ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาร์โค้ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต: แก้ไขจาก war:Kodigo bagis ไปเป็น war:Kodigo babragis
บรรทัด 93: บรรทัด 93:
[[uk:Штрих-код]]
[[uk:Штрих-код]]
[[vi:Mã vạch]]
[[vi:Mã vạch]]
[[war:Kodigo bagis]]
[[war:Kodigo babragis]]
[[zh:じょうがた码]]
[[zh:じょうがた码]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:58, 25 กุมภาพันธ์ 2556

คำว่า "Wikipedia" เข้ารหัสแบบ Code 128-B

บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง (อังกฤษ: barcode) เป็นเครื่องหมายแทนข้อมูลชนิดหนึ่งที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้ด้วยแสง (optical machine-readable) ซึ่งข้อมูลนั้นมักเกี่ยวข้องกับวัตถุที่มันติดอยู่ บาร์โค้ดโดยแรกเริ่มใช้รูปแบบ "บาร์" หรือ "แท่ง" คือเส้นขนานหลาย ๆ เส้นที่มีความหนาและช่องไฟต่าง ๆ วางเรียงกันอยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งรูปแบบนี้อาจเรียกว่า เชิงเส้น หรือ หนึ่งมิติ (1D) ก็ได้ เวลาต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นจุด สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และรูปแบบทางเรขาคณิตอื่น ๆ ใน สองมิติ (2D) ถึงแม้ระบบสองมิตินี้ใช้สัญลักษณ์ที่หลากหลาย โดยรวมก็ยังคงเรียกว่าบาร์โค้ดอยู่เช่นเดิม บาร์โค้ดดั้งเดิมอ่านด้วยเครื่องกราดภาพด้วยแสงชนิดพิเศษที่เรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด แต่ต่อมาเครื่องกราดภาพชนิดอื่นและซอฟต์แวร์แปลความหมายก็มีให้ใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะชนิดที่กราดภาพได้ และสมาร์ตโฟน

บาร์โค้ดถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อติดป้ายกำกับรถรางแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงพาณิชย์ จนกระทั่งระบบ ณ จุดขายอัตโนมัติในซูเปอร์มาร์เก็ตได้นำบาร์โค้ดไปใช้ ซึ่งเป็นงานหนึ่งที่ทำให้บาร์โค้ดแพร่หลายไปเกือบทั่วโลก การใช้งานบาร์โค้ดก็แพร่กระจายไปยังงานอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับการระบุและการจับข้อมูลอัตโนมัติ (automatic identification and data capture: AIDC) บาร์โค้ดสมัยใหม่ในรูปแบบรหัสผลิตภัณฑ์สากล (Universal Product Code: UPC) อันแรกสุดที่ถูกอ่าน คือบาร์โค้ดที่ติดอยู่บนห่อหมากฝรั่งริกลีย์เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1974 [1]

บาร์โค้ดสองมิติ

ปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ดสองมิติมาใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยีRFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์เหมือนบาร์โค้ดในปัจจุบัน

บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่

อ้างอิง

  1. Fox, Margalit (June 15, 2011), "Alan Haberman, Who Ushered In the Bar Code, Dies at 81", The New York Times
  • Automating Management Information Systems: Barcode Engineering and Implementation – Harry E. Burke, Thomson Learning, ISBN 0-442-20712-3