(Translated by https://www.hiragana.jp/)
ภาษาคริมชาก - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาคริมชาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาคริมชาก
кърымчах тыльы
ประเทศที่มีการพูดไครเมีย, อิสราเอล, ตุรกี
ชาติพันธุ์ชาวคริมชาก 1,800 คน (2007)[1]
จำนวนผู้พูด200 คน  (2007)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก, อักษรละติน, อักษรฮีบรู
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศยูเครน ยูเครน[2]
รหัสภาษา
ISO 639-3jct
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a

ภาษาคริมชาก (кърымчах тыльы, Qrımçah tılyı) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ใช้พูดในไครเมียโดยชาวคริมชาก บางครั้งจัดเป็นสำเนียงของภาษาตาตาร์ไครเมียเรียกภาษาตาตาร์ไครเมียของชาวยิว

ภาษานี้มีคำยืมจากภาษาฮีบรูมาก ก่อนยุคสหภาพโซเวียต เคยเขียนด้วยอักษรฮีบรู จนถึงยุคของสหภาพโซเวียตเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1930 จึงเปลี่ยนมาเขียนมาเขียนด้วยอักษรละติน แบบที่ใช้เขียนภาษาตุรกี ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรซีริลลิก

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษานี้ได้หายไปและถูกแทนที่ด้วยภาษารัสเซีย โดยประชากรประมาณ 70% หายสาบสูญจากฮอโลคอสต์[3] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 ชาวตาตาร์ไครเมียเกือบทั้งหมดถูกอพยพไปอุซเบกิสถาน ทำให้มีผู้พูดภาษานี้ในอุซเบกิสถานด้วย

ปัจจุบัน ภาษานี้อยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ โดยข้อมูลจากสำมะโนยูเครนประจำปี 2001 บันทึกว่ามีชาวคริมชากในไครเมีย 785 คน โดยมีประมาณการว่ามีชาวคริมชากประมาณ 1,500-2,000 คนทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในอิสราเอล, ไครเมีย, รัสเซีย และสหรัฐ มีผู้พูดภาษาแม่เพียง 5-7 คน

คำศัพท์

[แก้]

ภาษาคริมชากยืมคำจากภาษาฮีบรูมากถึง 5%[4] งานวิจัยหนึ่งระบุว่าข้อความคริมชากมีคำยืมจากโอคุซและคิปชาก ตัวบทในยุคหลังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของภาษารัสเซียอย่างสูง ในขณะที่ตัวบทยุคก่อนมีคำยืมจากภาษาอาหรับและเปอร์เซียจำนวนมาก[5]

คริมชาก ตุรกี ไทย
kılıç kılıç ดาบ
arıslan arslan สิงโต
yaka yaka ปลอกคอ
yulduz yıldız ดาว
yaş yaş อายุ
yol yol ถนน
kalkan kalkan โล่
yanhı yeni ใหม่
yel yel ลม
tülkü tilki สุนัขจิ้งจอก
sıçan sıçan หนู
i̇mırtha yumurta ไข่
taş taş หิน
altın altın ทอง
tengiz deniz ทะเล
kumuş gümüş เงิน
ögüz öküz โค
koy koyun แกะ
suv su น้ำ
at at ม้า
agaç ağaç ต้นไม้
yeşil yeşil เขียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ภาษาคริมชาก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "To which languages does the Charter apply?". European Charter for Regional or Minority Languages. Council of Europe. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  3. Green, Warren (1984). "The Fate of the Crimean Jewish Communities: Ashkenazim, Krimchaks and Karaites". Jewish Social Studies. 46 (2): 169–176. ISSN 0021-6704.
  4. Khazanov, Anatoly (1989). The Krymchaks: A Vanishing Group in the Soviet Union. Jerusalem: Hebrew University of Jerusalem. pp. 3–4.
  5. Polinsky, Maria (1991). "The Krymchaks: History and Texts". Ural-Altaic Yearbook. 63: 123–154.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]