นินจาคิด
นินจาคิด | |
---|---|
ภาพปกเวอร์ชันอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | โทเซะ |
ผู้จัดจำหน่าย | บันได |
เครื่องเล่น | นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม |
วางจำหน่าย |
|
แนว | แพลตฟอร์ม/แอ็กชัน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
นินจาคิด (อังกฤษ: Ninja Kid) หรือที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่นในชื่อ เกเกเกะ โนะ คิตาโร - โยไก ไดมาเกียว (ญี่ปุ่น: ゲゲゲの
เวอร์ชันญี่ปุ่นอิงมาจากมังงะซีรีส์อสูรน้อยคิทาโร่ แต่เกมดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็น "นินจาคิด" โดยทั่วไป และการอ้างอิงถึงคิทาโร่ทั้งหมดถูกเอาออกสำหรับเวอร์ชันอเมริกาเนื่องจากเนื้อหาต้นฉบับไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่น[4]
เกมนี้ตามมาด้วยภาคต่อชื่อเกเกเกะ โนะ คิตาโร 2: โยไก กุนดัง โนะ โชเซ็ง ซึ่งวางจำหน่ายในปีถัดมาเฉพาะในญี่ปุ่นโดยบริษัทบันไดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เกมดังกล่าวเป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทและโครงเรื่องของเกมไม่เกี่ยวข้องกับต้นฉบับ
อนึ่ง เกมนี้เป็นเกมแฟมิคอมที่ขายดีที่สุดอันดับแปดใน ค.ศ. 1986 โดยขายได้ 1,250,000 ชุด[1]
รูปแบบการเล่น
[แก้]รูปแบบการเล่นเริ่มต้นบนแผนที่มุมมองเหนือศีรษะที่มีซุ้มประตูต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ละซุ้มประตูจะนำไปสู่ภารกิจเลื่อนฉากด้านข้างที่แตกต่างกัน และประเภทของภารกิจสามารถกำหนดได้จากรูปร่างของซุ้มประตู ซึ่งในตอนท้ายของแต่ละภารกิจ ประตูสองบานจะปรากฏขึ้น โดยประตูหนึ่งจะพากลับไปยังแผนที่ และอีกประตูจะพาผู้เล่นไปยังหอคอยเลื่อนฉากแนวตั้งโดยมีมินิบอสอยู่ด้านบน (หลังจากเอาชนะมินิบอสได้แล้ว จะกลับสู่แผนที่) นอกจากนี้ ในแต่ละภารกิจ ไอเทมต่าง ๆ จะสุ่มปรากฏบนหน้าจอ ไอเทมโบนัสบางรายการยังช่วยเพิ่มความเร็วชั่วคราว หรือนกฮูกที่แสดงให้ผู้เล่นเห็นว่าประตูใดที่นำกลับไปยังแผนที่ (แทนที่จะเป็นหอคอยมินิบอส) เมื่อรวบรวมม้วนหนังสือได้แล้ว จะสามารถนำไปที่กระท่อมตรงกลางแผนที่เพื่อปลดล็อกป้อมปราการและต่อสู้กับบอสของแผนที่ ในระหว่างการต่อสู้กับบอส หากมีการรวบรวมนกหวีดไว้ ตัวละครสามารถหมอบอยู่ที่มุมซ้ายสุดของหน้าจอเพื่อใช้นกหวีดเรียกภูตรับใช้
นินจาคิด / เกเกเกะ โนะ คิตาโร - โยไก ไดมาเกียว
[แก้]เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมแตกต่างจากเวอร์ชันอเมริกาอย่างเห็นได้ชัด ตัวละครหลักคือคิทาโร่ และอาวุธหลักของเขาคือผมแทนที่จะเป็นลูกดอก ส่วนอาวุธรองของเขาคือดัชนีเหินหาวแทนดาวกระจาย, เสื้อกั๊กของเขาแทนขนนก และเกี๊ยะแทนบูมเมอแรง อาวุธทั้งหมดนี้ทำหน้าที่เหมือนกับอาวุธของเคียว ผู้เป็นตัวเอกเวอร์ชันอเมริกัน ซึ่งพวกเขาแค่ใช้สไปรต์ที่แตกต่างกัน อาวุธเสริมลูกไฟยังคงเหมือนเดิม บางด่านเป็นที่อยู่อาศัยของอสุรกายในภาพยนตร์ "ตะวันตก" เช่น อสุรกายของแฟรงเกนสไตน์ และเคานต์แดรกคูลา ซึ่งหัวหน้าของด่านเหล่านี้คือตัวละครแบ็กเบียร์ด ที่เป็นผู้นำของ "โยไกตะวันตก" ส่วนม้วนหนังสือที่ใช้ปลดล็อกป้อมปราการนั้นเป็นลูกบอลคริสตัลในเวอร์ชันดั้งเดิม นอกจากนี้ บรรดาภูตรับใช้ก็แตกต่างกันเช่นกัน โดยเป็นตัวละครจากมังงะ เพกาซัสเดิมคือปีศาจกำแพง, นกอินทรีคือทารกเฒ่าขี้แง และกระจกคือยายเฒ่าแม่มดทราย ท้ายที่สุดแล้ว ศัตรูตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ บางตัวก็แตกต่างออกไป ส่วนที่โดดเด่นที่สุดคือ "นินจาโจรสลัด" ที่พบในด่านสงครามกองโจรบางด่าน ซึ่งเดิมคือปีศาจหนู และคิทาโร่ขี่ปีศาจผ้าขาวระหว่างด่านยุทธเวหา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "GEIMIN.NET/
国内 歴代 ミリオン出荷 タイトル一覧 ". GEIMIN.NET. สืบค้นเมื่อ August 22, 2017. - ↑ "The complete NES game pack directory". Nintendo Power. Nintendo of America. March 1989. p. A-4.
- ↑ MobyGames.com
- ↑ Altice, Nathan (May 2015). I Am Error: The Nintendo Family Computer / Entertainment System Platform. Platform Studies. p. 113. ISBN 9780262028776.