ผู้สำเร็จราชการแคนาดา
ผู้สำเร็จราชการแห่งแคนาดา
Governor-general of Canada Gouverneur général du Canada | |
---|---|
ตราประจำตำแหน่ง | |
ธงประจำตำแหน่ง | |
อุปราช | |
การเรียกขาน | ฯพณฯ เดอะไรต์ออนะระเบิล |
จวน | ริโดฮอลล์, ออตตาวา ลาซิตาเดล, ควิเบก |
ผู้เสนอชื่อ | นายกรัฐมนตรี |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ |
วาระ | ตามพระราชอัธยาศัย |
สถาปนา | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 |
คนแรก | ชาลส์ มอนค์ ไวเคานต์ที่ 4 แห่งมอนค์ |
เงินตอบแทน | 288,900 ดอลลาร์แคนาดา |
เว็บไซต์ | www.gg.ca |
ผู้สำเร็จราชการแคนาดา (อังกฤษ: Governor General of Canada; ฝรั่งเศส: Gouverneure générale du Canada[n 1]) คืออุปราชแห่งสหพันธ์รัฐแคนาดา ผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์แคนาดาพระองค์ปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากแคนาดามีประมุขแห่งรัฐร่วมกับประเทศเครือจักรภพอีก 15 ประเทศ ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรผู้ทรงมีถิ่นพำนักหลักอยู่ในสหราชอาณาจักร ดังนั้นพระมหากษัตริย์แคนาดาจึงทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดา[1] ขึ้นมารับผิดชอบพระราชกรณียกิจตามรัฐธรรมนูญและพระราชกรณียกิจเชิงพิธีการส่วนมากแทนพระองค์ โดยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไม่ได้จำกัดไว้อย่างชัดเจนหรือเรียกได้ว่าเป็นระยะเวลา ตามแต่พระราชอัธยาศัย (at Her Majesty's pleasure) ซึ่งตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งมักจะมีวาระอยู่ประมาณ 5 ปี นอกจากนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา ผู้ดำรงตำแหน่งจะสลับสับเปลี่ยนกันไปมาระหว่างชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) และชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) ซึ่งผู้สำเร็จราชการสามารถติดต่อกับองค์พระประมุขได้โดยตรงไม่ว่าจะประทับอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม[2]
ตำแหน่งนี้มีที่มาสืบย้อนกลับไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ตั้งแต่การปกครองแบบอาณานิคมสมัยนิวฟรานซ์และอเมริกาเหนือของอังกฤษ (บริติชนอร์ทอเมริกา) ทำให้ตำแหน่งนี้เป็นสถาบันที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดในแคนาดา[3] โดยที่รูปแบบในปัจจุบันของตำแหน่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติอเมริกาเหนือของอังกฤษ (British North America Act) และการก่อตั้งสมาพันธรัฐแคนาดา (Canadian Confederation) ในปี ค.ศ. 1867 ซึ่งได้นิยามตำแหน่งผู้แทนพระองค์นี้ไว้ว่าเป็น "ผู้สำเร็จราชการโดยคำแนะนำของสภาองคมนตรี"[4] อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนี้ก็ยังถือว่าเป็นผู้แทนของรัฐบาลสหราชอาณาจักรผ่านกลไกตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า คิงอินเคาน์ซิล หรือ ควีนอินเคาน์ซิล ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสตรี (King-in-Council; Queen-in-Council) เรื่อยไปจนกระทั่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรเริ่มลดบทบาทในการปกครองแคนาดาลงและมีการออกพระราชบัญญัติเวสต์มินสเตอร์ในปี ค.ศ. 1931[5][6] ที่กำหนดให้ผู้สำเร็จราชการคือผู้แทนส่วนพระองค์ทางตรงของพระมหากษัตริย์แคนาดา หรือ เดอะมอนาร์กอินฮีสคะเนเดียนเคาน์ซิล (the monarch in his Canadian council)[7][8] ในช่วงที่แคนาดาเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเองนี้ บทบาทหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ในปี ค.ศ. 1904 มีการออกพระราชบัญญัติทหาร (Militia Act) ซึ่งให้อำนาจผู้สำเร็จราชการใช้ยศทางทหารเป็น ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพแคนาดา[9] ในพระนามาภิไธยของพระประมุขผู้ทรงเป็นผู้บัญชาการสูงสุดโดยแท้จริง[10] ต่อมาในปี ค.ศ. 1927 ผู้สำเร็จราชการจึงเริ่มปฏิบัติหน้าที่เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก[11][12] และในปี ค.ศ. 1947 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ออกพระราชสาส์นตราตั้งอนุญาตให้ผู้สำเร็จราชการเป็นผู้ใช้พระราชอำนาจส่วนมากของพระองค์ได้ นอกจากนี้พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1982 ยังกำหนดไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายนิติบัญญัติใด ๆ ที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (the Crown) รวมถึงสำนักผู้สำเร็จราชการ จำเป็นต้องได้รับมติเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากทั้งฝ่ายนิติบัญญัติท้องถิ่นของแต่ละรัฐและจากรัฐสภาแคนาดา
ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันคือ แมรี่ ไซมอน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 และเข้าสาบานตนเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก จูลี พาแย็ต ที่ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2021
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ หากผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นเพศชาย ชื่อเรียกในภาษาฝรั่งเศสคือ Gouverneur général du Canada
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Royal Household. "The Queen and the Commonwealth > Queen and Canada > The Queen's role in Canada". Queen's Printer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
- ↑ The Royal Household. "Queen and Canada: The role of the Governor-General". Queen's Printer. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
- ↑ MacLeod, Kevin S. (2008). A Crown of Maples (PDF) (1 ed.). Ottawa: Queen's Printer for Canada. p. 34. ISBN 978-0-662-46012-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 March 2009.
- ↑ Victoria (1867), Constitution Act, 1867, III.13, Westminster: Queen's Printer (ตีพิมพ์ 29 March 1867), สืบค้นเมื่อ 15 January 2009
- ↑ MacLeod 2008, pp. 34–35
- ↑ Public Works and Government Services Canada. "Parliament Hill > The History of Parliament Hill > East Block > Office of the Governor General". Queen's Printer for Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
- ↑ MacLeod 2008, p. 35
- ↑ Department of Canadian Heritage (2008). Canada: Symbols of Canada. Ottawa: Queen's Printer for Canada. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2015.
- ↑ Office of the Governor General of Canada. "Commander in Chief". Queen's Printer for Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2007. สืบค้นเมื่อ 5 November 2007.
- ↑ Victoria 1867, III.15
- ↑ Hubbard, R.H. (1977). Rideau Hall. Montreal and London: McGill-Queen's University Press. p. 166. ISBN 978-0-7735-0310-6.
- ↑ Office of the Governor General of Canada. "Governor General > Former Governors General > The Marquess of Willingdon". Queen's Printer for Canada. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
เนื้อหาเพิ่มเติม
[แก้]- Coucill, Irma (2005). Canada's Prime Ministers, Governors General and Fathers of Confederation. Pembroke Publishers. ISBN 1-55138-185-0.