(Translated by https://www.hiragana.jp/)
อัลโลซอรัส - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

อัลโลซอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลโลซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Jurassic, 155–145Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับย่อย: Theropoda
วงศ์: Allosauridae
วงศ์ย่อย: Allosaurinae
สกุล: Allosaurus
Marsh, 1877
ชนิดต้นแบบ
Allosaurus fragilis
Marsh, 1877
สายพันธุ์อื่นๆ[1]
ชื่อพ้อง
รายชื่อ

อัลโลซอรัส (อังกฤษ: Allosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าก่อนยุคไทรันโนซอรัสแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกเมื่อ 155–145 ล้านปีก่อน ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 2.7–3.2 เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10.5 เมตร (34 ฟุต) น้ำหนักเกิน2ตัน เหนือหัวของอัลโลซอรัสมีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรอ้าได้กว้างถึง 92 องศาพร้อมด้วยฟันที่มีลักษณะเป็นใบเลื่อยเรียงรายอยู่ กระโหลกของมันนั้นสามารถรับแรงกระแทกได้มากดังนั้นเมื่อมันล่าเหยื่อมันจะใช้กะโหลกฟาดลงบนตัวเหยื่อคล้ายขวานที่จามลงบนไม้ ร่างกายมีความสมดุลโดยยาวและหางหนักตามคุณสมบัติของตระกูล อัลโลซอร์ มันมีญาติห่าง ๆ อย่าง ซอโรฟากาแน็กซ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า

โครงกระดูก

[แก้]

กระดูกสันหลังของ อัลโลซอร์รัส ได้รับการประมาณการ โดย James Madsen ว่ามีประมาณ 50 ชิ้น ขณะที่ Gregory Paul พิจารณาว่ามากเกินไปและแนะนำ 45 ชิ้น หรือน้อยกว่า โดยกระดูกของอัลโลซอร์รัส มีช่องกลวงในคอและกระดูกสันหลัง ช่องว่างดังกล่าวซึ่งพบได้ใน เทอโรพอดสมัยใหม่ (ซึ่งก็คือนก) กระดูกแขนมี 3 ข้อต่อ และปลายแขนได้ค่อนข้างสั้นกว่าแขน นิ้วมีสามนิ้ว ขาแข็งแรงเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เท้ามีนิ้วสามนิ้ว ด้วยร่างกายที่ผอมเพรียวและโครงกระดูกที่เต็มไปด้วยโพรงอากาศ ทำให้อัลโลซอรัสเป็นเทอโรพอดที่มีความว่องไวกว่า ไดโนเสาร์ในสกุล อัลโลซอร์ ส่วนใหญ่ เคยเชื่อว่ามันมักจะล่าพวกซอโรพอดทั่วไป แต่จากการศึกษา เชื่อว่า อัลโลซอรัสก็อาจจะดักซุ่มโจมตีเหยื่อขนาดกลางด้วย บางทีก็ล่า เทอโรพอดอื่นที่มีขนาดเล็กกว่า อย่าง เซอราโตซอรัส (อังกฤษ: Ceratosaurus) ถือเป็นนักล่าลำดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารยุคจูแรสสิก

ตัวอย่างจัดแสดง A. fragilis (AMNH 5753)

บิ๊กอัล (Big Al)

[แก้]
โครงกระดูกของ บิ๊กอัล ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

หนึ่งในตัวอย่างที่สำคัญมาก คือการพบ ฟอสซิล อัลโลซอรัส ในปี 1991 เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ถึง 95% และได้ถูกตั้งชื่อ ว่า บิ๊กอัล มีความยาว 8 เมตร (26ฟุต) ถูกค้นพบที่ รัฐไวโอมิงซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา โดยคณะนักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยไวโอมิง โดยร่วมกับพิพิธภัณฑ์ Rockies บิ๊กอัลเป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุด โดยโครงกระดูกส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์เพียง 87% เท่านั้น โดย สาเหตุการตายของ บิ๊กอัล เกิดจากการติดเชื้อที่และการบาดเจ็บที่กระดูกเท้าขวา ที่อาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวและการล่าเหยื่อ

อัลโลซอรัสมีการขุดพบเป็นซากฟอสซิลจำนวนมาก จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้มีการวิจัยรุดหน้าไปมาก จากการที่ขุดพบฟอสซิลกระดูกต่าง ๆ มากถึง 1,000 ชิ้นในแหล่งเดียว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า พวกมันมีพฤติกรรมล่าเหยื่อเป็นฝูง แบบ สิงโต หรือ สุนัขป่า ในปัจจุบัน เพื่อสามารถล้มไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ของยุคจูแรสสิกได้

ขนาดของอัลโลซอรัสเมื่อเทียบกับมนุษย์

การดำรงอยู่และสภาพแวดล้อม

[แก้]
มอร์ริสัน ฟอร์เมชัน (Morrison Formation) ชั้นหินตะกอนบนที่ราบสูงทางตะวันตกของโคโลราโด

มอร์ริสัน ฟอร์เมชัน ชั้นหินตะกอนที่พบในตะวันตกของสหรัฐอเมริกาแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในอเมริกาเหนือ อุดมไปด้วยฟอสซิลซากดึกดำบรรพ์ของสาหร่ายสีเขียว, รา, มอส, เฟิร์น รวมถึงการค้นพบฟอสซิลหอย ปลา, กบ จระเข้ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายชนิด รวมถึงไดโนเสาร์หลายสายพันธุ์ เทอโรพอด เช่น เซอราโตซอรัส, ทอร์วอซอรัส และซอโรพอด เช่น อะแพทโตซอรัส, บราคิโอซอรัส, คามาราซอรัส, และดิปโพลโดคัส ไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) เช่น แคมป์โทซอรัส และสเตโกซอรัส

อัลโลซอรัส กับ เทอโรพอด อื่นอย่าง เซอราโตซอรัส และทอร์วอซอรัส ทั้งในสหรัฐอเมริกาและโปรตุเกส ปรากฏว่ามีนิเวศที่แตกต่างกันตามกายวิภาคและตำแหน่งของซากดึกดำบรรพ์ในโปรตุเกส เซอราโตซอรัส และทอร์วอซอรัส จะอาศัยอยู่ไกล้กับแหล่งน้ำ และได้เปรียบใน สภาพแวดล้อม และภูมิประเทศ ทำให้กายวิภาคที่มีร่างกายสูงขึ้น กะโหลกศีรษะแคบฟันขนาดใหญ่กว้าง ในขณะที่อัลโลซอรัสมีพัฒนาร่างกายให้มีขนาดเล็กลง ขายาวขึ้นแต่คล่องแคล่วน้อยลง ทำให้อัลโลซอรัส อาจกลายเป็น อาหารของ เซอราโตซอรัส และทอร์วอซอรัส ได้จากการเสียเปรียบใน สภาพแวดล้อม และการมีขนาดให้เล็กลง ความคล่องแคล่วน้อย โดยมีฟอสซิลส่วนขาของ อัลโลซอรัส ที่มีรอยฟันของ เทอโรพอดอื่นอาจเป็น เซอราโตซอรัส และทอร์วอซอรัส โดยสรุปได้ว่า อัลโลซอรัส ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นดี จะมีขนาดร่างกายและความคล่องแคล่วเสียเปรียบ พวก เทอโรพอด อื่นที่เคยเป็นเหยื่อของมันอย่าง เซอราโตซอรัส และทอร์วอซอรัส

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chure, D.J.; Loewen, M.A. (2020). "Cranial anatomy of Allosaurus jimmadseni, a new species from the lower part of the Morrison Formation (Upper Jurassic) of Western North America". PeerJ. 8: e7803. doi:10.7717/peerj.7803. PMC 6984342. PMID 32002317.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]