(Translated by https://www.hiragana.jp/)
การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554 - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่าและความขัดแย้งกับกะเหรี่ยง
วันที่7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – 12 มกราคม พ.ศ. 2555[2]
(1 ปี 2 เดือน 5 วัน)
สถานที่
ผล หยุดยิง
คู่สงคราม
 พม่า DKBA-5[1]
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ต้านชเว
มี่นอองไลง์
Saw Lah Pwe[3]
Saw Kyaw Thet[4]
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพพม่า

  • กองบัญชาการยุทธการทหารที่ 19[5]
กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง
กำลัง
ประมาณ 250 นาย ประมาณ 300 นาย
ความสูญเสีย
ถูกฆ่า 43 นาย, บาดเจ็บ 63 นาย[6] ไม่ทราบ
พลเมือง: ถูกฆ่า 3 คน, บาดเจ็บ 24 คน[7]
มีผู้อพยพเข้ามาในไทยอย่างน้อย 20,000 คน[8]

การปะทะตามชายแดนพม่า พ.ศ. 2553-2554 เป็นการปะทะกันต่อเนื่องระหว่างกองทัพพม่า (ทัดมาดอ) และกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตยการปะทะกันเกิดขึ้นตามแนวชายแดนพม่าที่ติดต่อกับไทย ไม่นานหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[9] มีผู้ลี้ภัยประเมินไว้ 10,000 คนหลบหนีเข้ามาในประเทศไทยจากความขัดแย้งรุนแรง[10] มีความกังวลว่าเนื่องจากความไม่พอใจกับการเลือกตั้ง และการโกงการเลือกตั้ง ว่าความขัดแย้งอาจลุกลามไปเป็นสงครามกลางเมือง[11]

เส้นเวลา

[แก้]

เหตุการณ์ใน พ.ศ. 2553

[แก้]

ในวันที่ 1 ตุลาคม เกิดการสู้รบระหว่างกองทัพพม่าและทหารไทใหญ่เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งทหารพม่าแพ้ และต่อมาถูกซุ่มโจมตีโดยทหารกะเหรี่ยง[12] ต่อมา ในวันที่ 8 พฤศจิกายน เกิดการสู้รบในเมืองเมียะวดีในรัฐกะเหรี่ยง โดยทหารพม่าได้ยิงเข้าใส่ฝูงชนที่ปฏิเสธการเลือกตั้ง[13] และมีการปะทะกันที่บริเวณด่านพระเจดีย์สามองค์ด้วย[14] เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 20 คน ทหารพม่าเข้ายึดตลาดกลางเมืองเมียะวดี[15] มีพลเรือนชาวไทยอย่างน้อย 5 คนบาดเจ็บจากอาวุธจรวดที่ยิงเข้ามาที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.[16] มีผู้อพยพราว 10,000 คนข้ามแดนมายังประเทศไทย[17] กองทัพประชาธิปไตยกะเหรี่ยงพุทธเข้าโจมตีเมืองเมียะวดีในวันที่ 9 พฤศจิกายน แต่กองทัพพม่ายึดเมืองไว้ได้หมดแล้ว และผลักดันกลุ่มทหารกะเหรี่ยงเข้าไปในป่า[18] ผู้อพยพได้เดินทางกลับพม่า[19]

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน การปะทะที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ยังคงดำเนินต่อไป[20] ฝ่ายกองทัพประชาธิปไตยกะเหรี่ยงพุทธพยายามเข้ายึดเมืองปยาทอนซู แต่กองทัพพม่าผลักดันฝ่ายกบฏออกไปได้[21] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน สถานีอัลญาซีราภาคภาษาอังกฤษได้รายงานว่า กองทัพประชาธิปไตยกะเหรี่ยงพุทธได้ไปร่วมมือกับกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยงเพื่อต่อต้านการโจมตีของกองทัพพม่า[22] ทั้งสองฝ่ายต่อสู้โดยใช้จรวดและปืนครกยิงใส่กันตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน ทำให้มีผู้อพยพเข้ามาในไทย[23][24]

เหตุการณ์ใน พ.ศ. 2554

[แก้]

ในเดือนมกราคม การต่อสู้เกิดขึ้นตลอดในช่วงปีใหม่ระหว่างกองทัพพม่าและกองทัพประชาธิปไตยกะเหรี่ยงพุทธ โดยยังยิงจรวดเข้าใส่กัน บางส่วนพลัดเข้ามาในเขตไทย ทำให้ทหารไทยบาดเจ็บ 2 คน[25] กองทัพประชาธิปไตยกะเหรี่ยงพุทธกล่าวอ้างว่าฆ่าทหารพม่าได้ 26 คน และบาดเจ็บ 35 คน มีผู้อพยพเข้ามาในไทย 200 คนซึ่งฝ่ายไทยจัดให้อยู่ที่ตำบลพบพระ กองทัพประชาธิปไตยกะเหรี่ยงพุทธยังกล่าวอ้างว่าฝ่ายไทยยอมให้ทหารพม่าผ่านแดนเข้าไปใช้ดินแดนไทยในการโจมตีฝ่ายตน แต่ทหารไทยไม่ได้โต้ตอบ[26]

ในเดือนกุมภาพันธ์ เกิดการสู้รบระหว่างองค์การเอกราชกะชีนกับกองทัพพม่า โดยฝ่ายกะชีนกล่าวว่ากองทัพพม่านำโดยนายพลยิน ทเว ได้นำทหารล้ำเข้าไปในพื้นที่ควบคุมของฝ่ายกะชีน ทำให้เกิดการปะทะขึ้น การสู้รบเกิดขึ้น 20 นาที ก่อนที่ฝ่ายพม่าจะถอยออกมา[27] ทหารพม่าเข้าโจมตีทหารของกองทัพเอกราชกะชีนอีกในวันที่ 12 มิถุนายน ในวันรุ่งขึ้น กองทัพกะชีนได้ประกาศสงครามกลางเมืองกับพม่า[28]

ในเดือนมีนาคม ทหารกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ซุ่มโจมตีรถบรรทุกทหาร 27 คน บรรทุกทหารพม่าประมาณ 300 คนบนเส้นทางระหว่างกาเนลายและบะยินหน่อง ทำให้ทหารพม่าเสียชีวิต 16 คน บาดเจ็บ 17 คน [29]ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมมีการปะทะระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังของชนกลุ่มน้อยหลายจุด โดยในวันที่ 15 เมษายนเกิดการปะทะในรัฐฉาน[30] ในเดือนพฤษภาคมเกิดการปะทะกับทหารกะเรนนี[31] และทหารกะเหรี่ยงทั้งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยงและกองทัพประชาธิปไตยกะเหรี่ยงพุทธซึ่งการสู้รบได้ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายน[32] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน จึงมีการเจรจาเพื่อหยุดยิงระหว่างกองทัพพม่าและสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง[33]

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

[แก้]

การสู้รบที่ชายแดนไทย-พม่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้คนในแม่สอด อย่างไรก็ตาม การสู้รบที่เกิดขึ้นใกล้บริเวณนี้นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553 ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศไทยและพม่าเนื่องจากมีการปิดด่านชายแดน การค้าระหว่างสองประเทศนี้นำเงินเข้าประเทศประมาณ 30 ถึง 36 ล้านบาทต่อปี[34]

ปฏิกิริยาจากนานาชาติ

[แก้]
  •  สหประชาชาติพัน กี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการปะทะระหว่างทหารรัฐบาลและกองทัพกบฏของชนกลุ่มน้อย[35]
  •  ออสเตรเลีย – พรรคออสเตรเลียนกรีนเรียกร้องให้คว่ำบาตรพม่าจากเหตุความรุนแรง[36]
  •  แคนาดา – กระทรวงการต่างประเทศของแคนาดาได้ประกาศจะดำเนินโครงการเพื่อนชาวแคนาดาสำหรับพม่าเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพ[37]
  •  ไทย – รัฐบาลไทยเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายสู้รบด้วยความระมัดระวัง เพราะมีระเบิด M79 พลัดหลงเข้ามาในเขตไทย[38]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Clashes continue between DKBA faction, junta troops". Mizzima.com. 8 พฤศจิกายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2011.
  2. "Burma government signs ceasefire with Karen rebels". BBC News. 12 January 2012.
  3. "Junta bombards DKBA splinter group at Three Pagodas Pass". Mizzima.com. 9 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
  4. "Tribal guerrillas attack Burmese troops". Washington Times. 9 November 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  5. "KNU promises to support DKBA". Mizzima.com. 8 พฤศจิกายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2011.
  6. "Karen, Mon fleeing to Thailand again". Bangkok Post. 10 November 2010. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
  7. "Thousands flee deadly fighting in Myanmar". The Times of India. 8 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  8. "20,000 flee Myanmar fighting: Thai officials". Channel News Asia. 9 November 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.[ลิงก์เสีย]
  9. "Burma election marred by violence". Telegraph.co.uk. November 8, 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  10. "Thousands flee Myanmar clashes". Al Jazeera. November 8, 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  11. "Civil war threatens following Burma's election". Australian Broadcasting Corporation (ABC). November 9, 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  12. "Burmese troops clash with Karen, Shan armies". Dvb.no. 2010-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-23.
  13. Mackinnon, Ian (November 9, 2010). "Burma election marred by violence". London: Telegraph.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-09. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  14. "Violence breaks out in Myanmar after election". AFP. November 8, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  15. "Burma refugees pour over Thai border as fighting breaks out". The Australian. November 8, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-09. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  16. "Myanmar parties concede poll defeat". Al Jazeera. November 9, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-12. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  17. "Thousands flee Burma border clash, as votes are counted". BBC. November 8, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-09. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  18. "Army official: Border battle ended". Bangkok Post. November 9, 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  19. Suwannakij, Supunnabul (November 9, 2010). "Thailand Seeks to Return 15,000 Myanmar Minorities Who Fled After Election". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-13. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  20. "2,500 Karen, Mon refugees cross Three Pagodas Pass". Mizzima.com. November 10, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-13. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010.
  21. "Artillery Fire Continues at Three Pagodas Pass". The Irrawaddy. November 11, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  22. "Myanmar rebel armies join forces". Al-Jazeera English. 2010-11-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-11-12.
  23. "200 Ethnic Group Flee To Thailand After Fresh Fighting Erupts In Myanmar". BERNAMA.COM. November 15, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-18. สืบค้นเมื่อ 15 November 2010.
  24. "200 Karen flee to Thailand after fresh fighting erupts in Myanmar". mcot.net. November 15, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-19. สืบค้นเมื่อ 15 November 2010.
  25. "DKBA Attacks Junta's Strategic 'Three Mountain' Outpost". IRRAWADDY. 1 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 28 February 2011.
  26. "Clashes Continue in Karen State". IRRAWADDY. January 27, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 28 February 2011.
  27. "KIO, junta fighting breaks out; first since 1997". MIZZIMA. 7 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 28 February 2011.
  28. "KIA destroys two bridges in Northern Shan State". Bnionline.net. 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  29. "Sixteen Junta troops die in guerilla ambush". Bnionline.net. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  30. "Burmese Army Changes Focus to the North, Three Pagodas Pass Calms Down". Bnionline.net. 2011-05-03. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  31. "WAR: clash between the Burmese military troops and the Karenni soldiers near Daw Ta Naw village". Democracyforburma.wordpress.com. 2011-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  32. "Karen fighting forces 700 to flee | Democratic Voice of Burma". Dvb.no. 2011-05-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  33. "Burma Ethnic Rebels Cautious About Government Peace Offer". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  34. "Border clashes deal new blow to trade". Bangkok Post. 15 November 2010. สืบค้นเมื่อ 15 November 2010.
  35. "UN chief chides Burma election as border clashes intensify". France 24. 9 พฤศจิกายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010.
  36. "Greens demand Burma trade embargo". Australian Broadcasting Corporation (ABC). 9 November 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  37. "Thousands flee Myanmar after historic election turns violent". Times Colonist. 9 พฤศจิกายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  38. M79 rounds land on border village 8 November 2010 Retrieved 14 November 2010

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]