 2 2 1961–62, 1984–85 1972–73, 1974–75
เบอร์มิงแฮมซิตี 2 1 1962–63, 2010–11 2000–01
วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 2 0 1973–74, 1979–80
เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 1 2 1965–66 1966–67, 1969–70
มิดเดิลส์เบรอ 1 2 2003–04 1996–97, 1997–98
ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 1 1 1966–67 1985–86
ลีดส์ยูไนเต็ด 1 1 1967–68 1995–96
สโตกซิตี 1 1 1971–72 1963–64
ลูตันทาวน์ 1 1 1987–88 1988–89
เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 1 1 1990–91 1992–93
สวินดอนทาวน์ 1 0 1968–69
ออกซฟอร์ดยูไนเต็ด 1 0 1985–86
แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 1 0 2001–02
สวอนซีซิตี 1 0 2012–13
เวสต์แฮมยูไนเต็ด 0 2 1965–66, 1980–81
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 0 2 1975–76, 2022–23
เอฟเวอร์ตัน 0 2 1976–77, 1983–84
เซาแทมป์ตัน 0 2 1978–79, 2016–17
ซันเดอร์แลนด์ 0 2 1984–85, 2013–14
โบลตันวอนเดอเรอส์ 0 2 1994–95, 2003–04
รอเทอรัมยูไนเต็ด 0 1 1960–61
รอชเดล 0 1 1961–62
โอลดัมแอทเลติก 0 1 1989–90
แทรนเมียร์โรเวอส์ 0 1 1999–2000
วีแกนแอทเลติก 0 1 2005–06
คาร์ดิฟฟ์ซิตี 0 1 2011–12
แบรดฟอร์ดซิตี 0 1 2012–13

ระบบการแข่งขัน

แก้

รางวัลแอลัน ฮาร์เดเกอร์

แก้

รางวัลแอลัน ฮาร์เดเกอร์ (อังกฤษ: Alan Hardaker Trophy) เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดชิงชนะเลิศของอีเอฟแอลคัพ โดยรางวัลนี้มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1990[1][2]

รางวัลแอลัน ฮาร์เดเกอร์ ถูกมอบครั้งแรกใน ค.ศ. 1990 แก่เดส วอล์กเกอร์ ซึ่งเป็นผู้เล่นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ เบน ฟอสเตอร์, จอห์น เทร์รี และ แว็งซ็อง กงปานี ต่างก็ได้รับรางวัลนี้คนละสองสมัย และทั้งสามคนก็เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลนี้มากที่สุดด้วย สองสโมสรร่วมเมืองแมนเชสเตอร์อย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและแมนเชสเตอร์ซิตี ต่างก็มีผู้เล่นที่ได้รับรางวัลนี้สโมสรละ 5 สมัย มากกว่าสโมสรอื่น ผู้เล่นชาวอังกฤษได้รับรางวัลนี้ 17 สมัย ซึ่งมากที่สุดเหนือกว่าสัญชาติอื่น ๆ ในขณะที่ผู้เล่นชาวสกอตแลนด์และเบลเยียม ได้รับรางวัลนี้สัญชาติละสองสมัย

ผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขัน

แก้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ฟุตบอลลีกคัพ ใช้ชื่อรายการแข่งขัน ตามผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขัน ดังต่อไปนี้

ปี ค.ศ. ผู้สนับสนุน ชื่อรายการแข่งขัน
1960-1982 ไม่มี ฟุตบอลลีกคัพ
1982-1986 คณะกรรมการตลาดนม มิลค์คัพ
1986-1990 ลิตเติลวูดส์ ลิตเติลวูดส์ชาเลนจ์คัพ
1990-1992 รัมเบโลวส์ รัมเบโลวส์คัพ
1992-1998 โคคา-โคลา[3] โคคา-โคลาคัพ
1998-2003 เวิร์ธทิงตัน[4] เวิร์ธทิงตันลีกคัพ
2003-2012 โมลสันโครส์[5] คาร์ลิงคัพ
2012–2016 แคปิตอลวัน[6] แคปิตอลวันคัพ
2016-2017 ไม่มี[7] อีเอฟแอลคัพ
2017–2027 คาราบาวแดง คาราบาวคัพ

อ้างอิง

แก้
  1. "Alan Hardaker Trophy Winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2012. สืบค้นเมื่อ 6 January 2010. Football League, 26 February 2012
  2. The Alan Hardaker Trophy EFL
  3. "Football: Coca-Cola sign Cup deal". London: The Independent. 1 August 1992. สืบค้นเมื่อ 21 September 2011.
  4. Bond, David (3 April 2002). "Worthington to end Cup sponsorship". London Evening Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  5. "Carling Cup sponsorship extended". BBC Sport. 18 December 2008.
  6. "Capital One sponsorship agreed". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
  7. "Wot, no sponsor? League Cup (EFL Cup) 2016-17". When Saturday Comes. 22 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-22. สืบค้นเมื่อ 2016-08-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้