นงเยาว์ ชัยเสรี
นงเยาว์ ชัยเสรี | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | ฉัตรชัย เอียสกุล |
ถัดไป | นาวาโท เดชา สุขารมณ์ |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 | |
ก่อนหน้า | ศ.ประภาศน์ อวยชัย |
ถัดไป | ศ.ดร.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2477 |
เสียชีวิต | 2 มกราคม พ.ศ. 2567 (89 ปี) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
คู่สมรส | ศาสตราจารย์กิตติคุณ อรุณ ชัยเสรี |
ศาสตราจารย์[1] คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี (9 ตุลาคม พ.ศ. 2477 – 2 มกราคม พ.ศ. 2567) เป็นอาจารย์และนักการเมืองชาวไทย อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติ
[แก้]นงเยาว์ ชัยเสรี เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2477 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์ (เกียรตินิยมดีมาก) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ อรุณ ชัยเสรี มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สิรี ชัยเสรี รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ปิยวัชร ชัยเสรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด[3]
การทำงาน
[แก้]คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เริ่มรับราชการในตำแหน่ง เศรษฐกรโท สังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมาได้โอนมาสังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ในตำแหน่งอาจารย์ และได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งฝ่ายบริหารหลายตำแหน่ง อาทิ หัวหน้าภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์ฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นจึงลาออกเพื่อรับตำแหน่ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2543
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[แก้]คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย 2 ครั้ง ในช่วงต่อเนื่องจากศาสตราจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และต่อเนื่องจากศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ในปี พ.ศ. 2525 ต่อจากนั้นได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในขณะที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดตั้งคณะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ตลอดจนยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการขยายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติอีกด้วย[4]
งานการเมือง
[แก้]นงเยาว์ ชัยเสรี ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540[5]
บั้นปลายชีวิต
[แก้]ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ เสียชีวิตอย่างสงบที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่ท่านก่อตั้งขึ้น สิริอายุ 89 ปี
สถานที่อันเนื่องจากนาม
[แก้]- ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี ชั้น 7 อาคารปิยชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[8]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (จำนวน ๑๐ ราย)ราชกิจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษที่ 43 ง วันี่ 8 พฤษภาคม 2543
- ↑ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด
- ↑ ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ได้รับเข็มเกียรติยศประจำปี 2543 เก็บถาวร 2006-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข่าวประชาสัมพันธ์ มธ. 29 มีนาคม 2543
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๓, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๔๑๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๒๕
ก่อนหน้า | นงเยาว์ ชัยเสรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ฉัตรชัย เอียสกุล | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (24 ตุลาคม - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) |
นาวาโท เดชา สุขารมณ์ | ||
ศาสตราจารย์ ประภาศน์ อวยชัย | อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531) |
ศาสตราจารย์ ดร.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2477
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567
- ศาสตราจารย์
- คุณหญิง
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยไทย
- กรรมการการตรวจเงินแผ่นดินไทย
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา