พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี และห้องสมุดวิทยาศาสตร์, แมเลซแพลซ | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1892 |
---|---|
ที่ตั้ง | ลอนดอน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 51°31′25″N 0°7′59″W / 51.52361°N 0.13306°W |
ขนาดผลงาน | มากกว่า 80,000 ชิ้น |
เว็บไซต์ | Official website |
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์และคอลเล็กชันของยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดินในลอนดอน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุมากกว่า 80,000 ชิ้นและจัดอยู่ในกลุ่มโบราณวัตถุชั้นนำของโลกจากอียิปต์และซูดาน[1]
ประวัติ
[แก้]พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ทรัพยากรการสอนสำหรับภาควิชาโบราณคดีอียิปต์และนิรุกติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอลเลจ ในเวลาเดียวกันกับที่แผนกนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1892[2] ชุดสะสมในช่วงแรกเริ่มต้นได้รับการบริจาคโดยนักเขียนอะมีเลีย เอดเวิดส์[3][4] วิลเลียม แมตทิว ฟลินเดอส์ พีทรี ซึ่งเป็นศาสตราจารย์คนแรกได้ทำการขุดค้นที่สำคัญหลายครั้ง และในปี ค.ศ. 1913 พีทรีได้ขายชุดสะสมโบราณวัตถุของอียิปต์ให้กับมหาวิทยาลัยคอลเลจ สร้างชุดสะสมโบราณวัตถุอียิปต์ของฟลินเดอส์ พีทรี และเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์ให้เป็นหนึ่งในคอลเล็กชันชั้นนำนอกประเทศอียิปต์ โดยชุดสะสมดังกล่าวจัดแสดงครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1915[5] พีทรีได้ขุดค้นสถานที่สำคัญหลายสิบแห่งในเส้นทางอาชีพของเขา รวมถึงสุสานสมัยโรมันที่ฮาวารา[6] ซึ่งมีชื่อเสียงจากภาพเหมือนมัมมี่ที่สวยงามในรูปแบบโรมันคลาสสิก[7][8] อะมาร์นา ซึ่งเมืองของฟาโรห์อะเคนอาเตน[9] และพีระมิดแท้แห่งแรกที่ไมดุม ซึ่งเขาได้ค้นพบหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการทำมัมมี่[10]
ของสะสมและห้องสมุดได้รับการจัดไว้ในห้องจัดแสดงภายในอาคารหลักของมหาวิทยาลัย และหนังสือนำเที่ยวได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1915 ในช่วงแรก ผู้เข้าชมคอลเลกชั่นเป็นนักศึกษาและนักวิชาการ ซึ่งไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม พีทรีได้เกษียณจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ในปี ค.ศ. 1933[11] ถึงแม้ว่าผู้สืบทอดของเขาจะยังคงเพิ่มชุดสะสมต่างๆ ต่อไป โดยขุดในส่วนอื่นๆ ของอียิปต์และซูดาน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939–1945) ของสะสมได้รับการบรรจุและย้ายออกจากลอนดอนเพื่อความปลอดภัย และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 ก็ได้มีการย้ายไปยังที่เป็นคอกม้าเก่า ซึ่งยังคงอยู่ติดกับห้องสมุดวิทยาศาสตร์ ดี.เอ็ม.เอส วัตสัน ของยูซีแอล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "UCL Petrie Museum Online Catalogue". UCL Petrie Museum (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ "UCL: The Petrie Museum of Egyptian Archaeology". Museum Mile (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-02. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ Moon, Brenda E. (2006). More Usefully Employed: Amelia B. Edwards, Writer, Traveller and Campaigner for Ancient Egypt. London: Egypt Exploration Society. ISBN 9780856981692. OCLC 850990713.
- ↑ Willey, Russ. "Rehumanising the past. Petrie Museum, behind Gower Street, Bloomsbury". Hidden London. London, ENG. สืบค้นเมื่อ 24 November 2014.
- ↑ Stevenson 2015, p. 15.
- ↑ Stevenson 2015.
- ↑ "Ancient Faces: Mummy Portraits from Roman Egypt". The Met. February 8, 2000. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ Picton, Janet; Quirke, Stephen; Roberts, Paul C., บ.ก. (2007). Living Images: Egyptian Funerary Portraits in the Petrie Museum. Walnut Creek, CA: Left Coast Press. ISBN 9781598742510. OCLC 878764269.
- ↑ "The Central City - Amarna The Place". Amarna Project. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ UCL. "UCL – London's Global University". UCL CULTURE (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ "Accessing Virtual Egypt".
บรรณานุกรม
[แก้]- Stevenson, Alice (2015). The Petrie Museum of Egyptian Archaeology: Characters and Collections. London: UCLPress. ISBN 978-1-910634-04-2. Open access pdf download.