(Translated by https://www.hiragana.jp/)
กำธร ลาชโรจน์ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

กำธร ลาชโรจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำธร ลาชโรจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2476
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เสียชีวิต30 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 (47 ปี)
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
สาเหตุการเสียชีวิตการฆาตกรรมด้วยการแทง

กำธร ลาชโรจน์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2476 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 2 สมัย

ประวัติ

[แก้]

กำธร ลาชโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2476[1] สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาขั้นสูง จาก วิทยาลัยช่างก่อสร้างอุเทนถวาย[2]

กำธร ถึงแก่อนิจกรรม จากการถูกฆาตกรรม เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 สิริอายุรวม 47 ปี[3]

เขาถูกนางสุมาลี โพธิ์สุวรรณ และนางสาวพุฒิพรรณ วงศ์คำลือวางยานอนหลับเพื่อชิงทรัพย์ที่โรงแรมย่านสะพานควาย แต่ทั้งสองกลัวความผิดจึงพยุงกำธรออกจากโรงแรม และไปรับนายอ๊อต พืชพันธ์ กับ นายบุญ พืชพันธ์ ในเวลา 09.00 น. ทั้งสี่ได้จอดรถริมถนนธนบุรี-ปากท่อ ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร และอ๊อตได้ใช้มีดแทงกำธรที่ลำคอจนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อมั่นใจว่ากำธรถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ทั้งสี่ได้แบ่งทรัพย์สินและนำศพของกำธรทิ้งไว้ข้างทาง ก่อนจะแยกย้ายกันหลบหนีไป[4]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ศาลได้พิพากษาประหารชีวิตผู้ต้องหาทั้งสี่ แต่ทั้งสี่ให้การรับสารภาพจึงลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต[5]

การทำงาน

[แก้]

กำธร เคยทำงานเป็นข้าราชการสังกัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม[6] ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 2 ครั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

กำธร ลาชโรจน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522)พรรคสยามประชาธิปไตย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัฐสภาสาร (ฉบับพิเศษ) พ.ศ. 2522. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2522
  2. ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (21)
  3. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน. กองบรรณาธิการมติชน. 2549
  4. ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (21)
  5. ล่าตัว “นางนกต่อ” แก๊งพยาบาลฆ่า “สส.กำธร ลาชโรจน์”
  6. โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น กรณีศึกษา : จังหวัดปัตตานี. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2549
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๗, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙