(Translated by https://www.hiragana.jp/)
อาร์เตมิส - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

อาร์เตมิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Artemis)
อาร์เตมิส
เทพีแห่งการล่า พงไพรและเนินเขา จันทราและคันศร เทพีแห่งการกำเนิดน้ำขึ้นน้ำลง
ไดแอนาแห่งแวร์ซาย รูปถ่ายแบบโรมันของประติมากรรมกรีกโดยเลโอคารีส (พิพิธภัณฑ์ลูฟร์)
ที่ประทับยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์ดวงจันทร์, กวาง, สุนัขล่าเนื้อ, ธนูและลูกศร
ข้อมูลส่วนบุคคล
บิดา-มารดาซูสและลีโต
พี่น้องอะพอลโล
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในโรมันไดแอนา

อาร์เตมิส (กรีกโบราณ: Ἄρτεμις) หรือ อาร์ทิมิส (อังกฤษ: Artemis) เป็นหนึ่งในเทพีกรีกโบราณที่มีการบูชาแพร่หลายที่สุด เปรียบได้ดั่งเทพีไดแอนาของโรมัน[1] นักวิชาการเชื่อว่าทั้งพระนาม รวมทั้งองค์เทพเจ้าเอง เดิมมีมาแต่ก่อนสมัยกรีก[2] ชาวอาร์คาเดียเชื่อว่าพระนางทรงเป็นพระธิดาของดิมีเทอร์[3]

ในเทพปกรณัมกรีกสมัยคลาสสิก มักอธิบายว่าอาร์เตมิสทรงเป็นพระธิดาของซูสและลีโต และทรงเป็นพี่สาวฝาแฝดของอะพอลโล พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งการล่า สัตว์ป่า ป่าเถื่อน (wilderness) การคลอด พรหมจรรย์และผู้พิทักษ์หญิงสาว ผู้นำพามาซึ่งและผู้บรรเทาโรคในหญิง มักพรรณนาพระนางเป็นพรานหญิงถือธนูและลูกศรและเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์[4] กวางและต้นไซปรัสเป็นสัตว์และพืชศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง เมื่อนางได้รับความแพ้กับเทพีแห่งความมืดนางจะกลายเป็นจันทรุปราคา

เทพปกรณัม

[แก้]

วัยเด็ก

[แก้]

วัยเด็กของอาร์เตมิสไม่สัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ในเรื่องปรัมปราใด ๆ ที่เหลือรอด อีเลียดลดบุคลิกของเทพเจ้าผู้น่ากลัวลงเป็นบุคลิกของเด็กหญิงซึ่งร้องไห้และปีนพระเพลา (ตัก) ของซูส หลังถูกฮีราโบย[5] โคลงของแคลิมะคัส (Callimachus) ว่าด้วยเทพเจ้า "ผู้ทำให้พระองค์เองสนุกบนภูเขาด้วยการยิงธนู" จินตนาการบรรณพิลาส (vignette) ที่มีเสน่ห์บางอย่าง ตามแคลิมะคัส อาร์เตมิสขณะมีพระชนมายุได้สามพรรษา ทูลขอให้ซูสประทานพรพระนางหกข้อ ได้แก่ ให้พระนางครองพรหมจรรย์ตลอดกาล, ให้พระนางมีหลายนามเพื่อแยกกับพระอนุชา อะพอลโล, ให้ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งแสงสว่าง, ขอธนูและลูกธนู กับฉลองพระองค์คลุมรัดเอวเสมอพระชานุ (เข่า) เพื่อที่พระนางจะได้ล่าสัตว์, ขอ "ธิดาแห่งโอเซียเนิส" หกสิบตน ซึ่งทุกตนอายุได้ 9 ปี เพื่อเป็นนักร้องประสานเสียงของพระนาง, และขอนิมฟ์แอมนิซิเดส (Amnisides) ยี่สิบตนเป็นสาวใช้คอยเฝ้าหมาและธนูของพระนางระหว่างที่ทรงพักผ่อน พระนางไม่ประสงค์ให้มีนครใดอุทิศแด่พระนาง แต่ประสงค์ปกครองภูเขา และความสามารถช่วยหญิงในความเจ็บปวดแห่งการคลอด[6]

อาร์เตมิสทรงเชื่อว่าพระนางถูกมอยเร (โชคชะตา) เลือกให้เป็นนางผดุงครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะพระนางช่วยพระชนนีคลอดพระอนุชาฝาแฝด อะพอลโล[7] พระสหายของพระนางล้วนครองพรหมจรรย์ และอาร์เตมิสทรงระวังพรหมจรรย์ของพระนางเองอย่างใกล้ชิด สัญลักษณ์ของพระนางมีธนูและลูกศรสีทอง หมาล่าเนื้อ กวาง และดวงจันทร์ แคลิมะคัส[8]เล่าว่าอาร์เตมิสทรงใช้วัยเยาว์แสวงสิ่งที่พระนางจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นพรานหญิงอย่างไร พระนางได้ธนูและลูกศรมาจากเกาะลิพารา (Lipara) ที่ซึ่งฮิฟีสตัสและไซคลอปส์ทำงานได้อย่างไร

ธิดาของโอเซียเนิสเปี่ยมไปด้วยความกลัว แต่อาร์เตมิสในวัยเยาว์เข้าหาอย่างกล้าหาญและขอธนูและลูกธนู แคลิมะคัสเล่าต่อว่าอาร์เตมิสพบแพน พระเจ้าแห่งป่าซึ่งให้หมาตัวเมียเจ็ดตัวและหมาตัวผู้หกตัว ได้อย่างไร จากนั้น พระนางจับกวางเขาทองเพื่อลากรถเทียมของพระนาง อาร์เตมิสฝึกธนูโดยยิงต้นไม้ก่อนแล้วจึงยิงสัตว์ป่า[8]

โอไรออน

[แก้]

อาร์เตมิสเป็นที่สนใจของพระเจ้าและชายทั้งหลาย แต่มีเพียงพระสหายล่าสัตว์ โอไรออน ที่พิชิตพระพฤทัยของพระนางได้ บางฉบับเล่าว่า เขาถูกอาร์เตมิสฆ่า บ้างก็เล่าว่าเขาถูกแมงป่องที่ไกอาส่งมาฆ่า ในบางฉบับ โอไรออนพยายามล่อลวงโอพิส (Opis)[9] ผู้ติดตามตนหนึ่งของพระนาง พระนางจึงฆ่าเขา บางฉบับของอะเรทัส (Aratus)[10] โอไรออนฉวยฉลองพระองค์คลุมของอาร์เตมิส และพระนางฆ่าเขาเป็นการป้องกันพระองค์

อีกฉบับหนึ่ง อะพอลโลเป็นผู้ส่งแมงป่องมา ตามฮิไจนัส (Hyginus)[11] อาร์เตมิสเคยรักโอไรออน (ฉบับนี้ดูเหมือนเป็นส่วนที่เหลือหายากของพระนางที่เป็นเทพเจ้าก่อนโอลิมปัส ซึ่งมีคู่ครอง ดังเช่น อีออส ซึ่งขัดกับแหล่งข้อมูลภายหลัง) แต่ถูกอะพอลโลลวงให้ฆ่าเขา ซึ่ง "ปกป้อง" พรหมจรรย์ของพระเชษฐภคินี

ลักษณะ

[แก้]

อาร์เตมิสมีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผมสั้น หน้าตางดงาม อยู่ในชุดล่าสัตว์ทะมัดทแมงกระโปรงสั้น ชุดมักมีสีน้ำเงิน ในมือถือคันธนู

อ้างอิง

[แก้]
  1. Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.
  2. Rose, H. J. A Handbook of Greek Mythology, Dutton 1959, p. 112; Guthrie, W. C. K. The Greeks and Their Gods, Beacon 1955, p. 99.
  3. "Artemis". สืบค้นเมื่อ 2012-04-26.
  4. “Her proper sphere is the earth, and specifically the uncultivated parts, forests and hills, where wild beasts are plentiful" Hammond and Scullard (editors), The Oxford Classical Dictionary. (Oxford: Clarendon Press, 1970) 126.
  5. Iliad xxi.505-13;
  6. Hymn Around Artemis' Childhood
  7. On-line English translation.
  8. 8.0 8.1 Callimachus, Hymn III to Artemis 46
  9. "Another name for Artemis herself", Karl Kerenyi observes, The Gods of the Greeks (1951:204).
  10. Aratus, 638
  11. Hyginus, Poeticon astronomicon, ii.34, quoting the Greek poet Istrus.