(Translated by https://www.hiragana.jp/)
มณี พยอมยงค์ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

มณี พยอมยงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณี พยอมยงค์

เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2473
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต20 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (79 ปี)
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
นามปากกามณี พยอมยงค์
อาชีพนักเขียน กวี
สัญชาติไทย
คู่สมรสบุญยิ่ง พยอมยงค์ (สุขุมินท)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ (2 มีนาคม พ.ศ. 2473 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552) ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2549 สาขาวรรณศิลป์

ประวัติ

[แก้]

อาจารย์มณีเป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด เกิดที่บ้านขี้เหล็กน้อย ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับอาจารย์บุญยิ่ง พยอมยงค์ หลังจากเกษียณอายุราชการ อาจารย์มณีพำนักอยู่ที่บ้านพักที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยประสบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการมองเห็น อาจารย์มณีได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลาประมาณ 03.00 น. ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือด

การศึกษา

[แก้]

อาจารย์มณีสำเร็จการศึกษาในทางธรรมโดย เป็นนักธรรมเอก ปธ.6 จากนั้นสำเร็จการศึกษาในทางโลก ศึกษาศาสตร์บัณฑิต จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ การศึกษามหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตามลำดับ

การทำงาน

[แก้]

อาจารย์มณีเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยตำแหน่งทางวิชาการก่อนเกษียณอายุราชการ คือ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาส่งเสริมการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในระหว่างที่อาจารย์มณีเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์เป็นผู้มีความรอบรู้ในล้านนาคดีอย่างมาก กระบวนวิชาที่อาจารย์สอนล้วนเกี่ยวข้องกับล้านนาคดี อาทิ วิชาวัฒนธรมพื้นบ้าน วิชาล้านนาคดี วิชาสิ่งแวดล้อมล้านนา เป็นต้น นอกจากนี้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการศึกษาและสำรวจโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยพายัพ วิชาวัฒนธรรม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ ทั้งยังรับเชิญไปบรรยายพิเศษ และขับค่าวซอตามโอกาสต่าง ๆ

เกียรติคุณ

[แก้]
  • พ.ศ. 2520 โล่พัฒนาท้องถิ่น
  • พ.ศ. 2531 รางวัลนักศึกษาเก่าดีเด่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2531 รางวัลบุคคลดีเด่นวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • พ.ศ. 2531 รางวัลกวีโลก
  • พ.ศ. 2531 รางวัลพ่อตัวอย่างแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2533 รางวัลพระเกี้ยวทองคำ
  • พ.ศ. 2537 รางวัลนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2538 โล่เชิชูเกียรติชนียบุคคลทางวรรณกรรม
  • พ.ศ. 2549 รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

นอกจากนี้อาจารย์ยังได้รับเกียติมีส่วนร่วมในกิจกรรมของคณะกรรมการต่าง ๆ อาทิ อนุกรรมการวัฒนธรรมพื้นบ้านแห่งชาติ, อนุกรรมการวัฒธรรมจังหวัดเชียงใหม่, กรรมการที่ปรึกษาศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒธรรม จังหวัดเชียงใหม่, กรรมการศึกษาค้นคว้าการสร้างสะดือเมืองเชียงราย, ประธานชมรมล้านนาคดี จังหวัดเชียงใหม่, ประธานฝ่ายพิธีกรรมสร้างพระเจ้า 700 ปี ศรีเชียงใหม่, ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และ ฯลฯ

ผลงาน

[แก้]

งานกวี

[แก้]
  • นิราศจาริก (พ.ศ. 2496)
  • นิราศเวียงพร้าว (พ.ศ. 2498)
  • นิราศเชียงดาว (พ.ศ. 2498)
  • นิราศโตเกียว (พ.ศ. 2522)
  • คำทูนพระขวัญ (พ.ศ. 2526)
  • คำจารึกอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์
  • คร่าวร่ำ 700 ปี เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2539)
  • คร่าวพุทธประวัติ ฯลฯ

งานเขียน

[แก้]

งานวิจัย

[แก้]
  • มหาชาติเปรียบเทียบ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้
  • การศึกษาเชิงวิเคราะห์ โคลงอมรา
  • การศึกษาเชิงวิเคราะห์ โคลงปทุมสังกา
  • วิเคราะห์วิถีชีวิต และค่านิยมชาวล้านนา
  • วิเคราะห์ประเพณี และค่านิยมการเกษตรล้านนาไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๖, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๔, ๒๓ เมษายน ๒๕๓๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๒๑, ๗ มกราคม ๒๕๕๐