ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (1918–1929) Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (1929–1941) Kraljevina Jugoslavija Краљевина Југославија | |
---|---|
1918–1941 | |
คำขวัญ: Jedan narod, jedan kralj, jedna država Један народ, један краљ, једна држава "หนึ่งชาติ หนึ่งกษัตริย์ หนึ่งประเทศ" | |
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1930 | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | เบลเกรด 44°48′N 20°28′E / 44.800°N 20.467°E |
ภาษาราชการ | เซอร์เบีย-โครเอเชีย-สโลวีน[a][1][2] |
ภาษาทั่วไป | |
เดมะนิม | ชาวยูโกสลาฟ |
การปกครอง |
|
พระมหากษัตริย์ | |
• 1918–1921 | เปตาร์ที่ 1 |
• 1921–1934 | อาเล็กซานดาร์ที่ 1 |
• 1934–1941 | เปตาร์ที่ 2[b] |
ผู้สำเร็จราชการ | |
• 1918–1921 | เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ |
• 1934–1941 | เจ้าชายปอล |
นายกรัฐมนตรี | |
• 1918–1919 (คนแรก) | สตอจัน ปรอติช |
• 1941 (คนสุดท้าย) | ดูซัน ซีมอวิช |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนชั่วคราว (1919–1920) รัฐสภาแห่งชาติ[c] (1920–1941) |
• สภาสูง | วุฒิสภา (since 1931) |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร (since 1931) |
ยุคประวัติศาสตร์ | ระหว่างสงคราม • สงครามโลกครั้งที่สอง |
1 ธันวาคม 1918 | |
28 มิถุนายน 1921 | |
6 มกราคม 1929 | |
3 กันยายน 1931 | |
9 ตุลาคม 1934 | |
25 สิงหาคม 1939 | |
25 มีนาคม 1941 | |
27 มีนาคม 1941 | |
6 เมษายน 1941 | |
เมษายน 1941 | |
29 พฤศจิกายน 1945 | |
พื้นที่ | |
1941[3] | 247,542 ตารางกิโลเมตร (95,577 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 1918[4] | 12,017,323 |
• 1931[5] | 13,934,000 |
สกุลเงิน |
|
|
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Kraljevina Jugoslavija / Краљевина Југославија;[8] สโลวีเนีย: Kraljevina Jugoslavija) เป็นราชอาณาจักรที่มีดินแดนครอบคลุมตั้งแต่ทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่านไปจนถึงยุโรปกลาง ดำรงอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1941 โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1929 ราชอาณาจักรเรียกตนเองอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca / Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца; สโลวีเนีย: Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev) แต่คำว่า "ยูโกสลาเวีย" (หมายถึง "ดินแดนแห่งชาวสลาฟตอนใต้") เป็นชื่อเรียกกันอย่างง่าย ๆ มาตั้งแต่ต้น[9] ชื่ออย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรได้เปลี่ยนมาเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929[9]
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1918 โดยการรวมตัวของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ (ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ครอบคลุมพื้นที่ของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และพื้นที่ส่วนใหญ่ของโครเอเชียและสโลวีเนียในปัจจุบัน) พื้นที่ทางตอนล่างของราชอาณาจักรฮังการีภายในออสเตรีย-ฮังการี พร้อมด้วยราชอาณาจักรเซอร์เบียที่เป็นราชอาณาจักรอิสระ โดยในปีเดียวกันราชอาณาจักรมอนเตเนโกร ได้ประกาศรวมตัวกันกับเซอร์เบีย ขณะที่บริเวณคอซอวอ วอยวอดีนา และวาร์ดาร์มาซิโดเนียได้เป็นส่วนหนึ่งของเซอร์เบียไปก่อนหน้านั้นแล้ว[10]
ราชอาณาจักรอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์คาราจอร์เจวิคของเซอร์เบีย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปกครองราชอาณาจักรเซอร์เบียภายใต้กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 (ภายหลังจากการรัฐประหารเดือนพฤษภาคม) กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งยูโกสลาเวียจนถึงการสวรรคตของพระองค์ในปี ค.ศ. 1921 ราชบังลังก์จึงสืบทอดต่อมายังกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ในฐานะพระราชบุตรของกษัตริย์ปีเตอร์ ซึ่งเป็นมกุฏราชกุมารและผู้สำเร็จราชการแทนพระบิดา พระองค์เป็นที่รู้จักกันในนาม "อเล็กซานเดอร์ผู้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว" และพระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นราชอาณาจักร "ยูโกสลาเวีย" ในปี ค.ศ. 1929 พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองมาร์แซย์ โดยวาโด เชอนอเซมสกี ซึ่งเป็นสมาชิกในองค์การปฏิวัติภายในมาซิโดเนียน (Internal Macedonian Revolutionary Organization; IMRO) ในระหว่างที่พระองค์ทรงเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1934 ราชมงกุฏจึงตกเป็นเจ้าชายปีเตอร์ ซึ่งเป็นพระราชบุตรของพระองค์ ซึ่งในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมมายุเพียง 11 พรรษาเท่านั้น โดยอยู่ภายใต้การปกครองของพระญาติอย่าง เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนถึงปี ค.ศ. 1941 เมื่อกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว[11] ต่อมาสมาชิกราชวงศ์ได้ลี้ภัยไปกรุงลอนดอน เนื่องจากในปีเดียวกันนั้น ได้เกิดเหตุการณ์การบุกครองยูโกสลาเวียโดยฝ่ายอักษะ
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 ประเทศตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะ กลุ่มราชวงศ์ได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นยูโกสลาเวียขึ้น โดยได้รับการยอมรับจากสหราชอาณาจักร และต่อมาโดยพันธมิตรทั้งหมดที่ก่อตั้งขึ้นในลอนดอน ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 หลังได้รับแรงกดดันจากนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล พระมหากษัตริย์จึงทรงรับรองรัฐบาลของสหพันธรัฐประชาธิปไตยยูโกสลาเวียให้เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาวิส โดย Ivan Šubašić (ในนามของราชอาณาจักร) และยอซีป บรอซ ตีโต (ในนามของพลพรรคยูโกสลาเวีย)[12]
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]ภายหลังจากจากการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย โดยชาวเซิร์บ-บอสเนีย กัฟรีโล ปรินซีป ก่อให้เกิดห่วงโซ่ของเหตุกาณ์ที่จะนำไปสู่การแพร่ระบาดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เซอร์เบียถูกรุกรานและยึดครองโดยกองกำลังผสมของบัลแกเรีย ออสเตรีย และเยอรมัน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1915 ด้วยเหตุการณ์นี้ ทำให้ชาตินิยมแห่งชาวสลาฟใต้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และการเรียกร้องของชาตินิยมชาวสลาฟ เพื่อประกาศเอกราชและรวมชาติสลาฟใต้ของออสเตรีย-ฮังการี พร้อมกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกรให้เป็นรัฐเดียวภายใต้ชื่อ "รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ"[13]
นักการเมืองชาวโครแอตจากแดลเมเชีย อานเต ตรุมบิช เป็นผู้นำสลาฟใต้ที่โดดเด่นในช่วงสงครามและเป็นผู้นำคณะกรรมการยูโกสลาเวียที่เกลี้ยกล่อมให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสนับสนุนการสถาปนายูโกสลาเวียให้เป็นอิสระ[14] ในช่วงแรกตรุมบิชต้องเผชิญกับความเกลียดชังจากนายกรัฐมนตรีเซอร์เบีย นิโคลา ปาซิช ซึ่งต้องการขยายอาณาเขตเซอร์เบียมากกว่าการรวมชาติยูโกสลาฟให้เป็นปึกแผ่น อย่างไรก็ตาม ทั้งปาซิชและตรุมบิชได้ตกลงที่จะประนีประนอมกัน ผ่านการทำปฏิญญาคอร์ฟู เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 ซึ่งสนับสนุนให้เกิดการสถาปนารัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ ที่นำโดยราชวงศ์คาราจอร์เจวิคแห่งเซอร์เบีย[14]
ในปี ค.ศ. 1916 คณะกรรมการยูโกสลาเวียได้เริ่มการเจรจากับรัฐบาลเซอร์เบียพลัดถิ่น ซึ่งพวกเขาได้ตัดสินใจที่จะสถาปนาราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย โดยการประกาศร่วมปฏิญญาคอร์ฟูในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงละครแห่งเมืองคอร์ฟู[15]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สภาแห่งชาติของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บได้ประกาศแต่งตั้งสมาชิกของคณะผู้แทนทั้งหมด 28 คน เพื่อเริ่มการเจรจากับตัวแทนของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเซอร์เบียและมอนเตเนโกรในการสถาปนารัฐยูโกสลาเวียใหม่ โดยคณะผู้แทนได้เจรจาโดยตรงกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อเล็กซานเดอร์แห่งคาราจอร์เจวิค[16] การเจรจายุติลง โดยมีคณะผู้แทนจากสภาแห่งชาติสโลวีเนีย โครแอต และเซิร์บ นำโดยอานเต ปาเวลิช เป็นผู้อ่านคำปราศรัยต่อหน้าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อเล็กซานเดอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย พระราชบิดาของพระองค์ โดยพระองค์ทรงยอมรับที่จะสถาปนาราชอาณาจักร[17]
ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการของรัฐยูโกสลาเวียคือ "ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน" (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca / Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца; สโลวีเนีย: Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev) หรือชื่อย่อแบบภาษาอังกฤษคือ "Kingdom of SCS" (Kraljevina SHS / Краљевина СХС)
ราชอาณาจักรแห่งใหม่เกิดจากการรวมราชอาณาจักรเซอร์เบียที่เป็นราชอาณาจักรอิสระ มอนเตเนโกร (โดยมอนเตเนโกรได้ประกาศรวมกับเซอร์เบียเมื่อก่อนหน้านี้แล้ว) อาณาเขตทางตอนใต้สุดของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ) และวอยวอดีนา
การสถาปนาราชอาณาจักรได้รับสนับสนุนจากชาวแพน-สลาฟ และชาตินิยมยูโกสลาเวีย สำหรับขบวนการแพน-สลาฟกับชาวสลาฟใต้ (ยูโกสลาฟ) ทั้งหมดรวมกันเป็นรัฐเดียว การสถาปนายังได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องการโค้นล่มจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนที่พึ่งก่อตั้งขึ้นได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพปารีส โดยมีตรุมบิชเป็นตัวแทนของประเทศ[14] เนื่องจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้หว่านล้อมอิตาลีให้เข้าสู่สงคราม โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะได้รับดินแดนเป็นจำนวนมากเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งได้แบ่งอาณาเขตหนึ่งในสี่ของสโลวีเนีย ออกจากส่วนที่เหลือโดยให้ไปอยู่กับราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีน ตรุมบิชประสบความสำเร็จในการรวมชาติสลาฟส่วนใหญ่ที่อยู่ในออสเตรีย-ฮังการี แต่ถึงกระนั้น ด้วยสนธิสัญญาราพัลโล[14] ทำให้ประชากรชาวสลาฟประมาณครึ่งล้าน[18] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีเนีย ถูกบังคับให้แปลงสัญชาติเป็นอิตาลี จนกระทั่งการล่มสลายของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี ในช่วงเวลาขณะนั้น เบนิโต มุสโสลินีมีความตั้งใจที่จะแก้ไขเขตแดนราพัลโลเพื่อผนวกรัฐอิสระรีเยกามาเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี ความพยายามของปาซิชในการแก้ไขพรมแดนที่โปสตอยนาและอิดริยาได้ถูกทำลายลงโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อเล็กซานเดอร์ที่ต้องการสร้าง "ความสัมพันธ์อันดี" กับอิตาลี[19]
ราชอาณาจักรแห่งชาวยูโกสลาฟมีอาณาเขตติดต่อกับอิตาลีและออสเตรียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามพรมแดนราพัลโล ติดต่อกับฮังการีและโรมาเนียทางทิศเหนือ ติดต่อกับบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกรีซและแอลเบเนียทางทิศใต้ และติดต่อกับทะเลเอเดรียติกทางทิศตะวันตก แทบจะทันทีที่ราชอาณาจักรมีข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านหลังจากก่อตั้งขึ้น อาทิ การมีข้อพิพาทในดินแดนสโลวีน เนื่องจากเคยเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรียเป็นเวลาประมาณ 400 ปี การมีข้อพิพาทกับฮังการีในวอยวอดีนา, วาร์ดาร์มาซิโดเนียกับบัลแกเรีย และรีเยกากับอิตาลี[20]
จากการลงประชามติที่จัดขึ้นในจังหวัดคารินเทีย ผลปรากฏว่าคะแนนเสียงส่วนใหญ่ยังโหวตให้อยู่ในออสเตรีย และชาวสโลวีนส่วนใหญ่ได้โหวตให้คารินเทียเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรียดังเดิม เมืองท่าของแดลเมเชียอย่างซาดาร์ และหมู่เกาะของแดลเมเชียบางส่วนถูกมอบให้กับอิตาลี เมืองรีเยกาได้รับการประกาศให้เป็นเสรีรัฐฟียูเม แต่ไม่นานก็ถูกยึดครอง และในปี ค.ศ. 1924 ก็ถูกผนวกโดยอิตาลี ซึ่งเคยได้ทำสัญญากับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่าด้วยเรื่องชายฝั่งแดลเมเชีย และดินแดนอิสเตรีย ซึ่งยูโกสลาเวียอ้างว่าเคยส่วนหนึ่งของออสเตรีย โดยถูกผนวกเข้ารวมกับอิตาลี แต่มีประชากรชาวโครแอตและชาวสโลวีนอยู่เป็นจำนวนมาก
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญวิโดฟดานในปี ค.ศ. 1921 ได้จุดประกายความตึงเครียดระหว่างเชื้อชาติยูโกสลาเวียที่แตกต่างกัน[14] แม้แต่ตรุมบิชยังต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เขาก็เริ่มเป็นศัตรูต่อรัฐบาลยูโกสลาเวีย โดยเขาเล็งเห็นว่าชาวเซิร์บเริ่มมีอำนาจเหนือยูโกสลาเวียมากขึ้นเรื่อย ๆ[14]
การเมืองช่วงต้น
[แก้]ทันทีหลังจากการประกาศจัดตั้งราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ได้มีการเจรจาระหว่างสภาแห่งชาติสโลวีน โครแอต และเซิร์บและรัฐบาลเซอร์เบีย ส่งผลทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ซึ่งนำโดย นิโคลา ปาซิช อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อตกลงนี้ถูกส่งไปเพื่อรับการอนุมัติจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อเล็กซานเดอร์ คาราจอร์เจวิค พระองค์กลับปฏิเสธข้อตกลงฉบับนี้ ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์รัฐบาลครั้งแรกของราชอาณาจักรใหม่ หลายคนมองว่าการปฏิเสธข้อตกลงนี้เป็นการละเมิดหลักการของรัฐสภา แต่เหตุการณ์นี้จบลงด้วยการที่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์เสนอให้ สโตยาน โปรติช ดำรงตำแหน่งแทนปาชิซ โดยเขาเป็นสมาชิกชั้นนำจากพรรคหัวรุนแรงของปาชิซ ซึ่งสภาแห่งชาติและรัฐบาลเซอร์เบียต่างเห็นด้วย ทำให้มีการก่อตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1918[21][22]
ในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดตั้งคณะผู้แทน โดยทำหน้าที่เป็นรัฐสภาซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยตัวแทนจากหน่วยงานที่มาจากการเลือกตั้งต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนการสถาปนาราชอาณาจักร การปรับรูปแบบพรรคการเมืองที่รวมสมาชิกฝ่ายค้านของเซอร์เบียหลายคนกับพรรคการเมืองจากอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ได้นำไปสู่การก่อตั้งพรรคใหม่ นั่นคือ "พรรคประชาธิปไตย" โดยพรรคได้ครอบงำคณะผู้แทนชั่วคราวและรัฐบาล
เนื่องจากพรรคประชาธิปไตย ซึ่งนำโดย ลูโบเมียร์ ดาวิโดวิช ได้ผลักดันให้เกิดวาระการประชุมเพื่อการรวบอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ทำให้ผู้แทนชาวโครเอเชียจำนวนหนึ่งกลายเป็นฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม พวกหัวรุนแรงเองก็ไม่พอใจที่มีรัฐมนตรีเพียงสามคนในพรรคประชาธิปัตย์ 11 คน และเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1919 โปรติชได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นดาวิโดวิชได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มประชาธิปไตยสังคมนิยม ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนเสียงเป็นส่วนใหญ่ แต่องค์ประชุมแห่งคณะผู้แทนกลับมีการลงคะแนนเสียงเพียงแค่ครึ่งเดียว ทำให้ฝ่ายค้านเริ่มกันต่อต้านรัฐสภา เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถรับประกันได้ว่าฝ่ายสนับสนุนทั้งหมดจะปรากฏตัวตอนไหน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดวาระการประชุมในรัฐสภา ในไม่นานดาวิโดวิชจึงลาออก แต่เนื่องจากไม่มีใครสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เขาจึงกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และยังคงถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านอยู่ดังเดิม รัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากตัดสินใจปกครองประเทศด้วยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งถูกประณามโดยฝ่ายค้านที่เริ่มก่อตัวเป็นรัฐสภาประชาคม (Parliamentary Community) ดาวิโดวิชเล็งเห็นว่าสถานการณ์ในตอนนี้ รัฐบาลไม่สามารถควบคุมฝ่ายค้านได้ จึงร้องขอให้องค์กษัตริย์ทรงประกาศจัดการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยทันที แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ เขาจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการลาออกจากตำแหน่ง
รัฐสภาประชาคมได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ นำโดย สโตยาน โปรติช ซึ่งมีความต้องการที่จะฟื้นฟูบรรทัดฐานของระบบรัฐสภา และบรรเทาการรวมศูนย์ของอำนาจจากรัฐบาลชุดที่แล้ว การคัดค้านโครงการปฏิรูปที่ดินอย่างสุดโต่งของรัฐบาลชุดก่อน ทำให้เกิดความสามัคคีกันระหว่างรัฐสภาและรัฐบาล แต่ละบุคคลแต่ละกลุ่มย่อยได้เปลี่ยนฝ่ายมาเข้าข้างรัฐบาล ทำให้ในช่วงเวลานี้โปรติชได้รับคะแนนเสียงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปไตยและกลุ่มประชาธิปไตยสังคมนิยมได้ต่อต้านรัฐสภาอย่างเห็นได้ชัด และโปรติชไม่สามารถรวบรวมองค์ประชุมได้ ดังนั้นรัฐสภาประชาคมซึ่งตอนนี้อยู่ฝ่ายรัฐบาล จึงต้องจำยอมปกครองประเทศโดยพระราชกฤษฎีกาต่อไป
การที่รัฐสภาประชาคมละเมิดหลักการพื้นฐานที่พวกเขาตั้งขึ้นเสียเอง ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากเป็นอย่างยิ่ง ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 ได้เกิดการลุกฮือจากกรรมกรและการประท้วงหยุดงานของคนงานรถไฟ ทำให้ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต้องร่วมมือกันยุติปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้น เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน หลังจากการเจรจากับผู้ประท้วงเป็นผลสำเร็จ โปรติชจึงได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อหลีกทางให้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ นำโดย มิเลนโก ราโดมาร์ เวสนิช จากพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมที่ไม่ได้ร่วมมือกับอดีตพันธมิตรอย่างพรรคประชาธิปไตยอีกต่อไป เนื่องจากพรรคประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลใหม่นี้
เหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันในช่วงแรก ยังคงเป็นปัญหาที่ดำเนินอยู่ต่อไป พรรคประชาธิปไตยยังคงผลักดันวาระการรวมศูนย์อำนาจ และยังคงยืนยันถึงความจำเป็นในการปฏิรูปที่ดินอย่างสุดโต่ง จากความขัดแย้งของเรื่องกฎหมายเลือกตั้ง ท้ายที่สุดพรรคประชาธิปไตยได้ลงคะแนนเสียงคัดค้านฝ่ายรัฐบาลในรัฐสภาและจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของรัฐบาล แม้ว่าการประชุมครั้งนี้จะไม่ใช่วาระองค์ประชุม แต่เวสนิชได้ใช้เป็นข้ออ้างในการลาออก การลาออกของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พรรคหัวรุนแรงตกลงที่จะยอมรับความจำเป็นในการรวมศูนย์อำนาจ และเพื่อให้พรรคประชาธิปไตยยกเลิกการคัดค้านโครงการการปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ตามเวสนิชได้กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาคมแห่งชาวโครเอเชีย (Croatian Community) และพรรคประชาชนสโลวีเนียต่อการยอมรับการรวมศูนย์อำนาจของพรรคหัวรุนแรง โปรติชจึงถอนตัวออกจากรัฐบาลเนื่องด้วยประเด็นนี้
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1920 ได้เกิดการจราจลในโครเอเชียโดยกลุ่มชาวนา เนื่องจากการเก็บภาษีจากตราผลิตภัณฑ์สินค้าจากปศุสัตว์ ประชาคมแห่งชาวโครเอเชียจึงกล่าวโทษนโยบายรวมศูนย์อำนาจของรัฐบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐมนตรีสเวโตซาร์ ปริบิเชวิช
รัฐธรรมนูญและความขัดแย้ง
[แก้]มีกฎหมายเพียงไม่กี่ฉบับเท่านั้นที่ผ่านการรับรองโดยคณะผู้แทนชั่วคราว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือกฎหมายการเลือกตั้งสำหรับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่างการเจรจาก่อนการก่อตั้งรัฐใหม่ ได้มีการตกลงกันว่าการลงคะแนนเสียงจะถูกปกปิดเป็นความลับและอยู่บนพื้นฐานของสิทธิการเลือกตั้งสากล (ซึ่งคำว่า "สากล" ในตอนนั้นไม่ได้รวมสิทธิของสตรี) จนกระทั่งการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการเลือกตั้งสากลของสตรีเกิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนารัฐใหม่ พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมและพรรคประชาชนสโลวีเนียได้สนับสนุนสิทธิการเลือกตั้งของสตรี แต่พรรคหัวรุนแรงกลับไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปไตยได้เปิดกว้างสำหรับแนวคิดนี้ แต่กลับไม่มีความมุ่งมั่นเพียงพอที่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา ตามหลักการแล้วการคำนวณผู้แทนตามระบบสัดส่วนได้รับการยอมรับ แต่กลับไปเลือกใช้ระบบโดนต์ โดยวิธีนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคใหญ่และพรรคการเมืองที่มีการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งในระดับภูมิภาค
มีกำหนดวันเลือกตั้งไว้วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920 ภายหลังจากการนับคะแนน ผลปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยได้ที่นั่งในคณะผู้แทนมากที่สุด แต่ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับพรรคที่มีอำนาจเหนือกว่าในคณะผู้แทนยังถือว่าพ่ายแพ้ ยิ่งไปกว่านั้น พรรคได้รับคะแนนเสียงที่แย่ในพื้นที่อดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม นั่นเป็นการตัดราคาความน่าเชื่อถือของพรรคที่ว่านโยบายรวมศูนย์เป็นการแสดงถึงเจตจำนงของชาวยูโกสลาฟโดยรวม ถึงแม้ว่าพรรคหัวรุนแรงจะไม่ได้คะแนนเสียงดีไปกว่าพรรคประชาธิปไตยในภูมิภาคนั้น แต่ที่พรรคมีปัญหาน้อยกว่า เพราะพวกเขาได้รณรงค์อย่างเปิดเผยในฐานะพรรคของชาวเซอร์เบีย ในขณะที่ฝ่ายที่คัดค้านทั้งสองต่างได้รับคะแนนเสียงกันอย่างล้นหลาม ผู้นำพรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชียถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือพรรคมากกว่าแค่การรณรงค์หาเสียงเท่านั้น[22] ทำให้ประชาคมชาวโครเอเชีย (ซึ่งได้แสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการระดมพลของพรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชีย) มีรอยด่างพร้อยจากการมีส่วนร่วมในรัฐบาลและถูกขจัดออกจากรัฐบาลไปทั้งหมด และยังมีพรรคอื่นที่ได้รับผลประโยชน์อีก นั่นคือพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ทำผลงานได้ดีเป็นพิเศษในภูมิภาคมาซิโดเนีย ส่วนพรรคอื่นที่เหลือต่างไม่ไว้วางใจนโยบายรวมศูนย์ของพรรคประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน
จากผลการเลือกตั้งทำให้นิโคลา ปาซิชอยู่ในสถานะทางการเมืองที่แข็งแกร่งมาก เนื่องจากพรรคประชาธิปไตยไม่มีทางเลือกนอกจากการเป็นพันธมิตรกับพรรคหัวรุนแรง ถ้าพวกเขาต้องการที่จะให้หลักการรวมศูนย์ของยูโกสลาเวียผ่านรัฐสภา ปาซิชได้สังเกตสถานการณ์อย่างระมัดระวังและหาโอกาสในการร่วมมือกับฝ่ายค้านโครเอเชีย ทั้งสองพรรคต่างก็ไม่มีอำนาจพอที่จะผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ผ่านสภาได้ด้วยตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรมุสลิมแห่งยูโกสลาเวีย (JMO) จึงเป็นโอกาสของพรรคมุสลิมที่ได้รับประโยชน์ในการปฏิรูปดินแดนและที่ดิน และปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดินชาวมุสลิมในบอสเนียด้วย
พรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชียได้ปฏิเสธที่จะสาบานตนต่อพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพรรคเกรงว่ายูโกสลาเวียจะเปลี่ยนระบอบเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยได้โต้แย้งว่ามีเพียงสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะสามารถตัดสินใจในเรื่องนี้ได้ เหตุการณ์นี้ทำให้พรรคไม่มีที่นั่งในรัฐสภา กลุ่มฝ่ายค้านส่วนใหญ่จึงประกาศคว่ำบาตรรัฐบาล อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บและราชอาณาจักรเซอร์เบียในปี ค.ศ. 1918 ผ่านรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงข้างมากคิดเป็นร้อยละ 66 โดยไม่คำนึงถึงคะแนนเสียงต่อต้าน
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1921 ซึ่งเป็นวันแห่งนักบุญวิตุส ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญวิโดฟดาน อันเป็นผลให้รัฐทั้งหลายในดินแดนยูโกสลาเวียก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมเป็นรัฐเดี่ยวภายใต้ระบอบราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ และมีการจัดตั้งเขตการปกครองใหม่ทั้งหมด 33 เขตด้วยกัน โดยมีกรุงเบลเกรดเป็นศูนย์กลางการปกครองของราชอาณาจักร ในช่วงเวลานี้พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 สวรรคต (16 สิงหาคม ค.ศ. 1921) และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อเล็กซานเดอร์ คาราจอร์เจวิค ได้เป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อในนาม "สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน"
ลูโบเมียร์ ดาวิโดวิชแห่งพรรคประชาธิปไตยเริ่มมีความคลางแคลงใจเกี่ยวกับนโยบายการรวมศูนย์ของพรรคและได้เปิดการเจรจากับฝ่ายค้าน การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการคุกคาม ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคของเขาได้ ในขณะที่การกระทำของเขาได้ถูกต่อต้านโดยสเวโตซาร์ ปริบิเชวิช นอกจากนี้ยังทำให้ปาซิชมีข้ออ้างสำหรับการยุติความสัมพันธ์กับพรรคอีกด้วย ในตอนแรกกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ทรงมอบอำนาจให้ปาซิชก่อตั้งพันธมิตรกับพรรคประชาธิปไตยของปริบิเชวิช อย่างไรก็ตาม ปาซิชได้ให้ข้อเสนอกับปริบิเชวิชโดยเป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้ยากที่จะทำให้ปริบิเชวิชเห็นด้วย รัฐบาลหัวรุนแรงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการเลือกตั้ง พรรคหัวรุนแรงได้รับผลประโยชน์จากความสูญเสียของพรรคประชาธิปไตย ในขณะที่พรรคอื่น ๆ ก็ได้รับผลประโยชน์จากพรรคชาวนาหัวรุนแรงด้วยเช่นกัน
นักการเมืองชาวเซิร์บภายในพรรคหัวรุนแรงมองว่ามีเพียงเซอร์เบียเท่านั้น ที่จะสามารถรวมความเป็นเอกภาพของชาวยูโกสลาฟทั้งมวลได้ เหมือนดังปีเยมอนเตที่รวมอิตาลี หรือปรัสเซียที่รวมเยอรมัน โดยเป็นการรวมในรูปแบบ "มหาเซอร์เบีย" ในปีต่อมา ได้เกิดการประท้วงต่อต้านของชาวโครเอเชียที่มีต่อนโยบายรวมศูนย์ของเซอร์เบียและดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในข่วงต้นทศวรรษที่ 1920 รัฐบาลยูโกสลาเวียที่นำโดยนายกรัฐมนตรี นิโคลา ปาซิช ได้ใช้ตำรวจในการกดดันผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งและชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ มีการยึดใบปลิวชวนเชื่อต่าง ๆ ของฝ่ายค้าน[23] และใช้วิธีอื่น ๆ เพื่อโกงเลือกตั้ง แต่ไม่มีวิธีใดเลย ที่จะสามารถเอาชนะพรรคชาวนาโครเอเชียได้ (เดิมคือพรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชีย) ซึ่งสมาชิกพรรคยังคงชนะการเลือกตั้งในรัฐสภายูโกสลาเวียเป็นจำนวนมาก[24] อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็สามารถกำจัดคู่แข่งทางการเมืองของพรรคหัวรุนแรงเซอร์เบียอย่างพรรคประชาธิปไตยได้
สเตฟาน ราดิช หัวหน้าพรรคชาวนาโครเอเชียถูกจำคุกหลายครั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง[25] ต่อมาเขาถูกปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1925 และกลับเข้าสู่รัฐสภาอีกครั้ง
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1928 ราดิชและ สเวโตซาร์ ปริบิเชวิชได้ต่อสู้กันอย่างขมขื่นในรัฐสภา เพื่อต่อต้านการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเนตตูโนกับอิตาลี พวกเขาได้ระดมพวกฝ่ายค้านชาตินิยมในเซอร์เบีย แต่ถูกโต้ตอบกลับอย่างรุนแรงจากฝ่ายรัฐบาลเสียงข้างมาก ซึ่งรวมถึงการขู่ฆ่าด้วย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1928 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลชาวเซิร์บนามว่า ปูนิซา ราชิช ยิงสมาชิกพรรคชาวนาโครเอเชีย 5 คน รวมไปถึงสเตฟาน ราดิชด้วย เนื่องจากราดิชปฏิเสธที่จะขอโทษสำหรับความผิดก่อนหน้านี้ ซึ่งเขากล่าวหาว่าราชิชเป็นขโมย[26]
ด้วยเหตุการณ์นี้เอง ทำให้ฝ่ายค้านต่างทยอยออกจากรัฐสภา โดยพวกเขาได้ยืนยันว่าจะไม่กลับเข้าไปในรัฐสภาอีก ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมาชิกของพวกเขาถูกสังหาร และขอให้มีการจัดเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ในการประชุมที่ซาเกร็บ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1920 พวกเขาเรียกร้องให้เจรจาเพื่อรวมชาติขึ้นใหม่โดยเริ่มจากศูนย์ นับจากวันที่ 8 สิงหาคม เมื่อสเตฟาน ราดิชเสียชีวิต
เผด็จการ 6 มกราคม
[แก้]ในวันที่ 6 มกราคม 1929 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญ ระงับรัฐสภา และนำระบอบเผด็จการส่วนบุคคลมาใช้เป็นข้ออ้าง (รู้จักกันในชื่อ "เผด็จการ 6 มกราคม", Šestosiječanjska diktatura, Šestojanuarska diktatura) โดยมีจุดมุ่งหมาย ในการก่อตั้งอุดมการณ์ยูโกสลาเวียและยูโกสลาเวียหนึ่งชาติ เขาเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" และเปลี่ยนการแบ่งแยกภายในจาก 33 แคว้นเป็นบาโนวินาใหม่ 9 แห่งในวันที่ 3 ตุลาคม การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากข้อเสนอของเอกอัครราชทูตอังกฤษที่จะกระจายอำนาจในประเทศให้ดีขึ้น โดยมีต้นแบบมาจากเชคโกสโลวาเกีย[34] ในไม่ช้าก็มีการจัดตั้งศาลเพื่อการคุ้มครองแห่งรัฐเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลใหม่ในการปราบปรามผู้เห็นต่าง นักการเมืองฝ่ายค้าน วลาดโก มาเชค และ สเวโตซาร์ ปรีบิเชวิช ถูกศาลจับกุมภายใต้ข้อหา ต่อมา ปรีบิเชวิช ถูกเนรเทศในขณะที่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 มาเชคจะกลายเป็นผู้นำของกลุ่มฝ่ายค้านทั้งหมด[27][28]
ทันทีหลังจากมีการประกาศการปกครองแบบเผด็จการ นายอันเต พาเวลิช รองผู้อำนวยการชาวโครเอเชียได้ออกจากประเทศเพื่อเนรเทศ ปีต่อ ๆ มา พาเวลิช ทำงานเพื่อจัดตั้งองค์กรปฏิวัติอูสตาเชซึ่งเป็นพันธมิตรกับ Internal Macedonian Revolutionary Organization (IMRO) เพื่อต่อต้านรัฐ
ในปี 1931 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งทำให้อำนาจบริหารเป็นของขวัญจากกษัตริย์ การเลือกตั้งจะต้องมาจากการลงคะแนนเสียงของชายสากล บทบัญญัติสำหรับการลงคะแนนลับถูกยกเลิก และการกดดันให้พนักงานของรัฐลงคะแนนเสียงให้พรรคที่ปกครองจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งทั้งหมดที่จัดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญของอเล็กซานเดอร์ ยิ่งกว่านั้น สภาสูงครึ่งหนึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากกษัตริย์ และกฎหมายจะกลายเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาใดสภาหนึ่งหากได้รับการอนุมัติจากกษัตริย์ด้วย[29][30][31]
ในปีเดียวกันนั้นเอง มิลาน ชัฟฟ์เลย์ นักประวัติศาสตร์และต่อต้านยูโกสลาเวียชาวโครเอเชียถูกลอบสังหารที่เมืองซาเกร็บ เพื่อเป็นการตอบโต้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และไฮน์ริช มานน์ ได้ส่งคำร้องไปยังสันนิบาตสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกรุงปารีส เพื่อประณามการฆาตกรรมดังกล่าว โดยกล่าวหารัฐบาลยูโกสลาเวีย จดหมายระบุถึง "ความโหดร้ายอันน่าสยดสยองซึ่งกำลังปฏิบัติต่อชาวโครเอเชีย" คำอุทธรณ์ดังกล่าวส่งถึง Ligue des droits de l'homme ซึ่งมีฐานอยู่ในปารีส (Human Rights League) ในจดหมายของพวกเขาไอน์สไตน์และมานน์ระบุว่ากษัตริย์อเล็กซานดาร์แห่งยูโกสลาเวียต้องรับผิดชอบต่อสถานการณ์เหล่านี้อย่างชัดเจน
การต่อต้านระบอบการปกครองใหม่ของชาวโครแอตนั้นรุนแรงและในช่วงปลายปี 1932 พรรคชาวนาโครเอเชียได้ออกแถลงการณ์ซาเกร็บซึ่งต้องการยุติอำนาจการปกครองและเผด็จการของชาวเซิร์บ รัฐบาลตอบโต้ด้วยการจำคุกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหลายคน รวมทั้งวลาดโก มาเชคหัวหน้าพรรคชาวนาโครเอเชียคนใหม่ แม้จะมีมาตรการเหล่านี้ การต่อต้านเผด็จการยังคงดำเนินต่อไป โดยชาวโครแอตเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาในสิ่งที่เรียกว่า "คำถามของชาวโครแอต" ปลายปี 1934 กษัตริย์วางแผนที่จะปล่อยตัวมาเชกจากคุก เสนอการปฏิรูปประชาธิปไตย และพยายามหาจุดร่วมระหว่างชาวเซอร์เบียและชาวโครแอต
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 ตุลาคม 1934 กษัตริย์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส โดย เวลิชโก เคริน ชาวบัลแกเรีย (หรือที่รู้จักกันในนามแฝงของนักปฏิวัติ วลาโด เชอร์โนเซ็มสกี) นักเคลื่อนไหวของ IMRO ในการสมรู้ร่วมคิดกับผู้ลี้ภัยยูโกสลาเวียและสมาชิกหัวรุนแรงของพรรคการเมืองที่ถูกสั่งห้ามใน ความร่วมมือกับองค์กรอูสตาเชชาตินิยมสุดโต่งของโครเอเชีย
ผู้สำเร็จราชการแห่งยูโกสลาฟ
[แก้]เนื่องจากพระราชโอรสของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ คือเจ้าชายปีเตอร์ที่ 2 ทรงยังเป็นผู้เยาว์ สภาผู้สำเร็จราชการ 3 คนตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ เข้ารับตำแหน่งและหน้าที่ของกษัตริย์องค์ใหม่ สภาถูกครอบงำโดยลูกพี่ลูกน้องคนแรกของกษัตริย์วัย 11 ปีที่ครั้งหนึ่งเคยถอดเจ้าชายพอล
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ความตึงเครียดภายในยังคงเพิ่มขึ้น โดยชาวเซิร์บและโครแอตพยายามจัดตั้งเขตการปกครองของรัฐบาลกลางชาติพันธุ์ ต้องการ วาร์ดาร์ บาวอดินา (ภายหลังเป็นที่รู้จักในยูโกสลาเวียในชื่อ วาร์ดาร์ มาซิโดเนีย),วอยวอดีนา,มอนเตเนโกร รวมเป็นหนึ่งกับดินแดนเซอร์เบีย และโครเอเชียต้องการดัลมาเชีย และวอยวอดีนาบางส่วน ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิ์ในดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปัจจุบันซึ่งมีชาวมุสลิมบอสเนียอาศัยอยู่เช่นกัน การขยายตัวของนาซีเยอรมนีในปี พ.ศ. 2481 ทำให้เกิดแรงผลักดันใหม่ต่อความพยายามในการแก้ปัญหาเหล่านี้ และในปี 1939 เจ้าชายพอลทรงแต่งตั้ง Dragiša Cvetković เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้านโครเอเชีย ดังนั้น ในวันที่ 26 สิงหาคม 1939 วลาดโก มาเชกจึงกลายเป็นรองนายกรัฐมนตรีของยูโกสลาเวีย และมีการก่อตั้งบาโนวินาแห่งโครเอเชียขึ้นเองโดยมีรัฐสภาของตนเอง
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เป็นที่พอใจของทั้งชาวเซิร์บที่เกี่ยวข้องกับสถานะของชนกลุ่มน้อยชาวเซิร์บในบาโนวีนาแห่งใหม่ของโครเอเชีย และผู้ที่ต้องการให้บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นดินแดนเซอร์เบียมากขึ้น หรืออุสตาเช ชาตินิยมชาวโครเอเชียที่โกรธเคืองกับการตั้งถิ่นฐานใด ๆ ที่ไม่ได้รับเอกราชอย่างเต็มที่สำหรับ โครเอเชียส่วนใหญ่รวมถึงบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทั้งหมด
การล่มสลาย
[แก้]ด้วยความกลัวว่าจะถูกรุกรานโดยฝ่ายอักษะ ยูโกสลาเวียจึงได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1941 โดยให้สัญญาว่าจะร่วมมือกับฝ่ายอักษะอย่างเต็มกำลัง ทำให้เกิดการประท้วงของกลุ่มต่อต้านฝ่ายอักษะภายในกรุงเบลเกรด
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ระบอบการปกครองของเจ้าชายพอลได้ถูกโค่นล้มจากการทำรัฐประหารโดยกองทัพ ด้วยการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ซึ่งในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 17 พรรษา ทรงได้รับประกาศบรรลุนิติภาวะและได้รับอำนาจในการปกครอง โดยมีนายพลดูชัน ซิมอวิชดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้ถอนตัวจากการสนับสนุนฝ่ายอักษะแบบพฤตินัย โดยยังไม่ละทิ้งกติกาสัญญาไตรภาคีอย่างเป็นทางการ แม้ว่าผู้ปกครองคนใหม่จะต่อต้านนาซีเยอรมนี แต่พวกเขากลัวว่าผู้นำเผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จะโจมตียูโกสลาเวีย โดยที่สหราชอาณาจักรก็ไม่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้จริง อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะได้เปิดฉากรุกรานยูโกสลาเวียและประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว บรรดาเหล่าราชวงศ์รวมทั้งเจ้าชายพอล ได้เสด็จลี้ภัยและถูกกักบริเวณที่บ้านพักในบริติชเคนยา[32]
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้ถูกแบ่งแยกดินแดนเป็นหลายส่วนโดยฝ่ายอักษะ เยอรมนี, อิตาลี, ฮังการี, และบัลแกเรียต่างผนวกเขตแดนของราชอาณาจักรไว้กับตน เยอรมนีใหญ่ได้ผนวกดินแดนสโลวีเนีย อิตาลีได้จัดตั้งเขตผู้ว่าการแดลเมเชีย, ผนวกพื้นที่บางส่วนของมาซิโดเนียและคอซอวอ, มอนเตเนโกร, ทางตอนใต้ของโครเอเชีย, และพื้นที่หนึ่งในสามของสโลวีเนียตะวันตกไว้กับจักรวรรดิอิตาลี การขยายตัวของฟาสซิสต์โครเอเชียได้รับการยอมรับในฐานะรัฐเอกราชโครเอเชีย (Nezavisna Država Hrvatska, NDH) ตามเอกสารราชการแล้ว รัฐเอกราชเป็นราชอาณาจักรและมีดยุกที่ 4 แห่งออสตาเป็นพระมหากษัตริย์ในนาม "สมเด็จพระราชาธิบดีโทมิสลาฟที่ 2 แห่งโครเอเชีย" ดินแดนเซอร์เบียกลายเป็นดินแดนยึดครองของฝ่ายทหารบริหารแห่งเยอรมนีที่ปกครองโดยผู้บัญชาการทหารและรัฐบาลพลเรือนของเซอร์เบีย นำโดย มิลาน เนดิช เนดิชพยายามที่จะได้รับการยอมรับจากเยอรมนีว่าเป็นรัฐที่สืบทอดต่อจากยูโกสลาเวีย และมีพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบีย ส่วนฮังการีได้เข้าครอบครองภูมิภาคทางตอนเหนือ
การลี้ภัยขององค์กษัตริย์
[แก้]พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ซึ่งเสด็จลี้ภัย ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นกษัตริย์แห่งรัฐยูโกสลาเวียทั้งหมดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 1941 "กองทัพยูโกสลาเวียแห่งปิตุภูมิ" เซอร์เบียส่วนใหญ่ (Jugoslovenska vojska u otadžbini หรือ JVUO หรือ Chetniks) ต่อต้านการยึดครองยูโกสลาเวียของฝ่ายอักษะ ขบวนการต่อต้านนี้ซึ่งเป็นทั้งฝ่ายต่อต้านเยอรมันและฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ได้รับคำสั่งจากนายพล Draža Mihailović จอมราชาแห่งราชวงศ์ เป็นเวลานานมาแล้วที่กลุ่มเชตนิกส์ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และรัฐบาลยูโกสลาเวียที่กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 พลัดถิ่น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงคราม อำนาจที่มีผลได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของพรรคคอมมิวนิสต์ของ ยอซีฟ บรอซ ตีโต ในปี 1943 ติโตได้ประกาศจัดตั้งสหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย (Demokratska federativna Jugoslavija) ฝ่ายสัมพันธมิตรค่อยๆ ยอมรับว่ากองกำลังของตีโตเป็นกองกำลังฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งกว่าในการยึดครองของเยอรมัน พวกเขาเริ่มส่งความช่วยเหลือส่วนใหญ่ไปยังพลพรรคของตีโต แทนที่จะส่งไปยังเชทนิกส์ ผู้นิยมราชวงศ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1944 มีการลงนามข้อตกลง ตีโต-ซุบาซิช ซึ่งรวมรัฐบาลโดยพฤตินัยและนิตินัยของยูโกสลาเวียเข้าด้วยกัน
ในช่วงต้นปี 1945 หลังจากที่ชาวเยอรมันถูกขับไล่ออกไป ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้รับการฟื้นฟูอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม อำนาจทางการเมืองที่แท้จริงถูกยึดครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ของตีโต วันที่ 29 พฤศจิกายน กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 ถูกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งยูโกสลาเวียปลดและล้มล้างระบอบกษัตริย์ขณะที่พระองค์ยังถูกเนรเทศ ในวันที่ 2 ธันวาคม ทางการคอมมิวนิสต์ได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งหมดในฐานะส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวียใหม่ครอบคลุมอาณาเขตเดียวกับที่ราชอาณาจักรมี โดยขณะนี้เป็นสหพันธรัฐที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แทนที่จะเป็นระบอบกษัตริย์ที่รวมกันเป็นปึกแผ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Busch, Birgitta; Kelly-Holmes, Helen (2004). Language, Discourse and Borders in the Yugoslav Successor States. Multilingual Matters. p. 26. ISBN 978-1853597329. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
the official language of the Kingdom was 'Serbo-Croato-Slovenian'
- ↑ Mesić, Milan (2004). Perspectives of Multiculturalism: Western and Transitional Countries. Zagreb: FF Press. p. 322.
a triple-named language, called officially Serbo-Croato-Slovene
- ↑ Tomasevich, Jozo (1975). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: The Chetniks. Stanford University Press. p. 93. ISBN 978-0804708579. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2 October 2021.
- ↑ Banac, Ivo (1992). The National Question in Yugoslavia. Origins, History, Politics (2nd printing ed.). Ithaca, NY: Cornell University Press. p. 58. ISBN 978-0801494932. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.
- ↑ Myers, Paul F.; Campbell, Arthur A. (1954). The Population of Yugoslavia (ภาษาอังกฤษ). U.S. Government Printing Office. p. 152. ISBN 978-0598678454. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ Alexander, Ronelle (2013). "Language and Identity: The Fate of Serbo-Croatian". ใน Daskalov, Rumen; Marinov, Tchavdar (บ.ก.). Entangled Histories of the Balkans: Volume One: National Ideologies and Language Policies. Koninklijke Brill NV. p. 371. ISBN 978-9004250765. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2016. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
Now, however, the official language of the new state, the Kingdom of Serbs, Croats, and Slovenes, bore the unwieldy name Serbo-Croato-Slovene (srbsko-hrvatsko-slovenački or srbsko-hrvatsko-slovenski).
- ↑ Wojciechowski, Sebastian; Burszta, Wojciech J.; Kamusella, Tomasz (2006). Nationalisms across the globe: an overview of nationalisms in state-endowed and stateless nations. Vol. 2. School of Humanities and Journalism. p. 79. ISBN 978-8387653460. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
Similarly, the 1921 Constitution declared Serbocroatoslovenian as the official and national language of the Kingdom of Serbs, Croats, and Slovenians.
- ↑ Kamusella, Tomasz (2009). The politics of language and nationalism in modern Central Europe. Palgrave Macmillan. pp. 228, 297. ISBN 978-0-230-55070-4.
- ↑ 9.0 9.1 "Kraljevina Jugoslavija! Novi naziv naše države. No, mi smo itak med seboj vedno dejali Jugoslavija, četudi je bilo na vseh uradnih listih Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev. In tudi drugi narodi, kakor Nemci in Francozi, so pisali že prej v svojih listih mnogo o Jugoslaviji. 3. oktobra, ko je kralj Aleksander podpisal "Zakon o nazivu in razdelitvi kraljevine na upravna območja", pa je bil naslov kraljevine Srbov, Hrvatov in Slovencev za vedno izbrisan." (Naš rod ("Our Generation", a monthly Slovene language periodical), Ljubljana 1929/30, št. 1, str. 22, letnik I.)
- ↑ "Yugoslavia from a Historical Perspective" (PDF). YU Historija. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
- ↑ J. B. Hoptner (1963). "Yugoslavia in Crisis 1934–1941". Columbia University Press.
- ↑ Walter R. Roberts (1973). Tito, Mihailović, and the Allies, 1941–1945. Rutgers University Press. p. 288. ISBN 978-0-8135-0740-8.
- ↑ "Austria's Archduke Ferdinand assassinated". History. A&E Television Networks. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 Spencer Tucker. Encyclopedia of World War I: A Political, Social, and Military History. Santa Barbara, California, USA: ABC-CLIO, 2005. p. 1189.
- ↑ History of the municipal theatre เก็บถาวร 23 มิถุนายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Corfu city hall Quote: "The Municipal Theatre was not only an Art-monument but also a historical one. On its premises the exiled Serbian parliament, held meetings in 1916, which decided the creation of the new Unified Kingdom of Yugoslavia."
- ↑ Boban, Ljubo, When and how was the State of Slovenes, Croats and Serbs formed, Institute of Croatian History, ISSN 0353-295X, volume 26, issue 1, 1993, p. 187–198
- ↑ Budisavljević Srđan, Stvaranje Države Srba, Hrvata i Slovenaca (Creating the State of Serbs, Croats and Slovenes), Zagreb, 1958, pp. 170–175.
- ↑ Hehn, Paul N. (2005) A Low Dishonest Decade: Italy, the Powers and Eastern Europe, 1918–1939., Chapter 2, Mussolini, Prisoner of the Mediterranean
- ↑ Čermelj, L. (1955). Kako je prišlo do prijateljskega pakta med Italijo in kraljevino SHS (How the Friendsjip Treaty between Italy and the Kingdom of SHS Came About in 1924), Zgodovinski časopis, 1–4, p. 195, Ljubljana
- ↑ Friedrich Ebert Stiftung (2013). "Serbian-Bulgarian Historical Ties" (PDF). ISAC Fund.
- ↑ Lampe 2000, p. 112.
- ↑ 22.0 22.1 Gligorijević, Branislav (1979) Parliament i političke stranke u Jugoslaviji 1919–1929 Institut za savremenu istoriju, Narodna knjiga, Belgrade, OCLC 6420325 [ต้องการเลขหน้า]
- ↑ "Yugoslavia: Balkan Politics". Time Magazine. 31 March 1923. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2008.
- ↑ "Yugoslavia: Elections". Time Magazine. 23 February 1925. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2008.
- ↑ "Yugoslavia: The Opposition". Time Magazine. 6 April 1925. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2008.
- ↑ Newman, John Paul (2017). "War Veterans, Fascism, and Para-Fascist Departures in the Kingdom of Yugoslavia, 1918–1941". Fascism. 6: 63. doi:10.1163/22116257-00601003.
- ↑ Troch, Pieter (2010). "Yugoslavism between the World Wars: indecisive nation-building". NATIONALITIES PAPERS. 38 (2): 227–244. doi:10.1080/00905990903517819. ISSN 0090-5992.
- ↑ Nielsen, Christian Axboe (February 2009). "Policing Yugoslavism: Surveillance, Denunciations, and Ideology during King Aleksandar's Dictatorship, 1929-1934". East European Politics and Societies: and Cultures (ภาษาอังกฤษ). 23 (1): 34–62. doi:10.1177/0888325408326789. ISSN 0888-3254.
- ↑ Bartulin, Nevenko (November 14, 2013). The Racial Idea in the Independent State of Croatia: Origins and Theory (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-26282-9.
- ↑ TIMES, Special Cable to THE NEW YORK (May 6, 1931). "EINSTEIN ACCUSES YUGOSLAVIAN RULERS IN SAVANT'S MURDER; Charges the Slaying of Sufflay, Noted Croatian Leader, Was Inspired by Government. LINKS KING TO TERRORISM Protest With Heinrich Mann Virtually Lays Parliament Killing to Monarch. INCREASE IN CRUELTY SEEN League for Rights of Man is Urged to Take Action Against "Horrible Brutality" of Belgrade Regime. Noted for Scientific Works. Charges Threats to Croats. EINSTEIN ACCUSES YUGOSLAV RULERS". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.
- ↑ "RADITCH LEFT TALE OF YUGOSLAV PLOT; Account of Parliament Murders, in Which He Was FatallyWounded, Now Revealed.TRACED SLAYER TO COURTDocument Is Supposed to Have Furnished a Basis for Einstein'sIndictment of King. Had Warning in Advance. No Attempt to Stop Assassin". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). August 23, 1931. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.
- ↑ "Prince Paul of Yugoslavia exonerated of war crimes" (PDF). The Times. 24 January 2012. สืบค้นเมื่อ 14 September 2012.