ถนนวิภาวดีรังสิต
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 | |
---|---|
ถนนวิภาวดีรังสิต | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 23.510 กิโลเมตร (14.608 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2509–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศใต้ | ถ.ดินแดง ในเขตพญาไท กรุงเทพฯ |
ปลายทางทิศเหนือ | ถ.พหลโยธิน ใน อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
ถนนวิภาวดีรังสิต (อักษรโรมัน: Thanon Vibhavadi Rangsit) ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 สายดินแดง–ดอนเมือง เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานในภาคกลาง เชื่อมต่อถนนในกรุงเทพมหานครกับถนนพหลโยธินสู่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถนนสายนี้แบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางหลักและทางขนาน ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นทางหลักและทางขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยท่าอากาศยานดอนเมืองและทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนประเภทยกระดับเก็บค่าผ่านทางอยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการเดินทางมากกว่าเดิม
ประวัติ
[แก้]ถนนวิภาวดีรังสิตเปิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2509[1] เป็นถนนในโครงการพัฒนาถนนร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐ ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับถนนมิตรภาพ
ชื่อถนน
[แก้]ถนนวิภาวดีรังสิตตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต) พระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง โดยพระองค์เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตที่ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอยู่ จนกระทั่งเฮลิคอปเตอร์ที่นั่งถูกผู้ก่อการร้ายระดมยิงจนสิ้นชีพตักษัยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และรัฐบาลได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามมาเป็นชื่อถนนซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ซึ่งเดิมคนทั่วไปมักเรียกว่า "ถนนซูเปอร์ไฮเวย์"[2][3][4]
ถนนวิภาวดีรังสิตช่วงตั้งแต่แยกใต้ด่วนดินแดงถึงคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตพญาไทกับเขตดินแดง และถนนวิภาวดีรังสิตช่วงตั้งแต่ถนนแจ้งวัฒนะถึงท่าอากาศยานดอนเมืองเดิมเป็นถนนท้องถิ่นมีชื่อว่า "ถนนศรีรับสุข"[5]
เส้นทาง
[แก้]เริ่มต้นตั้งแต่แยกใต้ด่วนดินแดง (จุดบรรจบถนนดินแดงและเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วน 1 สายดินแดง-ท่าเรือ) ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตดินแดงกับเขตพญาไท ตัดกับถนนสุทธิสารที่ทางแยกสุทธิสาร ข้ามคลองบางซื่อเข้าสู่เขตจตุจักร ตัดกับถนนพหลโยธิน (ทางแยกลาดพร้าว โดยมีถนนลาดพร้าวมาบรรจบเป็นแยกที่ห้า) แล้วไปตัดกับถนนงามวงศ์วานหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (ทางแยกบางเขน) ก่อนเข้าสู่เขตหลักสี่ ตัดกับถนนแจ้งวัฒนะหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เข้าเขตดอนเมือง และออกจากเขตกรุงเทพมหานครไปสิ้นสุดโดยการไปบรรจบกับถนนพหลโยธินอีกครั้งที่ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ในพื้นที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทางทั้งหมด 23.510 กิโลเมตร
ถนนวิภาวดีรังสิตมีวิธีการนับเลขหลักกิโลเมตรต่างจากถนนสายอื่น ๆ คือ ถือจุดสิ้นสุด (จุดบรรจบถนนพหลโยธิน) เป็นที่ตั้ง โดยเริ่มต้นจากกิโลเมตรที่ 28+500 ตามหลักกิโลเมตรของถนนพหลโยธินที่ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี แล้วจึงนับย้อนไปทางทิศใต้ จนสิ้นสุดที่ทางแยกใต้ด่วนดินแดง เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร แต่ถนนสายนี้มีระยะทางเพียง 23.510 กิโลเมตร จึงทำให้จุดเริ่มต้นของถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกใต้ด่วนดินแดงนั้นเป็นกิโลเมตรที่ 4+990 ซึ่งตามความจริงแล้วควรจะเป็นกิโลเมตรที่ 0
ทางแยกที่สำคัญ
[แก้]จังหวัด | อำเภอ/เขต | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา |
---|---|---|---|---|---|
ดินแดง−อนุสรณ์สถาน | |||||
กรุงเทพมหานคร | พญาไท | 4+990 | แยกใต้ด่วนดินแดง | เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากบางนา, ดาวคะนอง | |
ถนนดินแดง ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ถนนดินแดง ไปประชาสงเคราะห์, พระราม 9 | ||||
แยกสุทธิสาร | ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไปสะพานควาย | ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไปแยกรัชดา-สุทธิสาร | |||
จตุจักร | 10+828 | แยกลาดพร้าว | ไม่มี | ถนนลาดพร้าว ไปแยกรัชดา-ลาดพร้าว, บางกะปิ | |
ถนนพหลโยธิน ไปสวนจตุจักร, สะพานควาย | ถนนพหลโยธิน ไปแยกรัชโยธิน | ||||
ทางแยกต่างระดับรัชวิภา | ถนนรัชดาภิเษก ไปวงศ์สว่าง, สะพานพระราม 7 ถนนกำแพงเพชร 2 ไปหมอชิตใหม่ |
ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกรัชโยธิน | |||
14+700 | แยกบางเขน | ถนนงามวงศ์วาน ไปพงษ์เพชร, แคราย | ถนนงามวงศ์วาน ไปมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
หลักสี่ | 19.312 | แยกหลักสี่ | ถนนแจ้งวัฒนะ ไปปากเกร็ด | ถนนแจ้งวัฒนะ ไปอนุสาวรีย์หลักสี่, รามอินทรา, มีนบุรี | |
ดอนเมือง | ฐานทัพอากาศดอนเมือง | ไม่มี | ถนนธูปะเตมีย์ ไปฐานทัพอากาศดอนเมือง, ถนนพหลโยธิน | ||
ปทุมธานี | ลำลูกกา | 28.500 | ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถาน | ไม่มี | ถนนพหลโยธิน ไปสะพานใหม่ |
ตรงไป: ถนนพหลโยธิน ไปรังสิต, นวนคร | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สถานที่สำคัญ
[แก้]โรงเรียนและสถาบันการศึกษา
[แก้]- วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ
- โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- โรงเรียนรักษาดินแดน ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร
- มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
- โรงเรียนหอวัง
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาล
[แก้]- โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
- โรงพยาบาลวิภาวดี
- สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
สถานที่ราชการ
[แก้]- กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- สนามกีฬากองทัพบก
- สโมสรกองทัพบก
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
- สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที 2 เอชดี
- วัดดอนเมือง
- ฐานทัพอากาศดอนเมือง
- อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
- วัดเสมียนนารี
- วัดหลักสี่
- สโมสรตำรวจ
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
[แก้]- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
- สถานีรถไฟบางเขน
- สถานีรถไฟหลักสี่
- สถานีรถไฟดอนเมือง
- ท่าอากาศยานดอนเมือง
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
หน่วยงานเอกชน
[แก้]- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (อาคารอีสท์วอเตอร์)
- อาคารวอยซ์ทีวี
- อาคารหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- อาคารซันทาวเวอร์ส
- อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3
- นอร์ธ ปาร์ค
- อาคารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
- โรงแรม รามา การ์เดนส์
- โรงแรม มิราเคิล แกรนด์
- โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]เหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสที่กำลังเดินทางบนถนนวิภาวดีรังสิต ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 23 ราย ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนจำนวน 20 ราย และครูอีก 3 ราย รวมถึงมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 4 ราย [6] [7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นิตยสาร เสรีภาพ ฉบับที่ 129 ปี พ.ศ. 2509
- ↑ รำลึก 35 ปี วันสิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เดลินิวส์
- ↑ ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต BlogGang.com
- ↑ นวลจันทร์ รัตนากร ชุติมา สัจจานันท์ มารศรี ศิวรักษ์. ว. ณ ประมวญมารค พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2520.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
- ↑ "ด่วน! ไฟไหม้รถบัสนักเรียนนำเที่ยวเจ็บ-ตายนับ 10 คน". ไทยพีบีเอส. 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". ไทยรัฐ. 2024-10-01.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง เก็บถาวร 2016-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน