วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงเรียนในเบสลัน
การล้อมโรงเรียนในเบสลัน | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ ก่อการร้ายในประเทศรัสเซีย, ความขัดแย้งระหว่างเชเชนกับรัสเซีย | |
ภายในโรงยิมของโรงเรียนที่ตัวประกันถูกนำมารวมตัวกัน ในภายหลังได้แปรสภาพมาเป็นอนุสรณ์สถาน ตรงกลางเป็นกางเขนออร์ทอดอกซ์ | |
สถานที่ | เบสลัน นอร์ตออสเซเตีย-อาลาเนีย ประเทศรัสเซีย |
วันที่ | 1–3 กันยายน 2004 (UTC+3) |
เป้าหมาย | โรงเรียนในเบสลัน |
ประเภท | การจับตัวประกัน, การยิง, การฆาตกรรมหมู่, ระเบิดพลีชีพ, การปิดล้อมสถานที่ |
อาวุธ | ปืนไรเฟิล, ระเบิดเข็มขัด |
ตาย | 334 (ไม่รวมผู้ก่อการร้าย 31 ราย)[1] |
เจ็บ | 800+ |
ผู้ก่อเหตุ | รียาดูสซาลีฮิน |
จำนวนก่อเหตุ | 32 |
วิกฤตตัวประกันโรงเรียนในเบสลัน (หรือ การสังหารหมู่ที่เบสลัน และ การล้อมโรงเรียนในเบสลัน)[2][3][4] เป็นเหตุก่อการร้ายที่เริ่มต้นในวันที่ 1 กันยายน 2004 และกินเวลายาวนานสามวัน ประกอบด้วยการจับพลเมือง 1,100 คนเป็นตัวประกัน ในจำนวนนี้ 777 คนเป็นเด็ก[5] และจบลงด้วยมีผู้เสียชีวิต 334 ราย (ไม่รวมผู้ก่อเหตุ) ในจำนวนนี้มีเด็กเสียชีวิต 186 ราย[6] ผู้ก่อเหตุเสียชีวิตรวม 31 ราย[1] เหตุการณ์นี้เป็นการกราดยิงในโรงเรียนที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์[7]
วิกฤตการณ์เริ่มต้นด้วยผู้ก่อการร้ายติดอาวุธจำนวนหนึ่งเข้ายึดครองโรงเรียนหมายเลขหนึ่ง (School Number One (SNO)) ในเมืองเบสลัน เขตปกครองตนเองออสเซเตียเหนือ ในแถบคอเคซัสเหนือของประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2004 ผู้ก่อเหตุเป็นสมาชิกของกลุ่มรียาดุสซาลิฮีน ที่ส่งตัวมาโดยขุนศึกชามิล บาซาเยฟ โดยเรียกขอให้รัสเซียถอนกำลังออกจากเชชเนียและประกาศยอมรับเอกราชของเชชเนีย เหตุการณ์สิ้นสุดหลังผ่านไปสามวัน โดยกองกำลังของรัสเซียบุกเข้าภายในโรงเรียน
เหตุการณ์นี้มีผลกระทบต่อความมั่นคงและการเมืองในรัสเซียอย่างมากในเวลาถัดมา โดยเฉพาะการนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองรัฐโดยมีการยึดอำนาจกลับคืนมายังเครมลิน และเสริมอำนาจให้กับวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดี[8] การรับมือกับเหตุการณ์นี้ของรัฐบาลรัสเซียถูกวิจารณ์อย่างมาก รวมถึงข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลทำการแพร่ข้อมูลเท็จและมีการปิดกั้นสื่อซึ่งนำไปสู่การตั้งคำถามถึงเสรีภาพสื่อในประเทศ[9] ไปจนถึงการต่อรองเจรจากับผู้ก่อการร้าย การจัดการอำนาจรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา และการใช้กำลังเกินเหตุ[10][11][12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Woman injured in 2004 Russian siege dies". The Boston Globe. 8 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2007. สืบค้นเมื่อ 9 January 2007.
bringing the total death toll to 334, a Beslan activist said. ... Two other former hostages died of their wounds last year and another died last August, which had brought the overall death toll to 333 -- a figure that does not include the hostage-takers.
- ↑ Beslan mothers' futile quest for relief เก็บถาวร 20 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 4 June 2005.
- ↑ Beslan School Massacre One Year Later เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, U.S. Department of State, 31 August 2004
- ↑ Putin's legacy is a massacre, say the mothers of Beslan, The Independent, 26 February 2008.
- ↑ "Children in the Russian Federation (Word Doc)". UNICEF. 16 พฤศจิกายน 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (DOC)เมื่อ 25 มิถุนายน 2006. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2006.
- ↑ "Putin meets angry Beslan mothers". BBC News. 2 September 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2017. สืบค้นเมื่อ 28 July 2006.
Of those who died, 186 were children.
- ↑ "Russian Children Return to School on 'Day of Knowledge'". The Moscow Times (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
- ↑ Chechnya Vow Cast a Long Shadow The Moscow Times, 26 February 2008.
- ↑ Russia 'impeded media' in Beslan เก็บถาวร 20 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 16 September 2004.
- ↑ Satter, David (2016-11-16). "The Truth About Beslan | Hudson". www.hudson.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-31. สืบค้นเมื่อ 2023-01-31.
- ↑ Beslan's unanswered questions เก็บถาวร 14 มิถุนายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, International Herald Tribune, 30 May 2006.
- ↑ Beslan siege still a mystery เก็บถาวร 23 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 2 September 2005.
- ↑ "One Year Later, Beslan's School Tragedy Still Haunts". The Boston Globe. 2 September 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 2 March 2008.