วีรนคร
วีรนคร[1] (รัสเซีย: город-герой, gorod-geroy, ยูเครน: місто-герой, misto-heroy, เบลารุส: горад-герой, horad-heroy) เป็นชื่อเมืองเกียรติยศของสหภาพโซเวียตโดยมอบให้กับ 12 เมืองที่เข้าร่วมในแนวรบด้านตะวันออก[2] รวมไปถึงป้อมแบรสต์ที่ได้รับเกียรติป้อมวีรชน
วีรนครจะได้รับดาวทองและเครื่องอิสริยาภรณ์เลนินและใบประกาศจากสถาประธานสภาเปรซีเดียมแห่งสภาโซเวียตสูงสุด[3] เมืองที่ได้จะสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติ
ประวัติ
[แก้]สำหรับ "วีรนคร" ได้รับการประกาศจากหนังสือพิมพ์ ปราฟดา ในช่วงปี ค.ศ. 1942 โดยประกาศอย่างเป็นทางการประกาศในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 โดยโจเซฟ สตาลิน ตามคำสั่งผู้บัญชาการสูงสุดที่ 20 โดยมอบให้กับวีรนคร 5 แห่ง ได้แก่ เลนินกราด, สตาลินกราด, เซวัสโตปอล และออแดซา[4]
ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1961 (ครบรอบ 20 ปีแห่งจุดเรื่มต้นของแนวรบด้านตะวันออก) เคียฟได้รับมอบตำแหน่งใน ประกาศ ได้มีการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์เลนินให้เคียฟรวมกับมอบเหรียญ "สำหรับการป้องกันที่เคียฟ"
ต่อมาในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 ในช่วงครบรอบ 20 ปีในชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ มีประกาศจากคณะกรรมการบริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด ว่ามีเมืองได้รับเกียรติเป็นวีรนคร คือ เลนินกราด, สตาลินกราด, เคียฟ, เซวัสโตปอล และออแดซา[3] ได้มีการมอบตำแหน่งให้กับมอสโก และอีกแห่งคือแบรสต์สำหรับ ป้อมวีรชน[4]
และต่อมาได้มีการมอบยศนี้ต่อเมืองอื่น ๆ ดังนี้
- 14 กันยายน ค.ศ. 1973: เคียร์ชและโนโวรอสซีสค์[4]
- 26 มิถุนายน ค.ศ. 1974: มินสค์[4]
- 7 ธันวาคม ค.ศ. 1976: ตูลา[4]
- 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1985: มูร์มันสค์และสโมเลนสค์[4]
สมุดภาพอนุสาวรีย์
[แก้]-
เสาอนุสรณ์แห่งเกียรติภูมิที่วอลโกกราด
-
เสาอนุสรณ์แห่งเกียรติภูมิที่เคียฟ
-
เสาอนุสรณ์แห่งเกียรติภูมิที่มินสค์
-
เสาอนุสรณ์แห่งเกียรติภูมิที่ออแดซา
-
เสาอนุสรณ์แห่งเกียรติภูมิที่เซวัสโตปอล
-
เสาอนุสรณ์แห่งเกียรติภูมิที่เคียร์ช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สารานุกรมประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ (ในภูมิภาคยุโรป). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2562, หน้า 574.
- ↑ Smorodinskaya, Tatiana; Evans-Romaine, Karen; Goscilo, Helena (2013). Encyclopaedia of Contemporary Russian. Routledge. p. 248. ISBN 1136787852.
- ↑ 3.0 3.1 Большая Школьная Энциклопедия «Руссика». История России. 20 в [Great Students' Encyclopedia "Russika" - Russian 20th Century history] (ภาษารัสเซีย). ОЛМА Медиа Групп. pp. 113–114. ISBN 5224035872.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Mikhailov, Andrei (8 May 2015). "Hero Cities still victorious and heroic, despite squabble". Pravda.ru. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.