ภาษาตามาง
หน้าตา
ภาษาตามาง | |
---|---|
तामाङ | |
ประเทศที่มีการพูด | เนปาล, อินเดีย, ภูฏาน |
ภูมิภาค | เอเชียใต้ |
จำนวนผู้พูด | ประมาณ 1 ล้านคน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
ระบบการเขียน | ตัมยิก (ทิเบตแบบง่าย), เทวนาครี, ทิเบต |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | taj |
ภาษาตามาง (Tamang; อักษรเทวนาครี:तामाङ) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงกลุ่มของสำเนียงที่ใช้พูดในเนปาลและสิกขิม ประกอบด้วย ตามางตะวันออก (ผู้พูด 759,257 คนในเนปาล) ตามางตะวันตกเฉียงเหนือ (ผู้พูด 55,000 คน) ตามางตะวันตกเฉียงใต้ (ผู้พูด 109,051 คน) ตามางกุรข่าตะวันออก (ผู้พูด 3,977 คน) และตามางตะวันตก (ผู้พูด 322,598 คน) ความคล้ายคลึงระหว่างตามางตะวันออกกับตามางสำเนียงอื่นๆ อยู่ระหว่าง 81% ถึง 63% ภาษานี้เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่ากลุ่มใหญ่ที่สุดในเนปาล
ไวยากรณ์
ภาษาตามางเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ใช้ปรบท คำแสดงความเป็นเจ้าของอยู่หลังคำนาม มีการกเกี่ยวพัน มีเสียงวรรณยุกต์
ระบบการเขียน
ใช้อักษรตัม-ยิกซึ่งคล้ายอักษรทิเบตและอักษรเทวนาครี ส่วนใหญ่มักจะกล่าวว่าภาษานี้เขียนด้วยอักษรเทวนาครี