กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ | |
---|---|
ธงสายรุ้งสัญลักษณ์ของ แอลจีบีทีไพรด์ | |
สัญชาติ | ทุกสัญชาติ |
แอลจีบีที (อังกฤษ: LGBT) เป็นอักษรย่อที่มาจากคำว่า เลสเบียน (อังกฤษ: Lesbian), เกย์ (อังกฤษ: Gay), ไบเซ็กชวล (อังกฤษ: Bisexual) และ ทรานส์เจนเดอร์ (อังกฤษ: Transgender) ปรากฏการใช้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และเป็นการดัดแปลงมาจากอักษรย่อ แอลจีบี ( LGB) ที่ซึ่งนำมาใช้ทดแทนคำว่า เกย์ เพื่อสื่อถึงชุมชนแอลจีบีทีในมุมกว้างขึ้น เริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980[1] ทั้งอักษรย่อ แอลจีบีที และรูปแบบอื่น ๆ ใช้เป็นคำกว้าง ๆ เพื่อสื่อถึงเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคล[2] ในภาษาไทยอาจเรียกว่ากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[3]
แอลจีบีทีอาจหมายถึงบุคคลที่ไม่ได้รักต่างเพศ หรือไม่เป็นเพศซิส มากกว่าที่จะหมายถึงเฉพาะกลุ่มเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ โดยเฉพาะ[4] เพื่อให้เป็นการครอบคลุมกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายมากขึ้น จึงนิยมใช้อักษรย่อ แอลจีบีทีคิว (อังกฤษ: LGBTQ) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกว่า โดยการเพิ่มอักษร คิว (Q) เพื่อสื่อถึงบุคคลที่นิยามตนเองว่าเป็นเควียร์ (อังกฤษ: Queer) หรือ เควชชันนิง (อังกฤษ: Questioning; ยังไม่ชัดเจน)[5] บางทีมีการเพิ่มกลุ่มอินเตอร์เซ็กซ์ (อังกฤษ: Intersex) เข้าไป เป็นอักษรย่อ แอลจีบีทีไอ (อังกฤษ: LGBTI)[6][7] และบางครั้งพบนำทั้งสองรูปแบบมารวมกันเป็น แอลจีบีทีไอคิว (อังกฤษ: LGBTIQ)[8] นอกจากนี้ยังปรากฏอักษรย่อในรูป แอลจีบีที+ (อังกฤษ: LGBT+) เพื่อรวมสเปกตรัมของเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศอันหลากหลายของมนุษย์ทั้งหมด[9] รูปแบบอื่น ๆ ที่พบไม่บ่อย เช่น แอลจีบีทีคิวไอเอ+ (อังกฤษ: LGBTQIA)[10] โดยอักษร เอ (A) มาจาก "อะเซ็กชวล" (อังกฤษ: Asexual), "อะโรแมนติก" (อังกฤษ: Aromantic) หรือ "อะเจนเดอร์" (อังกฤษ: Agender) ส่วนตัวย่อรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งในบางรูปแบบมีความยาวมากกว่าสองเท่าของ แอลจีบีที ก่อให้การวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น[11][12][13] และการตีความว่าตัวย่อนี้เป็นการหมายถึงชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเฉพาะก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Acronyms, Initialisms & Abbreviations Dictionary, Volume 1, Part 1. Gale Research Co., 1985, ISBN 978-0-8103-0683-7. Factsheet five, Issues 32–36, Mike Gunderloy, 1989
- ↑ Parent, Mike C.; DeBlaere, Cirleen; Moradi, Bonnie (June 2013). "Approaches to Research on Intersectionality: Perspectives on Gender, LGBT, and Racial/Ethnic Identities". Sex Roles. 68 (11–12): 639–645. doi:10.1007/s11199-013-0283-2. S2CID 144285021.
- ↑ ธเนศว์ กาญธีรานนท์, ถึงเวลาที่รัฐธรรมนูญไทย จะเพิ่มพื้นที่ให้แก่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อThe Handbook of Lesb
- ↑ "Civilities, What does the acronym LGBTQ stand for?". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ February 19, 2018.
- ↑ William L. Maurice, Marjorie A. Bowman, Sexual medicine in primary care, Mosby Year Book, 1999, ISBN 978-0-8151-2797-0
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อChallenging Lesbian Nor
- ↑ Siddharta, Amanda (April 28, 2019). "Trans Women March for Their Rights in Conservative Indonesia". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 28, 2019.
- ↑ Vikhrov, Natalie (April 26, 2019). "Armenia's LGBT+ community still waits for change one year after revolution". Thomson Reuters Foundation. สืบค้นเมื่อ April 28, 2019.
- ↑ "LGBTQIA+ Terminology - Gender and Sexuality Student Services - UIS". www.uis.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ "The new rainbow pride flag is a design disaster—but a triumph for LGBTQ inclusiveness". Quartz. 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ "Coming to terms with terms". www.oakpark.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.
- ↑ Oli (2019-12-04). "The challenge of generosity". Oliver Arditi (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.
- ↑ Finnegan, Dana G.; McNally, Emily B. (2002). Counseling Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender Substance Abusers: Dual Identities. Haworth Press. ISBN 978-1-56023-925-3.