การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล
การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การขยายอาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล | |||||||
การบุกเอโกโตบะของมองโกล: ทหารมองโกลและเกาหลีเผชิญหน้ากับซามูไร | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ฮินตู (Hintu) ฮงดากู หลิวฟู๋เฮง อาลาเตมูร์ |
โชนิ ซูเกโยชิ โชนิ สึเน็ตสึเกะ โชนิ คาเงซูเกะ โอโตโมะ โยริยาซุ | ||||||
กำลัง | |||||||
1274: 23,000 กำลังผสมของมองโกล, จีน และ เกาหลี
|
1274: 100,000 นาย 1281: 290,000 นาย | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
1274: 22,500 เสียชีวิตก่อนขึ้นฝั่ง 1281: 130,500 เสียชีวิตก่อนขึ้นฝั่ง | 1274/1281: เล็กน้อย |
การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล (ญี่ปุ่น:
ขณะนั้น จักรวรรดิมองโกลขณะนั้นปกครองดินแดนมากกว่าครึ่งของทวีปเอเชีย และบางส่วนของทวีปยุโรป เป็นชาติมหาอำนาจที่เป็นที่หวั่นเกรงของทุกอาณาจักร ได้นำพาเกาหลีภายใต้ราชวงศ์โครยอ ซึ่งยอมสวามิภักดิ์ต่อมองโกลมาเป็นแนวร่วมในการรุกรานญี่ปุ่น
แม้มองโกลจะมีกำลังทหารที่เหนือกว่าญี่ปุ่นมหาศาล แต่การรุกรานทั้งสองครั้งประสบความล้มเหลวอย่างยับเยินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง การสูญเสียไพร่พลและทรัพยากรมหาศาลจากการรุกรานทั้งสองครั้ง เป็นการนำมาซึ่งการเสื่อมถอยของจักรวรรดิมองโกล
เบื้องหลัง
[แก้]ภายหลังการแผ่ขยายอาณาเขตของมองโกลอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1231-1259 พระเจ้าโคจงแห่งโครยอทรงตระหนักว่า มันยากเย็นนักที่จะต่อต้านมองโกลที่มีกำลังทหารอย่างมหาศาล และการต่อต้านมองโกลนั้นก็อาจจะนำมาซึ่งผลที่ร้ายแรง ดังนั้น เกาหลีจึงได้ยินยอมเป็นประเทศราชของจักรวรรดิมองโกล ในปี ค.ศ. 1258 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1270 เมื่อมองโกลสามารถยึดครองเกาหลีได้อย่างสมบูรณ์ กุบไล ข่าน จึงได้สถาปนาราชวงศ์หยวนแห่ง จักรวรรดิมองโกลขึ้นอย่างสมบูรณ์
ญี่ปุ่นในขณะนั้นปกครองโดย "ชิกเก็ง" (ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน) ที่มาจากตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นตระกูลที่กุมอำนาจบริหารประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1203 ในนามของโชกุนแห่งรัฐบาลโชกุนคามากูระ ซึ่งขณะนั้นมีโชกุนคือ เจ้าชายโคเรยาซุ
การทูต
[แก้]ในปี ค.ศ. 1266 กุบไลข่านส่งคณะทูตไปยังญี่ปุ่น โดยมีผู้รับสาส์นคือโฮโจ โทกิมูเนะ ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน (มีการถวายต่อราชสาส์นไปยังพระราชวังหลวงเกียวโตเช่นกัน) โดยมีเนื้อความในราชสาสน์ว่า:
ขอน้อมนำอาณัติแห่งสวรรค์ ข่านแห่งมหาอาณาจักรมองโกลมีราชสาส์นนี้ถึงพระเจ้าแผ่นดินกรุงอาทิตย์อุทัย เราดำริเห็นว่านับแต่โบราณกาลมาแล้ว บรรดาพระเจ้าแผ่นดินจุลประเทศทั้งหลาย ต่างพยายามมีปฏิสันถารต่อกันในทางไมตรีไม่มากก็น้อยเมื่อขอบขัณฑสีมาอยู่ชิดติดกัน แลนับแต่บรรพชนแห่งเรารับบัญชาฟ้าให้ครองพิภพ ประเทศต่างด้าวแดนไกลทั้งหลายที่เกรงกลัวเดชานุภาพแลต่อต้านธรรมการย์เรานั้นมีนับไม่ถ้วน
เมื่อเราขึ้นเถลิงราชย์ ชาวโครยอผู้บริสุทธิ์ต่างเหน็ดเหนื่อยการข้างศึกสงครามได้หยุดล้มเลิกการทิ้งขว้างชีวิต เราจึงยกดินแดนแว่นแคว่นโครยอนั้นคืนเสียแลปล่อยให้คนหนุ่มคนแก่เหล่านั้นคืนสู่บ้านเมืองที่ว่า เจ้าประเทศราชโครยอได้มาเยือนเพื่อแสดงความซาบซึ้งศรัทธาเป็นอันมาก แม้ความซื่อสัตย์เป็นเจ้าประเทศราช แต่สัมพันธ์ไมตรีดุจดั่งพ่อลูก เรื่องนี้พระองค์ท่านเองคงทรงทราบดีอยู่แล้ว
กรุงโครยอเป็นประเทศราชทางบูรพาของเรา กรุงอาทิตย์อุทัยก็อยู่ใกล้ชิดโครยอเป็นอันมาก ประเทศของท่านนับตั้งแต่ถือกำเนิดมาได้มีทางสัมพันธ์กับกรุงจีนเป็นบางครั้ง แต่ทว่า นับตั้งแต่เราขึ้นเถลิงราชย์ กรุงอาทิตย์อุทัยไม่เคยส่งผู้ถือสารมาเลยแม้แต่ครั้งเดียว อาณาจักรท่านสมควรที่จะทราบเรื่องนี้ได้แล้ว ดังนั้นเราจึงส่งคณะทูตพร้อมกับสาส์นของเราเพื่อแสดงความปรารถนาของเราเป็นพิเศษอันจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกันและกันนับแต่บัดนี้ไป เราคาดหวังว่าชาติทั้งปวงจะเป็นครอบครัวหนึ่งเดียว เราต่างมีหนทางที่เหมาะสม ยกเว้นในกรณีที่เข้าใจกัน ไม่มีใครปรารถนาที่จะใช้ความรุนแรง[1]
ผู้สำเร็จราชการโทกิมูเนะได้นำเรื่องนี้ปรึกษาหารือและพิจารณาอย่างรอบคอบ เขาตัดสินใจที่จะไม่ให้คำตอบใดกลับไป ฝ่ายมองโกลไม่ลดละความพยายาม ได้ส่งคณะทูตชุดที่สองมาญี่ปุ่นในปี 1268 และก็คว้าน้ำเหลวเหมือนครั้งแรก ต่อมาทางมองโกลได้ส่งราชทูตอีก 4 ครั้ง (มีนาคม 1269, กันยายน 1269, กันยายน 1271, พฤษภาคม 1272) พร้อมผู้ติดตามจากโครยอ การมาเยือนแต่ละครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นบก ทางราชสำนักในเกียวโตมีคำแนะนำมาถึงโทกิมูเนะให้ยอมรับข้อเสนอของโครยอ เนื่องจากราชสำนักในเกียวโตเกรงแสนยานุภาพของมองโกล โทกิมูเนะยังคงทำเช่นเดิมคือไม่ตอบกลับใด ๆ ในขณะเดียวกันก็สั่งการขุนนางและกลุ่มซามูไรในเกาะคีวชู ซึ่งอยู่ใกล้กับโครยอมากที่สุดให้เตรียมรับมือภัยสงครามที่อาจมาถึง
การรุกรานครั้งแรก
[แก้]กุบไลข่านทรงปรารถนาอย่างมากที่จะทำสงครามต่อญี่ปุ่นในช่วงต้นปี 1268 หลังจากได้ได้รับการปฏิเสธมาแล้วถึงสองครั้ง แต่ก็พบว่ามองโกลยังขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดตั้งกองเรือรบในเวลานั้น จนกระทั่งภายหลังจากมองโกลดำเนินนโยบายกลืนชาติเกาหลีโดยการที่ราชธิดาของกุบไลข่านได้อภิเษกสมรสกับรัชทายาทแห่งโครยอ การต่อเรือและจัดตั้งกองเรือรบจึงเริ่มขึ้นในชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลี ในขณะเดียวกันมองโกลก็เรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนนอยู่เนือง ๆ
ต่อมาในปี 1271 กุบไลข่านก็ได้สถาปนาราชวงศ์หยวน และในปี 1272 นั้นเอง พระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอก็ได้ทูลกุบไลข่านว่า "พวกญี่ปุ่นยังไม่ทราบว่าโลกนั้นศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นการส่งทูตและทหารของเราไปยังญี่ปุ่น เรือรบและทหารต้องถูกเตรียมให้ดี หากทรงแต่งตั้งหม่อมฉันแล้วโซร้ พระองค์จักทรงประจักษ์ในแสนยานุภาพของหม่อมฉัน"[2] ซึ่งตามประวัติศาสตร์ของหยวนก็ได้บันทึกไว้ว่า "พระเจ้ากรุงโครยอกราบทูลกุบไลข่านให้ทรงช่วยต่อเรือรบ 150 ลำเพื่อใช้พิชิตญี่ปุ่น"[3]
ในที่สุด เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1274 กองเรือผสมของกองทัพจักรวรรดิมองโกล ด้วยดำลังทหารมองโกลและจีน 15,000 นายและทหารโครยอ 8,000 นาย พร้อมทั้งเรือรบขนาดใหญ่ 300 ลำและเรือรบขนาดรอง 400-500 ลำ และเข้าประชิดอ่าวฮากาตะบนเกาะคีวชู ทันทีที่ทัพมองโกลยกพลขึ้นบก ก็ถูกโจมตีจากทหารญี่ปุ่นและซามูไรราว 10,000 นายที่ตั้งทัพรออยู่ ญี่ปุ่นแม้จะมีประสบการณ์ในการจัดการกำกำลังพลขนาดใหญ่ (ระดมพลทั้งหมดของคีวชูเหนือ) แต่เนื่องจากมองโกลซึ่งครอบครองอาวุธชาวต่างชาติซึ่งรวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า (อาทิ ระเบิดเซรามิก ธนูเจาะเกราะ) มองโกลจึงพิชิตกองทัพญี่ปุ่นง่ายดายในการต่อสู้ภาคพื้นดินที่อ่าวฮากาตะ ทั้งนี้มองโกลยังไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้ ต้องรอกำลังเสริมอีกบางส่วน
และเมื่อกำลังเสริมมาถึงและกองทัพมองโกลเตรียมยกพลขึ้นฝั่ง ในตอนรุ่งสาง พายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงอย่างมหาศาลก็ได้มาถึง ณ ที่นั้น และได้พัดทำลายกองเรือมองโกลเสียหายไปอันมาก ทหารมองโกลต่างกระโดดหนีเอาชีวิตรอด ทหารจำนวนหลายพันจมน้ำเสียชีวิต ที่รอดชีวิตก็ว่ายน้ำหนีตายขึ้นฝั่งฮากาตะ แต่ก็ถูกกองทัพซามูไรสังหารเสียชีวิตและบางส่วนถูกจับเป็นเชลย อย่างไรก็ตาม เรือของญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและมีความคล่องตัวสูงซึ่งรอดจากพายุก็ได้ขึ้นโจมตีเรือรบมองโกลที่เหลือ
ภายหลังจากการรุกราน กองเรือพันธมิตรของมองโกลที่เหลืออยู่ก็กลับไปยังโครยอ และชาวญี่ปุ่นได้เทิดทูนว่าพายุลูกนั้นว่าเป็นพายุที่เทพเจ้าบันดาลมาปกป้องญี่ปุ่น และตั้งชื่อให้ว่า "คามิกาเซะ" (วายุเทพ)
ภายหลังการรุกรานครั้งแรก
[แก้]พัฒนาการของญี่ปุ่น
[แก้]หลังจากที่ได้รับชัยชนะโดยอาศัยโชคในศึกครั้งแรก ทำให้ฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นตระหนักถึงศึกภายนอกมากขึ้น รัฐบาลโชกุนคามากูระสามารถกระชับอำนาจจากฝ่ายต่าง ๆ ได้และการเมืองมีความมั่นคงขึ้น ดังนั้นในปี ค.ศ. 1275 รัฐบาลโชกุนคามากูระได้มีความพยายามอย่างมากต่อการเตรียมการรับมือสำหรับการรุกรานจากมองโกล ซึ่งทางญี่ปุ่นมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดระเบียบของซามูไรในคีวชู และสั่งให้ก่อสร้างกำแพงหินขนาดใหญ่ (ญี่ปุ่น:
ท่าทีของมองโกล
[แก้]ภายหลังจากที่การรุกรานครั้งแรกประสบความล้มเหลว กุบไลข่านก็ได้ส่งราชทูต 5 คนไปยังเกาะคีวชูเพื่อให้ยอมจำนน (นับเป็นครั้งที่เจ็ด) ผู้สำเร็จราชการโทกิมูเนะตอบโต้ด้วยการตัดหัวเหล่าทูตหยวน[4] ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีสุสานของพวกเขาในคามากูระที่ทัตสึโนกูจิ[2]
การที่ราชทูตถูกประหารทำให้ทางหยวนไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น กุบไลข่านก็ยังเห็นว่าอาจเป็นด้วยการสื่อสารที่ผิดพลาด หรือสารไม่ถึงที่หมาย จึงได้จัดให้มีการส่งคณะทูตชุดใหม่ไปเจรจาอีกครั้ง (นับเป็นครั้งที่แปด) ในปี ค.ศ. 1279 แต่กระนั้นโทกิมูเนะก็สั่งให้ประหารทูตเหมือนเดิม
การรุกรานครั้งที่สอง
[แก้]มิถุนายน ค.ศ. 1281 กองเรือมองโกลแบ่งออกเป็นสองกองเรือ กองเรือแรกประกอบด้วยเรือรบ 900 ลำที่มีกำลังพลมองโกล จีน และเกาหลี ราว 40,000 นาย ส่วนกองเรือที่สองจากจีนตอนใต้นั้นประกอบด้วยเรือรบ 3,500 ลำที่มีกำลังพลราว 100,000 นาย เดิมแผนการของมองโกลคือการรวมกลุ่มเรือรบและโจมตีอย่างประสานงานกัน แต่เนื่องด้วยกองเรือหลักของจีนนั้นล่าช้าจากการจัดเตรียมกองเรือและทหารจำนวนมหาศาล กองเรือจากเกาหลีจึงลงมือก่อนและก็ประสบกับความสูญเสียอย่างหนักที่เกาะสึชิมะจนต้องสั่งถอยทัพ ต่อมาในฤดูร้อน กองเรือเกาหลีและจีนก็สามารถยึดเกาะอิกิได้สำเร็จ และเข้าโจมตีเกาะคีวชู ที่เรียกว่า "การรบที่โคอัง" (
สาเหตุส่วนหนึ่งที่กองเรือของมองโกลและพันธมิตรอับปางลงจากพายุนั้น มาจากการที่โครยอและจีนเร่งรีบในการต่อเรือเกินไป ประกอบกับเรือแบบโครยอและซ่งใต้ซึ่งมีลักษณะที่เอื้ออำนวยในการออกทะเลมากกว่านั้นมีค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ดังนั้นจึงต้องต่อเรือแบบเดิมกับการรุกรานครั้งแรกขึ้น[6] ซึ่งมีท้องเรือที่แบนราบ (เรือเดินสมุทรโดยทั่วไปจะมีกระดูกงูโค้งเพื่อป้องกันการล่ม) เป็นเรื่องยากที่จะใช้เรือลักษณะดังกล่าวในทะเลที่มีพายุไต้ฝุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อความดั้งเดิมเป็นอักษรจีน:
上天 眷命大 蒙 古 國 皇帝 奉書 日本 國王 朕 惟 自 古 小 國之 君 境 土 相 接 尚 務 講 信 修 睦 況 我 祖宗 受天明 命 奄有區 夏 遐方異域 畏 威 懷 德 者 不可 悉數朕 即位 之 初 以高麗 無辜 之 民 久 瘁鋒鏑 即 令 罷 兵 還 其疆域 反 其旄倪高麗 君臣 感 戴來朝 義 雖君臣 歡若父子 計 王 之 君臣 亦 已 知之 高麗 朕 之 東 藩 也日本 密 邇高麗 開國 以來 亦 時 通 中國 至 於朕躬而無 一 乘 之 使 以通和 好尚 恐 王國 知之 未 審 故 特 遣 使 持 書 布告 朕 志 冀自今 以往 通 問 結 好 以相親睦 且聖人 以四海 為 家 不 相 通 好 豈 一家 之 理 哉以至 用兵 夫 孰所好 王 其圖之 不宣 至 元 三 年 八 月 日 - ↑ ประวัติศาสตร์ของโครยอ『
高麗 史 』世 家 巻 第 二 十 七 元 宗 十 三 年 三 月 己 亥 (11 มีนาคม 1272) 「惟 彼 日本 未 蒙 聖 化 。故 發 詔 使 繼 糴軍容 戰艦 兵糧 方 在所 須。儻以此事委 臣 庶幾 勉 盡 心力 小 助 王師 」[1] - ↑ ประวัติศาสตร์ของหยวน『
元 史 』卷 十 二 本紀 第 十 二 世 祖 九 至 元 十 九 年 七 月 壬 戌 (9 สิงหาคม 1282)「高麗 国王 請、自 造船 百 五 十 艘 、助 征 日本 。」 - ↑ Reed, Edward J. (1880). Japan: its History, Traditions, and Religions, p. 291., p. 291, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Winters, Harold et al. (2001). Battling the Elements, p. 14., p. 14, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ ประวัติศาสตร์ของโครยอ 『
高麗 史 』列伝 巻 十 七 「若 依 蛮様則 工費 多 将 不 及期」「用 本國 船 様 督 造 」
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- Mongol Invasion Scrolls Online - an interactive viewer detailing the Moko Shurai Ekotoba, developed by Professor Thomas Conlan.
- Mongol Invasions of Japan - selection of photos by Louis Chor.
- Mongol Invasions Painting Scrolls - more illustrations from the Moko Shurai Ekotoba.
- ประวัติศาสตร์ของโครยอ
高麗 史 full text from the National Diet Library of Japan [3] [4] [5] - Sasaki, Randall James (2008), The origin of the lost fleet of the Mongol Empire (PDF) (An MA thesis discussing the construction of the invasion fleet, and the discovery of its remains by modern underwater arcaeologists)
- สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 13
- สงครามจีน–ญี่ปุ่น
- การบุกครอง
- การบุกครองญี่ปุ่น
- ยุคคามากูระ
- ราชวงศ์หยวน
- สงครามเกี่ยวข้องกับทวีปเอเชีย
- สงครามเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น
- สงครามเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิจีน
- สงครามเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิมองโกล
- ยุทธนาวีเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิมองโกล
- ช่องแคบสึชิมะ
- ช่องแคบเกาหลี
- เกาะคีวชู
- กุบไล ข่าน
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์