หมู่เรือ
หน้าตา
หมู่เรือ[1] (อังกฤษ: division) เป็นหน่วยรองของกองเรือ (squadron) หรือหมวดเรือ (flotilla) นอกจากนี้ยังสามารถเป็นหน่วยรองของกองเรือนาวีได้อีกด้วย โดยหมู่เรือเป็นรูปขบวนทางเรือที่เล็กที่สุด ปกติจะมีเรือรบในหมู่ระหว่าง 2 ถึง 4 ลำ
การบัญชาการ
[แก้]หมู่เรือมักจะอยู่ภายในการบังคับบัญชาของนายทหารชั้นนายพลอาวุโส ปกติจะดำรงตำแหน่งพลเรือโทหรือพลเรือตรีโดยไม่มีขนาดของหมู่เรือเป็นเกณฑ์ เช่น ในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น หมู่เรือบรรทุกเครื่องบินที่ 1 ได้รับคำสั่งจากพลเรือโทหรือพลเรือตรี เช่นเดียวกับหมู่เรือลาดตระเวนที่ 18
รูปแบบหมู่เรือ
[แก้]โดยทั่วไปหมู่เรือจะจัดกลุ่มตามชั้นเรือและประเภทของเรือ ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดหน่วยของกองทัพเรือประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างการจัดรูปแบบ ได้แก่
- หมู่เรือดำน้ำ – หมู่เรือดำน้ำที่ 24 (กองทัพเรือโซเวียต และกองทัพเรือรัสเซีย) – เรือดำน้ำ 6 ลำ
- หมู่เรือกวาดทุ่นระเบิด – หมู่เรือกวาดทุ่นระเบิดที่ 71 (กองทัพเรือสหรัฐ) – เรือกวาดทุ่นระเบิด 2 ลำ
- หมู่เรือสลุป – หมู่เรือคุ้มกันที่ 2 (ราชนาวี) – เรือสลุปศึก 6 ลำ
- หมู่เรือพิฆาต – หมู่เรือพิฆาตที่ 22 (กองทัพเรือสหรัฐ) – เรือพิฆาต 4 ลำ
- หมู่เรือลาดตระเวน – หมู่เรือลาดตระเวนที่ 18 (กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น) – เรือลาดตระเวนเบา 2 ลำ
- หมู่เรือประจัญบาน – หมู่เรือประจัญบานที่ 2 (กองทัพเรือสหรัฐ) – เรือประจัญบาน 4 ลำ
- หมู่เรือบรรทุกอากาศยาน – หมู่เรือบรรทุกอากาศยานที่ 2 (กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น) – เรือบรรทุกอากาศยาน 2 ลำ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- Peattie, Mark R. (1999). Sunburst: The Rise of Japanese Naval Air Power 1909–1941. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 1-59114-664-X.
- Morison, Samuel E. (1963). The Two-Ocean War: A Short History of the United States Navy in the Second World War. New York City: Little, Brown and Company. ISBN 0-316-5835-2-9
- ↑ คู่มือศัพท์ และคำย่อทางทหาร (PDF). มณฑลทหารบกที่ 16.[ลิงก์เสีย]