ซันจญ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชายฝั่งสวาฮีลี
พื้นที่ที่ชาวบันตูอาศัยอยู่

ซันจญ์ (อาหรับ: زَنْج, คำคุณศัพท์: زنجي, ซันญี; จาก เปอร์เซีย: زنگ, อักษรโรมัน: Zang)[1][2] เป็นชื่อที่นักภูมิศาสตร์มุสลิมสมัยกลางใช้เรียกทั้งบริเวณแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ (ส่วนใหญ่คือชายฝั่งสวาฮีลี) และผู้อยู่อาศัยชาวบันตู[3] ศัพท์นี้ยังเป็นต้นตอของชื่อสถานที่แซนซิบาร์ ("ชายฝั่งซันญี") กับทะเลซันจญ์

รูปแปลงภาษาละติน ซินกีนุม (Zingium) ทำหน้าที่เป็นชื่อเก่าของพื้นที่ชายฝั่งประเทศเคนยาและแทนซาเนียในปัจจุบันที่แอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมของที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองเชิงพาณิชย์เหล่านี้ในปัจจุบันเป็นหัวข้อการศึกษาสำหรับการผังเมือง[4][5] พื้นที่ชายฝั่งจากพื้นที่แนวหลังที่ถูกพิชิต จนถึงโลกมหาสมุทรอินเดียเป็นแหล่งที่มาของงาสัตว์ ทองคำ และทาสมาหลายศตวรรษ[6]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ซันจญ์ ในภาษาอาหรับหมายถึง "ประเทศคนผิวดำ" คำทับศัพท์แบบอื่น ๆ ได้แก่ Zenj, Zinj และ Zang[7][8] Anthony Christie โต้แย้งว่าคำว่า zanj หรือ zang อาจไม่ได้มีต้นตอจากภาษาอาหรับ มีการบันทึกรูปภาษาจีน (そうsēngqí) เร็วสุดถึง ค.ศ. 607 Christie โต้แย้งว่าคำนี้มีต้นตอจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[9]: 33  ศัพท์ภาษาชวา jenggi หมายถึงชาวแอฟริกา โดยเฉพาะชาวแซนซิบาร์[10]: 740 

เป็นที่รู้กันว่ากลุ่มชนออสโตรนีเซียเดินทางมาถึงมาดากัสการ์ประมาณ ค.ศ. 50–500[11][12] เนื่องจากเส้นทางที่เป็นไปได้เส้นทางหนึ่งคือกลุ่มชนออสโตรนีเซียจากอินโดนีเซียเดินทางข้ามมหาสมุทรอินเดียโดยตรงจากเกาะชวาถึงเกาะมาดากัสการ์ มีแนวโน้มว่าพวกเขาเดินทางผ่านมัลดีฟส์ที่หลักฐานแบบแปลนเรืออินโดนีเซียเก่าและเทคโนโลยีการประมงยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน[13][9]: 32 

การแบ่งชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก[แก้]

นักภูมิศาสตร์ในอดีตแบ่งพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาออกเป็นหลายภูมิภาคตามผู้อยู่อาศัยในแต่ละบริเวณ ข้อมูลอาหรับและจีนระบุถึงพื้นที่ทั่วไปที่ตั้งอยู่ทางใต้ของสามภูมิภาค ได้แก่ มิศร์ (อียิปต์), อัลฮะบะชะฮ์ (อะบิสซีเนีย) และบาร์บารา (โซมาเลีย) เป็น Zanj[14]

ซันจญ์ตั้งอยู่ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้และเป็นบริเวณที่มีกลุ่มชน Zanj ที่พูดภาษาบันตูอาศัยอยู่[3][14][15] พื้นที่หลักในการครอบครองของ Zanj ทอดยาวมาจากดินแดนทางใต้ของ Ras Kamboni ในปัจจุบัน[16]จนถึงเกาะเพมบาในแทนซาเนีย ทางใต้ของเพมบาคือที่ตั้งของซูฟาลาในบริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศโมซัมบิก บริเวณที่ห่างไกลจากซูฟาลาคือดินแดนซ่อนเร้นวากวากที่อยู่ในโมซัมบิกเช่นกัน[17][18] อัลมัสอูดี นักประวัติศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 10 กล่าวถึงซูฟาลาเป็นขอบเขตที่ไกลที่สุดของชาว Zanj และกล่าวถึงตำแหน่งกษัตริย์ในบริเวณนั้นด้วยศัพท์ภาษาบันตูว่า Mfalme[3]

การกบฏซันจญ์[แก้]

การกบฏซันจญ์เป็นชุดการก่อกำเริบที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 869 ถึง 883 ใกล้นครบัสราในประเทศอิรักในปัจจุบัน ชาวซันจญ์หลายคนถูกนำมาเป็นทาสทหาร แต่หลายคนได้รับอิสรภาพและเลือกที่จะอยู่ในอิรักในฐานะคนเสรีและทำให้อิรักเป็นบ้านของตนเองร่วมกับชาวอาหรับที่ลุ่ม[19]

M. A. Shaban อธิบายว่าการกบฏซันจญ์ไม่ใช่การก่อกบฏทาส แต่เป็นการก่อกบฏชาวอาหรับที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้อพยพชาวแอฟริกาตะวันออกในอิรัก[20]

อ้างอิง[แก้]

  1. El-Azhari, Taef (2016). Zengi and the Muslim Response to the Crusades: The Politics of Jihad. Routledge. p. 20. ISBN 978-1317589396. สืบค้นเมื่อ 3 January 2017.
  2. Ḵẖān, M. S. (1981). "Al-Masʿūdī and the Geography of India". Zeitschrift der Deutschen Morgenländischen Gesellschaft. 131 (1): 119–136 [p. 130]. JSTOR 43376756.
  3. 3.0 3.1 3.2 Bagley, F. R. C.; และคณะ (1997). The Last Great Muslim Empires. Brill. p. 174. ISBN 1-55876-112-8.
  4. AlSayyad, Nezar (2001). Hybrid Urbanism: On the Identity Discourse and the Built Environment. Greenwood. p. 39. ISBN 0-275-96612-7.
  5. Pollard, E.; Fleisher, J.; Wynne-Jones, S. (2012). "Beyond the Stone Town: Maritime Architecture at Fourteenth–Fifteenth Century Songo Mnara, Tanzania". Journal of Maritime Archaeology. 7 (1): 43–62. Bibcode:2012JMarA...7...43P. doi:10.1007/s11457-012-9094-9. S2CID 162935843.
  6. Oliver, Roland (1975). Africa in the Iron Age: c.500 BC–1400 AD. Cambridge University Press. p. 192. ISBN 0-521-20598-0.
  7. Bagley, F. R. C.; และคณะ (1997). The Last Great Muslim Empires. Brill. p. 174. ISBN 1-55876-112-8.
  8. Raunig, Walter (2005). Afrikas Horn: Akten der Ersten Internationalen Littmann-Konferenz 2. bis 5. Mai 2002 in München. Otto Harrassowitz Verlag. p. 130. ISBN 3-447-05175-2. ancient Arabic geography had quite a fixed pattern in listing the countries from the Red Sea to the Indian Ocean: These are al-Misr (Egypt)—al-Muqurra (or other designations for Nubian kingdoms)—Zanj (Azania, i.e. the country of the "blacks"). Correspondingly almost all these terms (or as I believe: all of them!) also appear in ancient and medieval Chinese geography.
  9. 9.0 9.1 Dick-Read, Robert (July 2006). "Indonesia and Africa: questioning the origins of some of Africa's most famous icons". The Journal for Transdisciplinary Research in Southern Africa. 2: 23–45. doi:10.4102/td.v2i1.307.
  10. Zoetmulder, P. J. (1982). Old Javanese-English dictionary. The Hague: Martinus Nijhoff. ISBN 9024761786.
  11. Dewar RE, Wright HT (1993). "The culture history of Madagascar". Journal of World Prehistory. 7 (4): 417–466. doi:10.1007/BF00997802. hdl:2027.42/45256. S2CID 21753825.
  12. Burney DA, Burney LP, Godfrey LR, Jungers WL, Goodman SM, Wright HT, Jull AJ (August 2004). "A chronology for late prehistoric Madagascar". Journal of Human Evolution. 47 (1–2): 25–63. doi:10.1016/j.jhevol.2004.05.005. PMID 15288523.
  13. P. Y. Manguin. Pre-modern Southeast Asian Shipping in the Indian Ocean: The Maldive Connection. 'New Directions in Maritime History Conference' Fremantle. December 1993.
  14. 14.0 14.1 Raunig, Walter (2005). Afrikas Horn: Akten der Ersten Internationalen Littmann-Konferenz 2. bis 5. Mai 2002 in München. Otto Harrassowitz Verlag. p. 130. ISBN 3-447-05175-2. ancient Arabic geography had quite a fixed pattern in listing the countries from the Red Sea to the Indian Ocean: These are al-Misr (Egypt)—al-Muqurra (or other designations for Nubian kingdoms)—Zanj (Azania, i.e. the country of the "blacks"). Correspondingly almost all these terms (or as I believe: all of them!) also appear in ancient and medieval Chinese geography.
  15. Ogot, Bethwell A. (1974). Zamani: A Survey of East African History. East African Publishing House. p. 104.
  16. Insoll, Timothy (2003). The Archaeology of Islam in Sub-Saharan Africa. Cambridge University Press. p. 61. ISBN 0-521-65171-9.
  17. Chittick, Neville (1968). "The Coast Before the Arrival of the Portuguese". ใน Ogot, B. A.; Kieran, J. A. (บ.ก.). Zamani: A Survey of East African History. pp. 100–118.
  18. Goodwin, Stefan (2006). Africa's Legacies of Urbanization: Unfolding Saga of a Continent. Lexington Books. p. 301. ISBN 0-7391-0731-3.
  19. Islam, From Arab To Islamic Empire: The Early Abbasid Era[usurped]
  20. Shaban, M. A. (30 November 1978). Islamic History: Volume 2, AD 750-1055 (AH 132-448): A New Interpretation. Cambridge University Press. ISBN 9780521294539 – โดยทาง Google Books.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]