ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองเชียงแสน"
ร้อยตรี โชคดี (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ร้อยตรี โชคดี (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ลิงก์แก้ความกำกวม |
||
บรรทัด 128: | บรรทัด 128: | ||
== โบราณสถาน == |
== โบราณสถาน == |
||
กรมศิลปากรค้นพบโบราณสถานทั้งในเมืองและนอกเมืองรวมกัน 112 แห่ง โบราณสถานมีการขุดแต่งทางโบราณคดีในเมืองเชียงแสนทั้งหมด 34 แห่ง และโบราณสถานนอกเมืองเชียงแสนทั้งหมด 11 แห่ง หลักฐานทางโบราณคดีอย่าง ''ตำนานพื้นเมืองเชียงแสน'' ระบุว่า พระเจ้าตลุนหรือสุทโธธรรมราชาครองเมืองได้กล่าวถึงวัดทั้งภายในและภายนอกเมืองทั้งหมด 141 วัด ภายในรัศมี 500 วาของตัวเมืองเชียงแสน<ref name="akegasit"/>{{rp|15–16}} |
กรมศิลปากรค้นพบโบราณสถานทั้งในเมืองและนอกเมืองรวมกัน 112 แห่ง โบราณสถานมีการขุดแต่งทางโบราณคดีในเมืองเชียงแสนทั้งหมด 34 แห่ง และโบราณสถานนอกเมืองเชียงแสนทั้งหมด 11 แห่ง หลักฐานทางโบราณคดีอย่าง ''ตำนานพื้นเมืองเชียงแสน'' ระบุว่า พระเจ้าตลุนหรือสุทโธธรรมราชาครองเมืองได้กล่าวถึงวัดทั้งภายในและภายนอกเมืองทั้งหมด 141 วัด ภายในรัศมี 500 วาของตัวเมืองเชียงแสน<ref name="akegasit"/>{{rp|15–16}} |
||
=== วัดเจดีย์หลวง === |
=== วัดเจดีย์หลวง === |
||
{{บทความหลัก|วัดเจดีย์หลวง}} |
|||
{{ infobox |
{{ infobox |
||
| abovestyle = background: |
| abovestyle = background: |
||
บรรทัด 141: | บรรทัด 143: | ||
วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงแสน แผนผังเจดีย์หลวงเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 9.50 เมตร สูงประมาณ 35.50 เมตร ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยพญาแสนพู ซึ่ง[[พญาแสนพู]]เป็นพระราชนัดดาของ[[พญามังราย]]เสด็จมาจากเมืองเงินยางมาสร้างเมืองเชียงรายและยึด[[อาณาจักรหริภุญชัย|เมืองหริภุญชัย]]ราวปี พ.ศ. 1836<ref name="กาลปาลี">แสง มนวิทูร. ชินกาลมาลีปกรณ์. 2501.</ref> |
วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงแสน แผนผังเจดีย์หลวงเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 9.50 เมตร สูงประมาณ 35.50 เมตร ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยพญาแสนพู ซึ่ง[[พญาแสนพู]]เป็นพระราชนัดดาของ[[พญามังราย]]เสด็จมาจากเมืองเงินยางมาสร้างเมืองเชียงรายและยึด[[อาณาจักรหริภุญชัย|เมืองหริภุญชัย]]ราวปี พ.ศ. 1836<ref name="กาลปาลี">แสง มนวิทูร. ชินกาลมาลีปกรณ์. 2501.</ref> |
||
วัดเจดีย์หลวงปรากฏใน ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61'' กล่าวว่าเดิมชื่อวัดพระหลวง พญาแสนพูได้สร้างเจดีย์ใหม่ครอบเจดีย์องค์เดิมที่สร้างขึ้นโดยพญาศิริอโศกธรรมราช หลังจากนั้นอีก 3 ปี ทรงเล็งเห็นว่าวัดพระหลวงเป็นวัดเค้าเมือง{{efn-t|วัดที่สร้างแห่งแรกของเมือง}} เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุก่อน พระองค์จึงมีศรัทธาให้สร้างวิหารหลวง กว้าง 8 วา ยาว 17 วา และเจดีย์สูง 29 วา ตรงกับปี พ.ศ. 1833<ref>กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61. 2516.</ref>{{rp|148–149}} ซึ่งศักราชอาจคลาดเคลื่อน เนื่องจากในปี พ.ศ. 1833 พญาแสนพูยังไม่ได้มาครองเมืองเชียงแสน<ref name="SakChai1"/>{{rp|119}} |
วัดเจดีย์หลวงปรากฏใน ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61'' กล่าวว่าเดิมชื่อวัดพระหลวง พญาแสนพูได้สร้างเจดีย์ใหม่ครอบเจดีย์องค์เดิมที่สร้างขึ้นโดยพญาศิริอโศกธรรมราช หลังจากนั้นอีก 3 ปี ทรงเล็งเห็นว่าวัดพระหลวงเป็นวัดเค้าเมือง{{efn-t|วัดที่สร้างแห่งแรกของเมือง}} เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุก่อน พระองค์จึงมีศรัทธาให้สร้างวิหารหลวง กว้าง 8 วา ยาว 17 วา และเจดีย์สูง 29 วา ตรงกับปี พ.ศ. 1833<ref name="fineartdept6.">กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61. 2516.</ref>{{rp|148–149}} ซึ่งศักราชอาจคลาดเคลื่อน เนื่องจากในปี พ.ศ. 1833 พญาแสนพูยังไม่ได้มาครองเมืองเชียงแสน<ref name="SakChai1"/>{{rp|119}} |
||
ทั้งนี้หลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับอายุของเจดีย์หลวงคือในพงศาวดารโยนก กล่าวว่าพระเจ้าแสนภูทรงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสนภายหลังทรงครองเมืองเชียงแสนได้ 3 ปี โดยเจดีย์มีขนาดกว้าง 28 เมตร สูง 58 เมตร ต่อมาเจดีย์องค์นี้คงได้รับการซ่อมแซมสมัยพระเมืองแก้วที่โปรดให้ช่างขุดเจดีย์องค์เดิมแล้วก่อพระเจดีย์ขึ้นใหม่ ตรงกับในปี พ.ศ. 2058<ref name="กาลปาลี"/><ref name="SakChai1"/>{{rp|119}} |
ทั้งนี้หลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับอายุของเจดีย์หลวงคือในพงศาวดารโยนก กล่าวว่าพระเจ้าแสนภูทรงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสนภายหลังทรงครองเมืองเชียงแสนได้ 3 ปี โดยเจดีย์มีขนาดกว้าง 28 เมตร สูง 58 เมตร ต่อมาเจดีย์องค์นี้คงได้รับการซ่อมแซมสมัยพระเมืองแก้วที่โปรดให้ช่างขุดเจดีย์องค์เดิมแล้วก่อพระเจดีย์ขึ้นใหม่ ตรงกับในปี พ.ศ. 2058<ref name="กาลปาลี"/><ref name="SakChai1"/>{{rp|119}} |
||
บรรทัด 148: | บรรทัด 150: | ||
ทั้งนี้ ผลการขุดแต่งบูรณะเจดีย์หลวงในปี พ.ศ. 2500–2501 พบว่าภายหลังการขุดลอกชั้นดินทับถมที่ฐานแปดเหลี่ยมพบฐานเขียงด้านล่างก่อติดกับฐานของเจดีย์มุม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฐานส่วนนี้ของเดิมน่าจะเป็นฐานบัว 2 ชั้นซ้อนกันที่นิยมราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21<ref>จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา. พระเจดีย์เมืองเชียงแสน. 2539.</ref>{{rp|37}} ตรงกับหลักฐานที่ว่าเจดีย์หลวงได้รับการซ่อมแซมสมัยพระเมืองแก้วข้างต้น |
ทั้งนี้ ผลการขุดแต่งบูรณะเจดีย์หลวงในปี พ.ศ. 2500–2501 พบว่าภายหลังการขุดลอกชั้นดินทับถมที่ฐานแปดเหลี่ยมพบฐานเขียงด้านล่างก่อติดกับฐานของเจดีย์มุม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฐานส่วนนี้ของเดิมน่าจะเป็นฐานบัว 2 ชั้นซ้อนกันที่นิยมราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21<ref>จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา. พระเจดีย์เมืองเชียงแสน. 2539.</ref>{{rp|37}} ตรงกับหลักฐานที่ว่าเจดีย์หลวงได้รับการซ่อมแซมสมัยพระเมืองแก้วข้างต้น |
||
=== วัดพระบวช === |
|||
{{บทความหลัก|วัดพระบวช}} |
|||
{{ infobox |
|||
| abovestyle = background: |
|||
| above = ที่ตั้งวัดพระบวช |
|||
| headerstyle = background: |
|||
| header1 = {{Infobox mapframe|frame=|frame-align=left|frame-width=250|coord={{Coord|20|16|25.9|N|100|04|55.8|E|display=inline,title}}|frame-height=200|type=point|marker=|zoom=15|text=วัดพระบวช}} |
|||
| label2 = |
|||
| data2 = |
|||
}} |
|||
[[ไฟล์:Wat Phar Buht.jpg|225px|thumb|left|เจดีย์และวิหารของวัดพระบวช]] |
|||
วัดพระบวช เป็นวัดที่ประกอบด้วยเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทางทิศเหนือของวิหาร ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดมุงเมือง สันนิษฐานมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 |
|||
วัดพระบวชปรากฏใน ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61'' มีบันทึกเกี่ยวกับวัดพระบวชว่าสร้างโดยพญากือนา เมื่อปี พ.ศ. 1889 รายละเอียดดังนี้ "....ส่วนว่าพระยาผายูตนพ่อนั้น ท่านก็ลงไปกินเมืองเชียงใหม่ ในศักราช 708 ตัวปีเมิงไค้ เดือน 6 เพ็ญ วันพุธ มหามูลศรัทธาพระราชเจ้ากือนาสร้างเจดีย์และวิหารพระพุทธรูปพระบวช กลางเวียงไชยบุรีเชียงแสนที่นั่นแล้ว ก็ฉลองทำบุญให้ทานบริบูรณ์ในวันนั้นแล"<ref name="fineartdept6."/> |
|||
วิหารขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 20 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น |
|||
เจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหาร ลักษณะก่ออิฐถือปูน ฐานเป็นฐานเขียง 3 ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นล่างสุดกว้างด้านละ 8 เมตร รองรับชุดฐานบัว 2 ฐานซ้อนกันในผังยกเก็จแบบล้านนา เหนือขึ้นไปเป็นส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัว 3 ฐาน ประดับลูกแก้วอกไก่ฐานละ 2 เส้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังทรงกลมขนาดเล็ก บัลลังก์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้สิบสอง ก้านฉัตร บัวฝาละมรรองรับปล้องไฉนและปลียอดตามลำดับ |
|||
จากการบูรณะของกรมศิลปากรพบว่า เจดีย์องค์นี้ได้ก่อหุ้มเจดีย์อีกองค์หนึ่งไว้ภายใน เจดีย์องค์ในเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด มีเรือนธาตุตั้งอยู่ค่อนข้างต่ำ รองรับไว้ด้วยฐานเขียงเตี้ย มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน พระพุทธรูปปูนปั้นภายในซุ้มองค์หนึ่งที่พบเป็นพระพุทธรูปแสดงท่าทางยืนคล้ายปางลีลา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้กะเทาะบางส่วนของเจดีย์องค์นอกออกเพื่อให้เห็นพระพุทธรูปปูนปั้นของเจดีย์องค์ใน |
|||
จากรูปแบบศิลปกรรมสันนิษฐานว่า เจดีย์องค์ในน่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20 ส่วนเจดีย์องค์นอกสร้างหุ้มเจดีย์องค์เดิมราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 21 |
|||
=== วัดมุงเมือง === |
|||
{{ infobox |
|||
| abovestyle = background: |
|||
| above = ที่ตั้งวัดมุงเมือง |
|||
| headerstyle = background: |
|||
| header1 = {{Infobox mapframe|frame=|frame-align=left|frame-width=250|coord={{Coord|20|16|27.5|N|100|04|55.6|E|display=inline,title}}|frame-height=200|type=point|marker=|zoom=15|text=วัดมุงเมือง}} |
|||
| label2 = |
|||
| data2 = |
|||
}} |
|||
[[ไฟล์:วัดมุงเมือง(4).JPG|225px|thumb|left|เจดีย์ของวัดมุงเมือง]] |
|||
วัดมุงเมือง เป็นวัดที่ประกอบด้วยเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมซ้อนกันสี่ชั้น วิหารทางทิศตะวันออก ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วและประตูโขง สันนิษฐานว่าได้สร้างภายหลัง[[วัดป่าสัก (อำเภอเชียงแสน)|วัดป่าสัก]]ราวพุทธศตวรรษที่ 20 วัดมุงเมืองตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระบวช สันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจเป็นวัดเดียวกัน |
|||
เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐถือปูน ส่วนฐานประกอบด้วยฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกสูงซ้อนกัน 3 ฐาน กว้างด้านละ 7 เมตร รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่และส่วนเรือนธาตุที่เป็นห้องสี่เหลี่ยมยกเก็จ มีซุ้มจรนำสี่ด้านประดับลายปูนปั้นพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลก<ref name="อภิชิต">อภิชิต ศิริชัย. หลงใหลเชียงแสน. 2565.</ref> ส่วนล่างเป็นฐานบัวคว่ำ ส่วนบนเป็นบัวหงายที่ผนังมีการประดับบัวคว่ำและบัวหงายเส้นเล็ก ส่วนล่างและบนประดับลูกแก้วอกไก่แทรกระหว่างบัว ส่วนยอดเป็นฐานแปดเหลี่ยม 1 ฐาน ที่มุมฐานทั้ง 4 มุมประดับด้วยสถูปิกะ ถัดขึ้นไปจากฐานแปดเหลี่ยมเป็นบัวปากระฆัง องค์ระฆังทรงกลมขนาดเล็กสูง และบัลลังก์ |
|||
วิหารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 20 เมตร หันหน้าทิศตะวันออก ด้านหน้าเป็นห้องเปิดโล่ง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ผนังก่อทึบ ประกอบด้วยฐานชุกชีหรือแท่นแก้วประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ด้านทิศใต้มีบันไดเชื่อมต่อกับทางเดินไปยังอุโบสถและวิหารเล็กที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารและเจดีย์ |
|||
อุโบสถ มีขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หรือหันหน้าไปชนกับวิหารเล็ก ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใกล้เคียงกับอุโบสถ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก |
|||
ประตูโขงอยู่บริเวณกำแพงแก้วด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันออกก่อด้วยอิฐถือปูน |
|||
=== วัดมหาธาตุ === |
|||
{{ infobox |
|||
| abovestyle = background: |
|||
| above = ที่ตั้งวัดมหาธาตุ |
|||
| headerstyle = background: |
|||
| header1 = {{Infobox mapframe|frame=|frame-align=left|frame-width=250|coord={{Coord|20|16|26.6|N|100|04|44.7|E|display=inline,title}}|frame-height=200|type=point|marker=|zoom=15|text=วัดมหาธาตุ}} |
|||
| label2 = |
|||
| data2 = |
|||
}} |
|||
[[ไฟล์:มณฑปหรือคันธกุฏีวัดมหาธาตุเชียงแสน.JPG|220px|thumb|left|คันธกุฎีและวิหารของวัดมหาธาตุ]] |
|||
วัดมหาธาตุ เป็นวัดประกอบด้วยวิหารและมณฑป<ref name="akegasit"/> ไม่ปรากฏประวัติหลักฐานการก่อสร้าง สันนิษฐานสร้างราวพุทธศตรวรรษที่ 20 |
|||
จากการศึกษาไม่พบประวัติการสร้างแต่เดิมชาวบ้านเรียกวัดมหาธาตุนี้ว่า "วัดพระรอด" ในปี พ.ศ. 2509 ที่เมืองเชียงแสนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ คันธกุฎีวัดมหาธาตุได้รับความเสียหายอย่างมาก ปรากฏว่าเหลือมุมคันธกุฎีด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นคงเหลือสภาพสมบูรณ์ กรมศิลปากรจึงได้บูรณะใหม่ โดยยึดเอาแนวดังกล่าวเป็นต้นแบบ |
|||
วิหารมีลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นส่วนฐานก่ออิฐของอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร หันด้านหน้าที่เป็นด้านกว้างไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นที่ด้านหน้า ส่วนด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกเชื่อมต่อทางเข้ามณฑป |
|||
มณฑปเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายมณฑปมูลคันธกุฎี ที่ประทับส่วนพระองค์ของพระพุทธเจ้า ขนาดกว้างด้านละ 4.5 เมตร สูง 8.4 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น แต่ปัจจุบันชำรุดแตกหัก |
|||
โบราณสถานที่พบคันธกุฎีในบริเวณเมืองเชียงแสน เช่น วัดพระธาตุปูเข้าหรือพระธาตุภูข้าว และวัดป่าแดงหลวง เป็นต้น ที่เมืองสุโขทัยมณฑปลักษณะนี้นี้อยู่หลังวิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก |
|||
== หมายเหตุ == |
== หมายเหตุ == |
||
{{notelist-t}} |
{{notelist-t}} |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:29, 29 มีนาคม 2567
ที่ตั้ง | ตำบลเวียง, อำเภอเชียงแสน, จังหวัดเชียงราย, ประเทศไทย |
---|---|
ประเภท | โบราณสถาน |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | พญาแสนพู |
วัสดุ | อิฐ |
สร้าง | พ.ศ. 1871 (พงศาวดารโยนก) พุทธศตวรรษที่ 19 (ประวัติศาสตร์) |
ละทิ้ง | พ.ศ. 2347 |
สมัย | ล้านนา |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ขุดค้น | พ.ศ. 2500 |
ผู้ขุดค้น | กรมศิลปากร |
เมืองเชียงแสน เป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 19[1]: 12 เป็นเมืองสำคัญอยู่ในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
เมืองเชียงแสนมีกำแพงเมืองและคูน้ำล้อมรอบห่างราว 5 กิโลเมตรริมฝั่งทางตะวันตกของแม่น้ำโขง ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า อาณาเขตของเมืองมีโบราณสถานกว่า 112 แห่ง และค้นพบโบราณวัตถุราวพุทธศตวรรษที่ 19–25 ซึ่งส่วนมากเป็นโบราณสถานทางศาสนาพุทธแบบศิลปะล้านนา[2]
เมืองเชียงแสนสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1871 โดยพญาแสนพู ทรงสถาปนาเมืองเชียงแสนเพื่อป้องกันศึกทางเหนือ และควบคุมเมืองล้านนาตอนบน แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีและศิลปวัตถุ เมืองเชียงแสนสร้างขึ้นพุทธศตวรรษที่ 19 และถูกทิ้งร้างไปในช่วงสงครามในปี พ.ศ. 2347
ลักษณะทางกายภาพ
ผังเมืองและคูน้ำ
เมืองเชียงแสนประกอบด้วยกำแพงเมืองสองชั้นและคูน้ำ ปัจจุบันปรากฏแนวกำแพงเมือง 3 ด้าน คือ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ตะวันตก และใต้ ส่วนด้านทิศตะวันออกไม่ปรากฏแนวกำแพง สันนิษฐานว่าพังทลายทั้งหมดจากการกัดเซาะของแม่น้ำโขงในราวปี พ.ศ. 2513 มีผู้พบร่องรอยของป้อมมุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณริมแม่น้ำโขง
ปัจจุบันกำแพงเมืองเชียงแสนมีลักษณะเป็นกำแพงอิฐก่อครอบแกนดินไว้ภายใน[ก] มีความสูงตั้งแต่ส่วนฐานจนจรดระดับพื้นเชิงเทินประมาณ 4–5 เมตร ฐานเสมาคงสภาพบางส่วน เหนือขึ้นไปเป็นตำแหน่งใบเสมาซึ่งปรักหักพังหมดสภาพ ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก ปัจจุบันปรากฏหลักฐานแนวกำแพงเพียงชั้นเดียว ส่วนแนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้บางส่วนยังคงพบร่องรอยของกำแพงเมืองชั้นนอก ซึ่งมีลักษณะเป็นคันดินสูงประมาณ 2.5–3 เมตร บริเวณแนวกำแพงปรากฏหลักฐานประตูเมืองจำนวน 5 ประตู และป้อมจำนวน 6 ป้อม
ลักษณะผนังกำแพงด้านในเมืองปรากฏเป็นการก่ออิฐเป็นแบบขั้นบันได 7–9 ขั้น รับกับพื้นเชิงเทินบนกำแพง ลักษณะเชิงเทินก่อขึ้นด้วยอิฐเป็นแท่นทึบตัน มีความสูง 0.7–1 เมตร กว้าง 5.3 เมตร และมีความยาวไปตลอดแนวคันดิน เชิงเทินเป็นส่วนที่ถูกใช้งานทางทหาร เช่น ยืนเวรยามประจำการในการสู้รบข้าศึกที่อยู่นอกเมือง บนเชิงเทินปรากฏแท่นอิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางตัวทแยงหันด้านแหลมเข้าหากัน ต่อเนื่องไปตามความยาวกำแพงเมือง
คูเมืองเชียงแสนมีความกว้างประมาณ 11–18 เมตร ลึกประมาณ 4 เมตร ด้านทิศตะวันตกของเมืองมีร่องน้ำโบราณไหลเชื่อมต่อระหว่างคูเมืองกับแม่คำและหนองบัวซึ่งเป็นทางน้ำโบราณ ร่องส่งน้ำนี้มีความกว้าง 1.5–3 เมตร ในสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงแสน ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีการขุดร่องส่งน้ำเพื่อชักน้ำจากแหล่งต่างเข้ามาในคูเมือง
กำแพงเมือง
กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ แนวกำแพงคงสภาพยาวประมาณ 950 เมตร บริเวณแนวด้านตะวันออกของกำแพงถูกรื้อออกบางส่วนเพื่อก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1290 และกำแพงช่วงก่อนถึงแม่น้ำโขงเล็กน้อยมีร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่ามีการพังทลาย โดยการกัดเซาะของแม่น้ำโขง ผลจากการดำเนินงานของกรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2543–2544 พบว่าแนวกำแพงที่เห็นในปัจจุบันนี้เป็นแนวกำแพงที่เกิดจากการก่อสร้างกำแพงเมืองเชียงแสนครั้งที่ 2 กล่าวคือ จากการขุดแต่งในครั้งนั้นพบผนังกำแพงด้านคูเมืองเป็นผนังตั้งตรง
กำแพงเมืองด้านทิศเหนือมีป้อมประตูเมืองทั้งหมด 1 ประตู ได้แก่ ประตูยางเทิง[ข] และมีป้อมทั้งหมด 2 ป้อม ได้แก่ ป้อมยางเทิง, และป้อมมุมเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก กำแพงยาวประมาณ 2.55 กิโลเมตร ผลการดำเนินงานทางโบราณคดีของกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2543–2544 พบร่องรอยการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์แนวกำแพงบริเวณนี้ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง
กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกมีประตูทั้งหมด 3 ประตู ได้แก่ ประตูหนองมูด, ประตูเชียงแสน[ค], และประตูทัพม่าน[ง]และป้อมทั้งหมด 3 ป้อม ได้แก่ ป้อมหนองมูด, ป้อมเชียงแสน, และป้อมทัพม่าน
กำแพงเมืองด้านทิศใต้ กำแพงยาวประมาณ 850 เมตร มีแนวกำแพง 2 ชั้น คือ กำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอก
กำแพงชั้นในมีลักษณะเป็นกำแพงก่ออิฐ ส่วนกำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงดิน ซึ่งปัจจุบันถูกทำลายจนหมดสภาพ แนวกำแพงด้านนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ จึงมีลักษณะค่อนข้างเตี้ยเมื่อเทียบกับกำแพงด้านทิศเหนือและตะวันตก จึงนับเป็นจุดด้อยด้านยุทธศาสตร์ ทำให้ทัพของล้านนาภายใต้การนำของพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่ ระดมเข้าโจมตีแนวกำแพงด้านนี้ในสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างล้านนาและพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2346
บริเวณแนวด้านตะวันออกของกำแพงด้านนี้ถูกรื้อออกเพื่อก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1290 และสถานที่ราชการ กำแพงเมืองด้านทิศใต้นี้มีประตูทั้งหมด 1 ประตู ได้แก่ ประตูดินขอ และป้อมทั้งหมด 2 ป้อม ได้แก่ ป้อมดินขอ, และป้อมมุมเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
โบราณวัตถุ
โบราณวัตถุส่วนมากเป็นกิจกรรมทางศาสนาพุทธ ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16–23 แสดงถึงสมรรถนะการหล่อโลหะของช่างในสมัยโบราณ เช่น พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ จะใช้วิธีหล่อแยกส่วน แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อนทำการตกแต่งด้วยกรรมวิธีลงรักปิดทองจารึกที่มีเนื้อหากล่าวถึงการอุทิศถวายที่ดิน คน เงิน ทอง ให้วัดเก็บเกี่ยวผลประโยชน์และใช้แรงงาน เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบพระพุทธศาสนาที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21–22 จารึกอักษรล้านนา
หลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดแต่งเท่าที่พบในเมืองเชียงแสน ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาของศิลปะหริภุญชัยตอนปลาย, ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน, สมัยราชวงศ์หมิง, ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาศิลปะหริภุญชัย[3]: 24 จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้สันนิษฐานว่าเมืองเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19
ชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นจากแหล่งโบราณคดีวัดป่าสัก สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 19-22 เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนได้รับอิทธิพลรูปแบบทางศิลปกรรมจากอาณาจักรพุกาม อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรหริภุญไชย หรือจีน[3]
ศิลาจารึกค้นพบในเมืองเชียงแสนอยู่ในสมัยล้านนารุ่งเรืองและพม่ายึดครองราวพุทธศตรวรรษที่ 21–23 ได้แก่
จารึก | อักษร | ภาษา | สถานที่ค้นพบ | ประเภท | รายละเอียด | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
จารึกวัดพันตองแต้ม | ธรรมล้านนาและฝักขาม | บาลีและไทย | สันนิษฐานว่าวัดพวกพันตอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย | หินทราย | ระบุปี พ.ศ. 2031 เนื้อหากล่าวถึง พันตองแต้ม สร้างวัดแห่งหนึ่งในเมืองเชียงแสน ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2030 พันญากิตติ โอรสของพันตองแต้มและแม่เจ้าคำร้อยถวายวัดแด่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชมารดา ต่อมา ทั้งสองพระองค์ถวายนา ภาษี คน เบี้ย พร้อมไม้สักไว้สร้างวิหารและหอไตร[4]: 302–305 | |
จารึกวัดปราสาท | ฝักขาม | ไทย | วัดปราสาท อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย | หินทราย | เนื้อหากล่าวถึง เมื่อปี พ.ศ. 2039 เจ้าหมื่นเชียงแสนคำล้านถวายวัดปราสาทแด่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชมารดา ต่อมา ทั้งสองพระองค์ทรงส่งตราหลาบคำ อุทิศนา และแก่วัด[ช] พร้อมระบุว่าพระมหาสังฆราชาญาณวิลาศ วัดพระหลวงกลางเวียง พระมหาสามี วัดพระบวช พระมหาโสมรังสี วัดพระยืน รู้ถึงบุญกุศลแห่งทานนี้ด้วย[5] | |
จารึกวัดผ้าขาวป้าน | ฝักขาม | ไทย | วัดผ้าขาวป้าน อำเอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย | หินทราย | เนื้อหากล่าวถึง เมื่อปี พ.ศ. 2159 พญาหลวงเมืองเชียงแสน และนางพญาหลวง พร้อมด้วยพระสงฆ์ 3 คณะ ร่วมกันสร้างวิหารและพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และนิมนต์สมเด็จราชโมลีจิตตสารมังคละเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2160 สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระสาวก พร้อมถวายคน 52 คนและสวนหมาก[5] | |
จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระเจ้าล้านทอง | ธรรมล้านนา | ไทย | วัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย | – | เนื้อหากล่าวถึง เมื่อปี พ.ศ. 2269 พระยาหลวงเจ้ามังคละสะแพก เจ้าเมืองเชียงแสนและบุษบาสิริวธนเทพาราชกัญญาเจ้า มีศรัทธาหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งไว้ที่วัดศรีสองเมือง สร้างขึ้นที่สุสานหลวงเจ้าราชบุตรยอดงำเมือง[5] | |
จารึกฐานพระฤๅษีวัชมฤค | ธรรมล้านนาและฝักขาม | บาลีและไทย | บริเวณภูเขาข้างยอดดอยตุง หรือวัดพระธาตุดอยตุงน้อยหรือบริเวณใกล้เคียง อำเภอแม่สาย | สำริดสีเชียว | เนื้อหากล่าวถึง เมื่อปี พ.ศ. 2147 (สมเด็จ)บรมบพิตรพระเป็นเจ้าเมืองเชียงแสน พร้อมด้วยพระมหาสมเด็จราชครู วัดพระหลวงเป็นประธาน และพระสังฆโมลี ร่วมกันสร้างรูปหล่อพระฤๅษี และมีข้อความตำนานวัดพระธาตุดอยตุง และคำไหว้พระธาตุดอยตุง และคำอธิบายที่ฐานรูปหล่อ[5] |
โบราณสถาน
กรมศิลปากรค้นพบโบราณสถานทั้งในเมืองและนอกเมืองรวมกัน 112 แห่ง โบราณสถานมีการขุดแต่งทางโบราณคดีในเมืองเชียงแสนทั้งหมด 34 แห่ง และโบราณสถานนอกเมืองเชียงแสนทั้งหมด 11 แห่ง หลักฐานทางโบราณคดีอย่าง ตำนานพื้นเมืองเชียงแสน ระบุว่า พระเจ้าตลุนหรือสุทโธธรรมราชาครองเมืองได้กล่าวถึงวัดทั้งภายในและภายนอกเมืองทั้งหมด 141 วัด ภายในรัศมี 500 วาของตัวเมืองเชียงแสน[3]: 15–16
วัดเจดีย์หลวง
ที่ตั้งวัดเจดีย์หลวง | |
---|---|
วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงแสน แผนผังเจดีย์หลวงเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 9.50 เมตร สูงประมาณ 35.50 เมตร ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยพญาแสนพู ซึ่งพญาแสนพูเป็นพระราชนัดดาของพญามังรายเสด็จมาจากเมืองเงินยางมาสร้างเมืองเชียงรายและยึดเมืองหริภุญชัยราวปี พ.ศ. 1836[6]
วัดเจดีย์หลวงปรากฏใน ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 กล่าวว่าเดิมชื่อวัดพระหลวง พญาแสนพูได้สร้างเจดีย์ใหม่ครอบเจดีย์องค์เดิมที่สร้างขึ้นโดยพญาศิริอโศกธรรมราช หลังจากนั้นอีก 3 ปี ทรงเล็งเห็นว่าวัดพระหลวงเป็นวัดเค้าเมือง[ซ] เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุก่อน พระองค์จึงมีศรัทธาให้สร้างวิหารหลวง กว้าง 8 วา ยาว 17 วา และเจดีย์สูง 29 วา ตรงกับปี พ.ศ. 1833[7]: 148–149 ซึ่งศักราชอาจคลาดเคลื่อน เนื่องจากในปี พ.ศ. 1833 พญาแสนพูยังไม่ได้มาครองเมืองเชียงแสน[1]: 119
ทั้งนี้หลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับอายุของเจดีย์หลวงคือในพงศาวดารโยนก กล่าวว่าพระเจ้าแสนภูทรงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสนภายหลังทรงครองเมืองเชียงแสนได้ 3 ปี โดยเจดีย์มีขนาดกว้าง 28 เมตร สูง 58 เมตร ต่อมาเจดีย์องค์นี้คงได้รับการซ่อมแซมสมัยพระเมืองแก้วที่โปรดให้ช่างขุดเจดีย์องค์เดิมแล้วก่อพระเจดีย์ขึ้นใหม่ ตรงกับในปี พ.ศ. 2058[6][1]: 119
โดยจากรูปแบบและวิวัฒนาการของเจดีย์หลวงจัดเป็นเจดีย์ที่มีวิวัฒนาการในช่วงหลังแล้ว[8] ควรจัดอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 โดยเจดีย์หลวง เป็นเจดีย์ที่จัดรูปแบบอยู่ในกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยม กล่าวคือ มีฐานเขียงยกสูง 1 ฐานรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายที่มีส่วนของบัวคว่ำสองฐานซ้อนกันอยู่ ท้องไม้ยืดสูง การประดับบัวลูกแก้วอกไก่ก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากการซ่อมในรุ่นหลัง ส่วนนี้แต่เดิมน่าจะเป็นลูกแก้วอกไก่สองเส้น ส่วนที่เป็นบัวหงายและหน้ากระดานของบัวหงายก็ไม่ชัดเจน ส่วนฐานเขียงขึ้นไปจนถึงส่วนรองรับองค์ระฆังอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัว 3 ฐานประดับท้องไม้ด้วยลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น อยู่ในผังแปดเหลี่ยม และตั้งแต่ส่วนนี้ขึ้นไปจนถึงปล้องไฉนจะมีรูปแบบเหมือนกับเจดีย์ในกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยมนี้ทั้งหมด[1]: 120 กล่าวคือ ต่อจากชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายมีลูกแก้วอกไก่ขึ้นไปคือองค์ระฆังในผังกลม และบัลลังก์ในผังแปดเหลี่ยมก่อนจะถึงปล้องไฉนและปลียอด
ทั้งนี้ ผลการขุดแต่งบูรณะเจดีย์หลวงในปี พ.ศ. 2500–2501 พบว่าภายหลังการขุดลอกชั้นดินทับถมที่ฐานแปดเหลี่ยมพบฐานเขียงด้านล่างก่อติดกับฐานของเจดีย์มุม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฐานส่วนนี้ของเดิมน่าจะเป็นฐานบัว 2 ชั้นซ้อนกันที่นิยมราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21[9]: 37 ตรงกับหลักฐานที่ว่าเจดีย์หลวงได้รับการซ่อมแซมสมัยพระเมืองแก้วข้างต้น
วัดพระบวช
ที่ตั้งวัดพระบวช | |
---|---|
วัดพระบวช เป็นวัดที่ประกอบด้วยเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทางทิศเหนือของวิหาร ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดมุงเมือง สันนิษฐานมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19
วัดพระบวชปรากฏใน ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 มีบันทึกเกี่ยวกับวัดพระบวชว่าสร้างโดยพญากือนา เมื่อปี พ.ศ. 1889 รายละเอียดดังนี้ "....ส่วนว่าพระยาผายูตนพ่อนั้น ท่านก็ลงไปกินเมืองเชียงใหม่ ในศักราช 708 ตัวปีเมิงไค้ เดือน 6 เพ็ญ วันพุธ มหามูลศรัทธาพระราชเจ้ากือนาสร้างเจดีย์และวิหารพระพุทธรูปพระบวช กลางเวียงไชยบุรีเชียงแสนที่นั่นแล้ว ก็ฉลองทำบุญให้ทานบริบูรณ์ในวันนั้นแล"[7]
วิหารขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 20 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น
เจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหาร ลักษณะก่ออิฐถือปูน ฐานเป็นฐานเขียง 3 ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นล่างสุดกว้างด้านละ 8 เมตร รองรับชุดฐานบัว 2 ฐานซ้อนกันในผังยกเก็จแบบล้านนา เหนือขึ้นไปเป็นส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัว 3 ฐาน ประดับลูกแก้วอกไก่ฐานละ 2 เส้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังทรงกลมขนาดเล็ก บัลลังก์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้สิบสอง ก้านฉัตร บัวฝาละมรรองรับปล้องไฉนและปลียอดตามลำดับ
จากการบูรณะของกรมศิลปากรพบว่า เจดีย์องค์นี้ได้ก่อหุ้มเจดีย์อีกองค์หนึ่งไว้ภายใน เจดีย์องค์ในเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด มีเรือนธาตุตั้งอยู่ค่อนข้างต่ำ รองรับไว้ด้วยฐานเขียงเตี้ย มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน พระพุทธรูปปูนปั้นภายในซุ้มองค์หนึ่งที่พบเป็นพระพุทธรูปแสดงท่าทางยืนคล้ายปางลีลา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้กะเทาะบางส่วนของเจดีย์องค์นอกออกเพื่อให้เห็นพระพุทธรูปปูนปั้นของเจดีย์องค์ใน
จากรูปแบบศิลปกรรมสันนิษฐานว่า เจดีย์องค์ในน่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20 ส่วนเจดีย์องค์นอกสร้างหุ้มเจดีย์องค์เดิมราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 21
วัดมุงเมือง
ที่ตั้งวัดมุงเมือง | |
---|---|
วัดมุงเมือง เป็นวัดที่ประกอบด้วยเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมซ้อนกันสี่ชั้น วิหารทางทิศตะวันออก ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วและประตูโขง สันนิษฐานว่าได้สร้างภายหลังวัดป่าสักราวพุทธศตวรรษที่ 20 วัดมุงเมืองตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระบวช สันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจเป็นวัดเดียวกัน
เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐถือปูน ส่วนฐานประกอบด้วยฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกสูงซ้อนกัน 3 ฐาน กว้างด้านละ 7 เมตร รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่และส่วนเรือนธาตุที่เป็นห้องสี่เหลี่ยมยกเก็จ มีซุ้มจรนำสี่ด้านประดับลายปูนปั้นพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลก[10] ส่วนล่างเป็นฐานบัวคว่ำ ส่วนบนเป็นบัวหงายที่ผนังมีการประดับบัวคว่ำและบัวหงายเส้นเล็ก ส่วนล่างและบนประดับลูกแก้วอกไก่แทรกระหว่างบัว ส่วนยอดเป็นฐานแปดเหลี่ยม 1 ฐาน ที่มุมฐานทั้ง 4 มุมประดับด้วยสถูปิกะ ถัดขึ้นไปจากฐานแปดเหลี่ยมเป็นบัวปากระฆัง องค์ระฆังทรงกลมขนาดเล็กสูง และบัลลังก์
วิหารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 20 เมตร หันหน้าทิศตะวันออก ด้านหน้าเป็นห้องเปิดโล่ง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ผนังก่อทึบ ประกอบด้วยฐานชุกชีหรือแท่นแก้วประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ด้านทิศใต้มีบันไดเชื่อมต่อกับทางเดินไปยังอุโบสถและวิหารเล็กที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารและเจดีย์
อุโบสถ มีขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หรือหันหน้าไปชนกับวิหารเล็ก ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใกล้เคียงกับอุโบสถ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ประตูโขงอยู่บริเวณกำแพงแก้วด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันออกก่อด้วยอิฐถือปูน
วัดมหาธาตุ
ที่ตั้งวัดมหาธาตุ | |
---|---|
วัดมหาธาตุ เป็นวัดประกอบด้วยวิหารและมณฑป[3] ไม่ปรากฏประวัติหลักฐานการก่อสร้าง สันนิษฐานสร้างราวพุทธศตรวรรษที่ 20
จากการศึกษาไม่พบประวัติการสร้างแต่เดิมชาวบ้านเรียกวัดมหาธาตุนี้ว่า "วัดพระรอด" ในปี พ.ศ. 2509 ที่เมืองเชียงแสนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ คันธกุฎีวัดมหาธาตุได้รับความเสียหายอย่างมาก ปรากฏว่าเหลือมุมคันธกุฎีด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นคงเหลือสภาพสมบูรณ์ กรมศิลปากรจึงได้บูรณะใหม่ โดยยึดเอาแนวดังกล่าวเป็นต้นแบบ
วิหารมีลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นส่วนฐานก่ออิฐของอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร หันด้านหน้าที่เป็นด้านกว้างไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นที่ด้านหน้า ส่วนด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกเชื่อมต่อทางเข้ามณฑป
มณฑปเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายมณฑปมูลคันธกุฎี ที่ประทับส่วนพระองค์ของพระพุทธเจ้า ขนาดกว้างด้านละ 4.5 เมตร สูง 8.4 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น แต่ปัจจุบันชำรุดแตกหัก
โบราณสถานที่พบคันธกุฎีในบริเวณเมืองเชียงแสน เช่น วัดพระธาตุปูเข้าหรือพระธาตุภูข้าว และวัดป่าแดงหลวง เป็นต้น ที่เมืองสุโขทัยมณฑปลักษณะนี้นี้อยู่หลังวิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
หมายเหตุ
- ↑ แกนดินอาจเกิดขึ้นจากการขุดเอาดินมาจากคูเมือง แล้วพูนขึ้นเป็นคันดินสูง
- ↑ หรือ ประตูนางเทิง
- ↑ หรือ ประตูป่าสัก
- ↑ หรือ ประตูท่าม่านหรือท่าม้า
- ↑ พื้นเมืองเชียงแสน ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองเชียงแสนไว้ว่า ในครั้งนั้นเมืองเชียงแสนมีประตูเมืองทั้งสิ้น 11 ประตู
- ↑ เกิดจากการพังทลายจากการเปลี่ยนทิศทางเดินของแม่น้ำโขง เป็นเหตุให้กำแพงเมืองและประตูทางทิศตะวันออกพังทลายลงและซากเจดีย์และโบราณสถานริมตลิ่งของแม่น้ำโขงพบเห็นในฤดูแล้งอีกด้วย
- ↑ ผู้ศรัทธาในอารามของล้านนา
- ↑ วัดที่สร้างแห่งแรกของเมือง
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะเมืองเชียงแสน. 2551.
- ↑ กรมศิลปากร. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือ. 2525.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 เอกสิทธิ์ เรือนทอง. พัฒนาการของแผนผังโบราณสถานในเมืองเชียงแสนและเชียงแสนน้อย. 2556.
- ↑ กรมศิลปากร. จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1. 2551.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 กรมศิลปากร. จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1. 2534.
- ↑ 6.0 6.1 แสง มนวิทูร. ชินกาลมาลีปกรณ์. 2501.
- ↑ 7.0 7.1 กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61. 2516.
- ↑ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. 2547.
- ↑ จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา. พระเจดีย์เมืองเชียงแสน. 2539.
- ↑ อภิชิต ศิริชัย. หลงใหลเชียงแสน. 2565.