(Translated by https://www.hiragana.jp/)
ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหรียญลูกเสือยั่งยืน" - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหรียญลูกเสือยั่งยืน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| ชื่อไทย = เหรียญลูกเสือยั่งยืน
| ชื่อไทย = เหรียญลูกเสือยั่งยืน
| ชื่อในภาษาแม่ = The Sustainable Scout Medal of Thailand
| ชื่อในภาษาแม่ = The Sustainable Scout Medal of Thailand
| ภาพ = [[ไฟล์:แบบเหรียญลูกเสือยั่งยืน scout of thailand.jpg|150px |เหรียญลูกเสือยั่งยืน]]
| ภาพ = [[ไฟล์:แบบเหรียญลูกเสือยั่งยืน scout of thailand.jpg|125px|เหรียญลูกเสือยั่งยืน]]
| ประเทศ = {{flagicon|Thailand}} [[ประเทศไทย]]
| ประเทศ = {{flagicon|Thailand}} [[ประเทศไทย]]
| ผู้สถาปนา = [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช]]
| ผู้สถาปนา = [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:43, 27 มิถุนายน 2559

เหรียญลูกเสือยั่งยืน
เหรียญลูกเสือยั่งยืน
ประเภทเหรียญราชอิสริยาภรณ์ประเภทบำเหน็จในราชการ
ประเทศไทย ประเทศไทย
ผู้สมควรได้รับบุคคลากรทางการลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช
ประธานพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยในฐานะพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 3

เหรียญลูกเสือยั่งยืน เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 หมวด 5 เหรียญลูกเสือและการยกย่องเชิดชูเกียรติ[1] จัดสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการให้แก่บุคคลากรทางการลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำงานด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดความเสียหาย ก่อให้เกิดผลดีต่อกิจการลูกเสือ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

ลักษณะ

เหรียญลูกเสือยั่งยืน มีลักษณะเป็นเป็นเหรียญเงิน รูปหกเหลี่ยมตัวเหรียญหมุนได้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.3 เซนติเมตร มีมุมแหลมอยู่ด้านบนติดกับห่วงห้อยร้อยแพรแถบ มีขอบสองชั้น ด้านหน้าของเหรียญ ตรงกลางมีหน้าเสือ ประกอบวชิระทำเป็นลายดุน ภายในกรอบเป็นวงกลม ยกระดับพ่นทรายด้าน ส่วนด้านหลังเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืน” อยู่บนพื้นพ่นทรายด้าน ด้านบนแพรแถบเป็นเข็มกลัดมีลักษณะเป็นแถบโลหะสีเงิน ภายในมีข้อความว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ล้อมด้วยรูปเกลียวเชือกผูกเป็นปมเงื่อนพิรอด แพรแถบกว้าง 3 เชนติเมตร มีริ้วสีแดงกว้าง 11 มิลลิเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีดำกว้าง 3 มิลลิเมตร ถัดจากริ้วสีดำเป็นริ้วสีขาวกว้าง 2 มิลลิเมตร และริ้วสีเหลืองอยู่ริมแพรแถบกว้าง 4.5 มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อ เหนือกระเป๋าเบื้องซ้าย สำหรับแพรแถบย่อของเหรียญลูกเสือยั่งยืน มีสีแดงอยู่กลาง และมีสีดำขาวเหลืองอยู่ทั้งสองข้างของแพรแถบ

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 42 ก หน้า 111 4 มีนาคม พ.ศ. 2551