ชั้นปลากระดูกแข็ง
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Osteichthyes)
ปลากระดูกแข็ง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 420–0Ma | |
---|---|
ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotes sp.) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นปลากระดูกแข็ง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ไฟลัมฐาน: | Gnathostomata |
ชั้นใหญ่: | Osteichthyes Huxley, 1880 |
ชั้นย่อย | |
ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, อังกฤษ: Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes
พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว
การจัดจำแนก
[แก้]- ชั้นย่อยแอกติโนเทอริกิไอ เป็นปลาที่มีก้านครีบ แบ่งย่อยได้เป็น
- คอนโดรสไต เป็นปลาโบราณ มีหนวดรอบปาก เช่น ปลาสเตอร์เจียน ซึ่งมีลักษณะคล้ายปลาฉลาม, ปลาแพดเดิลที่มีปากคล้ายปากเป็ด, ปลาที่มีถุงลมคล้ายปอด
- ฮอโลสไต เป็นปลาโบราณที่มีกระดูกสันหลังยกสูงขึ้นไปในครีบ เช่น ปลาการ์ไปค์, ปลาโบว์ฟิน
- เทโลสไต เป็นปลาที่พบส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีถุงลมช่วยในการลอยตัว
- ชั้นย่อยครอสโซเทอรีกิไอ มีครีบเป็นติ่งกลม มีถุงลมทำหน้าที่เป็นปอด เป็นบรรพบุรุษของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์, ปลามีปอด
ความแตกต่างระหว่างปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็ง
[แก้]ปลากระดูกอ่อน | ปลากระดูกแข็ง |
โครงสร้างเป็นกระดูกอ่อน มีแคลเซียมสะสมอยู่ ไม่มีเนื้อเยื่อของกระดูก | โครงกระดูก เกิดจากการสะสมของเซลล์กระดูก |
กระดูกหัวไม่มีร่อง | กระดูกหัวมีร่อง ประกอบด้วยกระดูกเป็นแผ่นแข็ง |
เหงือกมีเยื่อกั้น ทำให้มีช่องเปิดเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีกระดูกปิดเหงือก | เหงือกไม่มีเยื่อกั้น มีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ มีกระดูกปิดเหงือก |
เพศผู้มีเดือยหนึ่งคู่ (แคลสเปอร์) | ไม่มีแคลสเปอร์ |
ไม่มี[[กระเพาะปลา|] | ส่วนมากมีกระเพาะลม บาง[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับมีปอด (ปลอดภัย) |
มีทวารร่วม ซึ่งเป็นช่องเปิดร่วมของทวารและช่องสืบพันธุ์ | ไม่มีทวารร่วม มีช่องเปิดของทวาร และช่องสืบพันธุ์แยกกัน |
ลำไส้สั้น มีลักษณะเป็นบันไดเวียนหรือแบบม้วนเสื่อ | ลำไส้เป็นแบบธรรมดา |
เกล็ดแบบพลาคอยด์เรียงกันเป็นแผ่น (สาก) | เกล็ดมีหลายแบบ บางจำพวกไม่มีเกล็ด |
ครีบไม่มีก้านครีบ มีกระดูกอ่อนพยุง | ครีบมีก้านครีบ อาจเป็นก้านครีบแข็งหรือก้านครีบอ่อน |
ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว (เป็นไข่แต่ได้พัฒนาเป็นตัวในท้อง) | ส่วนมากออกลูกเป็นไข่ |
บางจำพวกมีสไปราเคิล (ท่อน้ำออก) | ไม่มีสไปราเคิล |
ไม่มีซอกฟันบนขากรรไกร | มีซอกฟันบนขากรรไกร |
หางเป็นแบบเฮเทอโรเซอคอล | หางเป็นแบบโฮโมเซอคอล |
กินสัตว์ทั้งสัตว์น้ำและแพลงก์ตอนเป็นอาหารทั้งหมด | กินทั้งสัตว์และพืช |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "มีนวิทยา: รหัสวิชา 03-041-104". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
- มนตรี แก้วเกิด. สัตววิทยา. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2554