(Translated by https://www.hiragana.jp/)
ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การศึกษาพิเศษ" - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การศึกษาพิเศษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
{{การศึกษา}}
{{การศึกษา}}


{{โครงการศึกษา}}


[[หมวดหมู่:การศึกษาทางเลือก]]
[[หมวดหมู่:การศึกษาทางเลือก]]
[[หมวดหมู่:การศึกษาพิเศษ]]
[[หมวดหมู่:การศึกษาพิเศษ]]
{{โครงการศึกษา}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:35, 16 กันยายน 2563

ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ

การศึกษาพิเศษ (อังกฤษ: special education, SPED) เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความต้องการพิเศษของผู้เรียน ตามหลักการแล้ว กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนรายบุคคล การเตรียมกระบวนการสอนอย่างเป็นระบบ การดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์และการจัดการการเข้าถึง การแทรกแซงกระบวนการเหล่านี้เป็นไปเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และประสบความสำเร็จในการศึกษา ซึ่งไม่สามารถทำได้ในการจัดการศึกษาภายในห้องเรียนทั่วไป

การศึกษาพิเศษมีความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางการเรียน (เช่น ภาวะเสียการอ่านเข้าใจ) ความผิดปกติของการสื่อความหมาย ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (เช่น โรคซนสมาธิสั้น) ความพิการทางร่างกาย (เช่น Osteogenesis imperfecta อัมพาตสมองใหญ่ กล้ามเนื้อเสื่อม ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังและโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานแบบเฟรดริก) ความบกพร่องทางพัฒนาการ (เช่น ออทิซึมสเปกตรัม ซึ่งรวมถึง โรคออทิซึม กลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ ปัญญาอ่อน) และความบกพร่องประเภทอื่น ๆ[1] ผู้เรียนที่มีความบกพร่องเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากการให้บริการทางการศึกษาเพิ่มเติม เช่น การใช้วิธีการสอนที่แตกต่าง การใช้เทคโนโลยี การดัดแปลงพื้นที่การสอน การใช้ห้องเสริมวิชาการหรือการใช้ห้องเรียนพิเศษ

บางครั้งอาจนับการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาพิเศษ เนื่องจากมีการใช้กระบวนการและเทคนิกการสอนที่แตกต่างจากทั่วไป ทว่าโดยทั่วไปแล้วมักใช้นิยามของ "การศึกษาพิเศษ" อธิบายการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่อง ซึ่งสำหรับเด็กปัญญาเลิศจะมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ต่างออกไป นอกจากนี้แล้วมักมีความสับสนเกิดขึ้นระหว่างนิยามของคำว่าการศึกษาพิเศษและการสอนซ่อมเสริม โดยการศึกษาพิเศษจะถูกออกแบบให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ ขณะที่ผู้สอนสามารถออกแบบแนวทางการสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียนทุกคนได้ ไม่ว่าจะมีความต้องการพิเศษหรือไม่ก็ตาม เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนหรือให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนมาก นักการศึกษามักปรับปรุงวิธีการสอนและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนจำนวนมาก ขณะที่การศึกษาพิเศษในประเทศพัฒนาแล้วมักถูกจัดให้เป็นการบริการมากกว่าที่จะเป็นสถานที่[2][3][4][5][6] การเรียนร่วมเป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดการตีตราทางสังคมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลายคนให้สูงขึ้นได้[7]

การศึกษาพิเศษตรงกันข้ามกับ "การศึกษาทั่วไป" โดยการศึกษาทั่วไปจะจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมาตรฐานโดยไม่มีวิธีการสอนหรือเครื่องมือสนับสนุนพิเศษ บางครั้งผู้เรียนที่ได้รับการศึกษาพิเศษอาจสามารถเข้าเรียนในรูปแบบการศึกษาทั่วไปกับผู้เรียนที่ไม่มีความบกพร่องได้

อ้างอิง

  1. What is special education? เก็บถาวร 12 พฤษภาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from New Zealand's Ministry of Education
  2. National Council on Disability. (1994). Inclusionary education for students with special needs: Keeping the promise. Washington, DC: Author.
  3. Swan, William W.; Morgan, Janet L (1993). "The Local Interagency Coordinating Council". Collaborating for Comprehensive Services for Young Children and Their Families. Baltimore: Paul H. Brookes Pub. Co. ISBN 978-1-55766-103-6. OCLC 25628688. OL 4285012W.
  4. Beverly Rainforth; York-Barr, Jennifer (1997). Collaborative Teams for Students With Severe Disabilities: Integrating Therapy and Educational Services. Brookes Publishing Company. ISBN 978-1-55766-291-0. OCLC 25025287.
  5. Stainback, Susan Bray; Stainback, William C. (1996). Support Networks for Inclusive Schooling: Interdependent Integrated Education. Paul H Brookes Pub Co. ISBN 978-1-55766-041-1. OCLC 300624925. OL 2219710M.
  6. Gaylord-Ross, Robert (1989). Integration strategies for students with handicaps. Baltimore: P.H. Brookes. ISBN 978-1-55766-010-7. OCLC 19130181.
  7. Gartner, Alan; Dorothy Kerzner Lipsky (1997). Inclusion and School Reform: Transforming America's Classrooms. Brookes Publishing Company. ISBN 978-1-55766-273-6. OCLC 35848926.