รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา | |
---|---|
ตราประจำกระทรวง | |
ธงประจำตำแหน่ง | |
กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ | |
การเรียกขาน | ท่านรัฐมนตรี |
สมาชิกของ | คณะรัฐมนตรีสหรัฐ |
รายงานต่อ | ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา |
ที่ว่าการ | วอชิงตัน ดีซี |
ผู้แต่งตั้ง | ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยคำแนะนำและยินยอมจากวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา |
วาระ | ไม่กำหนดวาระ |
ตราสารจัดตั้ง | 6 U.S.C. § 112 |
สถาปนา | 24 มกราคม 2003 |
คนแรก | ทอม ริดจ์ |
ตำแหน่งที่มาแทน | 18[1] |
รอง | รัฐมนตรีช่วยความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ |
เงินตอบแทน | Executive Schedule, level 1 |
เว็บไซต์ | www |
รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บังคับบัญชาและหัวหน้ากระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ปกป้องดูแลพลเมืองชาวอเมริกันและประเทศชาติ รัฐมนตรีฯถือเป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีสหรัฐ ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ หลังจากเกิดเหตุการณ์ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 . โดยเป็นการยุบรวมหน่วยงานย่อยหลายหน่วยงานที่มีภารกิจปกป้องมาตุภูมิมาไว้ด้วยกัน เช่น ยามฝั่งสหรัฐ, หน่วยปกป้องกลาง , กองศุลกากรและปกป้องชายแดนสหรัฐ (รวม สายตรวจประจำชายแดนด้วย), หน่วยตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐ (รวมฝ่ายสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิด้วย), เจ้าหน้าที่ซีเคร็ท เซอร์วิส และ สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ (FEMA). แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวม สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ และ สำนักข่าวกรองกลาง ด้วย[2]
วันที่ 20 มกราคม 2552 วุฒิสภาสหรัฐ ได้รับรองการแต่งตั้งนางจาเน็ต นาตาโปลิโน ตามการเสนอชื่อของประธานาธิบดี บารัก โอบามา ให้เป็นรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐคนที่ 3[3] ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552[4] นาง นาตาโปลิโน ประกาศลาออกจากตำแหน่งมีผลในเดือนสิงหาคมปี 2556 ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม ประธานาธิบดีโอบามา ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะแต่งตั้งอดีตที่ปรึกษาทั่วไปของกระทรวงกลาโหม เจห์ จอห์นสัน ให้เข้าดำรงตำแหน่ง และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม วุฒิสภาสหรัฐอเมริกาได้รับรองการแต่งตั้ง [5]
รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา คนก่อนคือ นางคริสเตนท์ นีลเซน (Kirstjen Nielsen) หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสืบต่อจาก จอห์น เอฟ. เคลลี่ ที่ไปดำรงตำแหน่งเสนาธิการทำเนียบขาว โดยประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ [6] มีการประกาศเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2017 ว่านางคริสต์เจน นีลเซ่น ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เธอได้รับการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560[7]
การรวมไว้ในลำดับสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี
[แก้]ตามประเพณี ลำดับการสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะถูกกำหนดขึ้น (หลังจากรองประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานชั่วคราวแห่งวุฒิสภา) ตามลำดับตำแหน่งของรัฐมนตรี และตามที่ได้รับมอบอำนาจตาม ประมวลกฎหมายสหรัฐอเมริกา ลักษณะ 3 มาตรา 19 ตามประเพณีนี้[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้ลงนามในคำสั่งทางบริหาร ซึ่งต่ออายุรัฐบัญญัติการรักชาติที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปี 2544 และ แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเนียบประธานาธิบดี โดยให้ รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ อยู่ในลำดับการสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากรัฐมนตรีกระทรวงทหารผ่านศึก (มาตรา 503) (ซึ่งมีการระบุและกำหนดไว้ในลำดับกระทรวงที่ก่อตั้งขึ้น) ในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ชุดที่ 109 ทางสภา ได้มีการแนะนำให้ตำแหน่งรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สืบอำนาจต่อจากอัยการสูงสุดสหรัฐ แต่ก็ไม่ได้รับการสนใจจนหมดสมัยประชุม[ต้องการอ้างอิง]
ลำดับสืบทอดตำแหน่งรัฐมนตรี
[แก้]ลำดับการสืบทอดตำแหน่ง "รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ" หากผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า ลาออก ถึงแก่อสัญกรรม ถูกถอดถอน มีดังนี้[8]
- Deputy Secretary of Homeland Security รัฐมนตรีช่วยความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
- Under Secretary of Homeland Security for National Protection and Programs ปลัดกระทรวงฯ ฝ่ายป้องกันประเทศและแผนงาน
- Under Secretary of Homeland Security for Management ปลัดกระทรวงฯ ฝ่ายการจัดการ
- Under Secretary, Office of Strategy, Policy, and Plans ปลัดกระทรวงฯ สำนักงานกลยุทธ์,นโยบายและแผน
- Under Secretary of Homeland Security for Science and Technology ปลัดกระทรวงฯ ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- General Counsel of the Department of Homeland Security ที่ปรึกษาทั่วไปประจำกระทรวง
- Administrator of the Transportation Security Administration ผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยทางคมนาคม
- Administrator of the Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการสำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
- Commissioner of U.S. Customs and Border Protection กรรมาธิการกองศุลกากรและปกป้องชายแดนสหรัฐ
- Director of U.S. Immigration and Customs Enforcement ผู้อำนวยการหน่วยตรวจคนเข้าเมืองและชายแดนสหรัฐ
- Director of U.S. Citizenship and Immigration Services ผู้อำนวยการหน่วยบริการพลเมืองและตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐ
- Chief Financial Officer อธิบดีฝ่ายการเงิน
- Regional Administrator, Region V, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 5 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
- Regional Administrator, Region VI, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 6 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
- Regional Administrator, Region VII, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 7 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
- Regional Administrator, Region IX, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 9 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
- Regional Administrator, Region I, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 1 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "3 U.S. Code § 19 - Vacancy in offices of both President and Vice President; officers eligible to act". LII / Legal Information Institute.
- ↑ Homeland Security Act, แม่แบบ:USPL
- ↑ Murray, Shailagh; Kane, Paul (January 21, 2009). "Obama Picks Confirmed, But Clinton Is on Hold". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ September 2, 2010.
- ↑ Chertoff: Inauguration security forces 'ready' - CNN.com
- ↑ "Senate confirms new homeland security secretary". bostonherald.com.
- ↑ Byrnes, Jesse (July 28, 2017). "Meet the woman set to lead Homeland Security". TheHill. สืบค้นเมื่อ August 1, 2017.
- ↑ "Senate confirms Kirstjen Nielsen to head Homeland Security". CBS News. December 5, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2017.
- ↑ "Executive Order 13442: Amending the Order of Succession in the Department of Homeland Security" (PDF). สืบค้นเมื่อ January 29, 2009.