ไถหนาน
นครไถหนาน Tâi-lâm | |
---|---|
เวียนขวาตามเข็มนาฬิกา: ใจกลางไถหนาน รูปปั้นวิศวกรโยะอิชิ ฮัตตะ รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายไถหนาน บะหมี่หาบ ป้อมโปรวินเทีย และดอกไม้ไฟที่เขตหยานฉุ่ย | |
สมญา: "เมืองหงส์" ( "เมืองมณฑล" ( | |
ประเทศ | ไต้หวัน |
ภาค | ตะวันตกเฉียงใต้ |
ศูนย์กลางการปกครอง | เขตอันผิง เขตซินหยิง[1] |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี (รักษาการ) | หลี่ เมิ่งยั่น ( |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 2,191.6531 ตร.กม. (846.2020 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ตุลาคม 2011) | |
• ทั้งหมด | 1,876,312 คน |
• ความหนาแน่น | 854.917 คน/ตร.กม. (2,214.22 คน/ตร.ไมล์) |
เขต | 37 |
นก | สาลิกาปากดำ (Pica hudsonia) |
ดอกไม้ | ยูงทอง (Delonix regia) |
ต้นไม้ | ยูงทอง (Delonix regia) |
เว็บไซต์ | Foreigner.tainan.gov.tw |
ไถหนาน (จีนตัวย่อ:
เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (
คำว่า "ไถหนาน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" (
ชื่อเก่าของไถหนานคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (
ประวัติ
[แก้]ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
[แก้]การขุดค้นทางโบราณคดีที่เขตจั่วเจิ้นทำให้ได้ข้อสันนิษฐานว่า มีผู้คนอยู่อาศัยในบริเวณไถหนานมาแล้วอย่างน้อยสองหมื่นปีถึงสามหมื่นหนึ่งพันปี จนคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวซีลาหย่า (
ครั้นปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 พ่อค้าและชาวประมงจากจีนแผ่นดินใหญ่เริ่มตั้งที่อยู่ที่ทำกินริมฝั่งตะวันตกของเกาะไต้หวัน รวมถึงบริเวณสันดอนคั่นหาดซินกั่ง และชาวจีนเหล่านั้นเรียกสันดอนดังกล่าวว่า "ต้า-ยฺเหวียน" มาจากภาษาซีลาหย่าแปลว่า ต่างชาติ ต่อมาชื่อนี้จึงใช้เรียกเกาะไต้หวันทั้งเกาะ ภายหลังมีผู้ถือว่า คำว่า "ไต้หวัน" มาจาก "ต้า-ยฺเหวียน" นี้เอง[4][5][6] นอกจากชาวจีนดังกล่าวแล้ว ยังมีชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งนิคมการค้าอยู่ด้านเหนือสันดอนต้า-ยฺเหวียน[5] ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นทั้งหลายเหล่านั้นพากันค้าขายกับชนพื้นเมือง โดยเฉพาะเกลือ เขากวาง และเนื้อกวางแห้ง ชนพื้นเมืองจึงค่อย ๆ ได้รับอิทธิพลในความเป็นอยู่มาจากชนชาติทั้งสอง เช่น รับคำจีนเข้ามาในภาษาพวกตน และใช้มีดหมอญี่ปุ่นในพิธีกรรมของกลุ่ม เมื่อชนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาเรื่อย ๆ ชนพื้นเมืองจึงเคลื่อนเข้ามาในพื้นที่บกมากขึ้น ครั้นเมื่อฝรั่งเข้ามาก็ปรากฏว่า วัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่นกลืนกินเกาะซึ่งเคยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนนี้ไปทั้งสิ้นแล้ว[5][7]
เมืองขึ้นวิลันดา
[แก้]ฝรั่งพวกแรก ๆ ที่เข้ามา คือ ชาววิลันดาซึ่งเดิมประสงค์จะยึดครองเกาะมาเก๊า และเกาะเผิงหู (澎湖; Pénghú) แต่ไม่สำเร็จ ในเดือนกรกฎาคม 1622 คอร์เนลิส เรเยิร์ซ (Cornelis Reyersz) พ่อค้าชาววิลันดาจากบริษัทอินเดียตะวันออก จึงล่องเรือมายังเกาะไต้หวันเพื่อหาชัยภูมิสำหรับตั้งนิคมการค้า จนปี 1624 เขาได้ตั้งป้อมเล็ก ๆ บนสันดอนต้า-ยฺเหวียนดังกล่าว เรียกชื่อว่า "ป้อมออเรนจ์" (Orange) เพื่อใช้เป็นที่มั่นต่อต้านคู่แข่งชาวสเปนและเป็นแหล่งค้าขายกับชาวจีนและชาวปัตตาเวียในอินโดนีเซีย ภายหลัง ป้อมดังกล่าวได้ขยายไปมากและเปลี่ยนชื่อเป็น "ป้อมวิลันดา" ป้อมนี้จึงกลายเป็นศูนย๋กลางการค้าของชาววิลันดากับชาวจีน ญี่ปุ่น และฝรั่งชาติอื่น[5][7]
เมื่อวิลันดาสถาปนาการปกครองขึ้นในนิคมการค้านั้นแล้ว ปีเตอร์ นุยส์ (Pieter Nuyts) ได้เป็นผู้ว่าการตั้งแต่ปี 1627 ถึง 1629 เวลานั้น เกิดความบาดหมางระหว่างพ่อค้าวิลันดากับพ่อค้าญี่ปุ่น นุยส์จึงถูกฮะมะดะ ยะเฮ (Hamada Yahee) พ่อค้าญี่ปุ่น จับเป็นตัวประกันไว้คราวหนึ่ง[7][8] ครั้นช่วงปี 1635 ถึง 1636 จึงมีกิจกรรมทางทูตเพื่อหย่าศึกบนเกาะ และปราบปรามชนพื้นเมืองทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ในปี 1642 กองทัพวิลันดาจึงเข้ายึดป้อมสเปนที่เมืองจีหลง (
แต่การที่ชาววิลันดาเข้าปกครองชนอื่น ๆ บนเกาะไต้หวันนั้นเป็นไปอย่างรีดนาทาเร้น ประกอบกับที่ชาววิลันดาร่วมปล้นแผ่นดินจีนในระหว่างราชวงศ์หมิงล่มสลาย ชาวจีนซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะไต้หวันจึงจงเกลียดจงชังวิลันดา นำไปสู่การนองเลือดในเหตุการณ์กบฏกัว ไหฺวอี (
อาณาจักรตงหนิง
[แก้]เมื่อราชวงศ์หมิงล่มสลายนั้น เจิ้ง เฉิงกง ขุนศึกจักรวรรดิหมิง ได้รวมกำลังหนีมายังเกาะไต้หวัน และเข้าโจมตีชาววิลันดาในปี 1661 หลังจากปิดล้อมป้อมวิลันดาไว้ถึงเก้าเดือน เฟรเดริก โกเย็ต (Frederik Coyett) ชาววิลันดาซึ่งเป็นผู้ว่าการไต้หวันอยู่ในขณะนั้น ก็ยอมแพ้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1662[5] เป็นอันสิ้นสุดการปกครองของวิลันดาซึ่งดำเนินมายาวนานสามสิบแปดปี จากนั้น เจิ้ง เฉิงกง ได้ใช้เกาะไต้หวันเป็นฐานที่มั่นสำหรับฟื้นฟูจักรวรรดิหมิงต่อไป เขาสถาปนาอาณาจักรขึ้นชื่อว่า "ตงตู" แปลว่า "กรุงบูรพา" (
เมื่อเจิ้ง เฉิงกง ตายในปี 1662 เจิ้ง จิง (
เมืองขึ้นจีน
[แก้]เมื่อเจิ้ง จิง ตายในปี 1681 มีการชิงอำนาจกันสืบ ๆ มา ราชวงศ์ชิงจึงอาศัยความวุ่นวายนี้ส่งกำลังเข้ายึดครองเกาะไต้หวัน ชือ หลัง (
ครั้นปี 1721 ชนชั้นรากหญ้าชาวจีนและชาวพื้นเมืองบนเกาะไต้หวันลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของราชวงศ์ชิงซึ่งดำเนินไปอย่างกดขี่ข่มเหง จู อีกุ้ย (
อุทกภัยในปี 1823 ทำให้โคลนเลนเจิ่งนองทั่วฝั่งแม่น้ำในเมืองไต้หวัน แต่นี้ก็ทำให้เกิดท้องดินกว้างขวางเหมาะแก่การเพาะปลูก ต่อมา มีการขุดลอกทะเลเพื่อสร้างระบบแม่น้ำเรียกว่า "คลองห้า" (
หลังจากที่เกาะไต้หวันงดติดต่อกับฝรั่งมายาวนานถึงหนึ่งร้อยเจ็ดสิบสี่ปี ราชวงศ์ชิงได้เปิดท่าเรือที่ตำบลอันผิงตามสนธิสัญญาเทียนจิน (
ในเดือนธันวาคม 1871 ชาวไผวัน (
พัฒนาการตลอดสองร้อยปีที่ผ่านมาทำให้เมืองไต้หวันกลายเป็นชุมชนใหญ่ที่สุดบนเกาะไต้หวัน วิลเลียม แคมป์เบล (William Campbell) อนุศาสนาจารย์ชาวสกอต พรรณนาสภาพเมืองในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1870 ไว้ว่า "เกี่ยวกับตัวเมืองไต้หวันนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า กำแพงอิฐรอบเมืองหนาราวสิบห้าฟุต สูงยี่สิบห้าฟุต และมีปริมณฑลราวห้าไมล์ มีการสร้างหอตรวจการณ์สูงตระหง่านบนประตูเมืองทั้งสี่ ส่วนพื้นที่กว้างขวางภายในเมืองนั้นใช้ประดิษฐานวัดหลวง และจวนหรือสำนักราชการบ้านเมืองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร แต่จำเป็นต้องดำเนินการตามแผนปรับปรุงเมืองไต้หวันอีกมาก แม้เดินทอดน่องไปเรื่อย ๆ ก็สุขใจได้อย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนห้างร้านทั้งหลายก็ช่างตกแต่งงามตายิ่งนัก ทว่า กฎระเบียบที่วางไว้ทำให้ถนนแคบเหลือเกิน ทั้งยังคดเคี้ยว ขรุขระ และเหม็นสาบเหม็นเน่าคละคลุ้ง"[12]
ครั้นปี 1885 รัฐบาลชิงได้กำหนดให้เกาะไต้หวันเป็นมณฑลใหม่ต่างหากจากมณฑลฝูเจี้ยน เรียกว่า "มณฑลไต้หวัน" เพื่อให้พัฒนาได้เร็วขึ้น แล้วย้ายเมืองหลวงจากเมืองไต้หวันไปยังไถจง (
เมืองขึ้นญี่ปุ่น
[แก้]ในปี 1895 รัฐบาลชิงรบกับรัฐบาลญี่ปุ่น นำไปสู่สงครามจีนญี่ปุ่นครั้งแรก และจีนแพ้ศึก รัฐบาลชิงจึงทำสนธิสัญญาหม่ากวัน (
ดังกล่าวมาแล้วว่า อาณาบริเวณซึ่งเป็นไถหนานในปัจจุบันนั้นเดิมมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ไต้หวัน" ก่อนที่ชื่อนี้จะกลายเป็นคำเรียกดินแดนทั้งเกาะ ส่วนชื่อ "ไถหนาน" นั้นใช้เรียกท้องที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการแต่เมื่อใดไม่ปรากฏชัด ทว่า เมื่อญี่ปุ่นได้ครองไต้หวัน ญี่ปุ่นใช้ไถหนานเป็นเมืองหลวงของเกาะไต้หวัน และเปลี่ยนชื่อเมืองนี้ในภาษาตนเองหลายครั้ง ในปี 1895 ใช้ว่า "ไทนังเก็ง" (Tainanken) ในปี 1901 ใช้ "ไทนันโช" (Tainanchō) และในปี 1920 ใช้ "ไทนันชู" (Tainanshū) ช่วงนั้น ไถหนานประกอบด้วยท้องที่ที่ปัจจุบันเป็นเทศมณฑลเจียอี้ (
อย่างไรก็ดี แม้ชนชั้นสูงจะยอมจำนน แต่ชนชั้นล่างไม่เห็นด้วยและสะสมความไม่พอใจเรื่อยมา ภายหลังก็ปะทุเป็นการลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 1915 โดยเริ่มที่ตำบลเจี้ยวปาเหนียน (噍吧哖; Jiaòbānián; Tapani) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตยวี่จิ่ง และมียฺหวี ชิงฟัง (
หลังสงครามโลก
[แก้]ต่อมาในปี 1912 ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบสาธารณรัฐ พรรคชาตินิยม (ก๊กมินตั๋ง) ได้เถลิงอำนาจในประเทศจีน และสามารถยึดเกาะไต้หวันคืนไปในปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เกาะไต้หวันจึงกลับไปเป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน และไถหนานมีสถานะเป็นเทศมณฑลหนึ่งของมณฑลไต้หวัน
ครั้นปี 1947 เกิดเหตุการณ์ใหญ่ในเทศมณฑลไถหนาน คือ กบฏ 228 จนวันที่ 11 มีนาคม 1947 ทัง เต๋อจัง (
ในปี 1949 เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศจีน ส่งผลให้พรรคสังคมนิยม (พรรคคอมมิวนิสต์) ได้เป็นใหญ่ พรรคสังคมนิยมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบสังคมนิยม และเรียกประเทศเสียใหม่ว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน และจัดตั้งการปกครองบนพื้นที่ไต้หวันแยกเป็นประเทศต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เรียกว่า "สาธารณรัฐจีน" แต่พรรคสังคมนิยมยังคงถือว่า พื้นที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทั้งสาธารณรัฐจีนเองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนปัจจุบัน
เมื่อจัดตั้งสาธารณรัฐจีนแล้ว รัฐบาลที่สถาปนาขึ้นได้จัดระเบียบการปกครองบนเกาะไต้หวันเสียใหม่ เทศมณฑลไถหนานเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและคณะเทศมนตรีจริง ๆ เป็นครั้งแรกในปี 1950 ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 มีการปรับปรุงท่าเกาสยฺง ทำให้เมืองเกาสฺยง (
การปกครอง
[แก้]วิธีปกครอง
[แก้]ปัจจุบัน ไถหนานเป็นนครปกครองโดยตรงซึ่งเป็นเขตปกครองชั้นสูงสุดตามกฎหมาย และใช้การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝ่ายบริหารมีนายกเทศมนตรี (
นครปกครองโดยครงแบ่งเขตปกครองออกเป็นเขต (
ศูนย์กลางการปกครองของนครไถหนาน คือ เขตอันผิงกับเขตซินหยิง เขตทั้งสองเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการเทศมณฑลซึ่งบัดนี้ใช้เป็นศูนย์ราชการ (administration center) เพื่อบริหารงานพัฒนาทั่วไป เช่น การศึกษา และการผังเมือง ส่วนในเขตที่เหลือมีสำนักงานเขต (district office) เพื่อให้พลเมืองสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้
อนึ่ง ถือกันว่า ไถหนานเป็นฐานอำนาจของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (
เขตปกครอง
[แก้]ไถหนานประกอบด้วยเขต 37 เขต ดังนี้
แผนที่ไถหนาน | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ที่ | ชื่อ | ประชากร (2010) |
พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | |||
ไทย | จีน | พินอิน | โรมัน (อย่างเป็นทางการ) หรืออังกฤษ | |||
1 | กวันเถียน | Guāntián | Guantian | 22,284 | 70.7953 | |
2 | กวันเมี่ยว | Guānmiào | Guanmiao | 36,109 | 53.6413 | |
3 | กุยเหริน | Guīrén | Guiren | 65,816 | 55.7913 | |
4 | เจียง-จฺวิน | Jiāngjūn | Jiangjun | 21,633 | 41.9796 | |
5 | เจียหลี่ | Jiālǐ | Jiali | 59,290 | 38.9422 | |
6 | ชันชั่ง | Shānshàng | Shanshang | 7,912 | 27.8780 | |
7 | ชั่นฮว่า | Shànhuà | Shanhua | 43,443 | 55.309 | |
8 | ชีกู่ | Qīgǔ | Qigu | 24,857 | 110.1492 | |
9 | ซิงอิ๋ง | Xīnyíng | Xinying | 78,155 | 38.5386 | |
10 | ซินชื่อ | Xīnshì | Xinshi | 34,794 | 47.8096 | |
11 | ซินฮว่า | Xīnhuà | Xinhua | 44,116 | 62.0579 | |
12 | ซีกั่ง | Xīgǎng | Xigang | 25,242 | 33.7666 | |
13 | เซี่ยอิ๋ง | Xiàyíng | Xiaying | 26,165 | 33.5291 | |
14 | ตงชัน | Dōngshān | Dongshan | 23,182 | 124.91 | |
15 | ตะวันตกกลาง | Zhōngxī | West Central | 79,286 | 6.2600 | |
16 | ตะวันออก | Dōng | East | 194,608 | 14.4281 | |
17 | ต้าเน่ย์ | Dànèi | Danei | 10,903 | 70.3125 | |
18 | ใต้ | Nán | South | 126,293 | 27.2681 | |
19 | เป่ย์เหมิน | Běimén | Beimen | 12,504 | 44.1003 | |
20 | ไป๋เหอ | Báihé | Baihe | 31,514 | 126.4046 | |
21 | ยฺวี่จิ่ง | Yùjǐng | Yujing | 15,442 | 76.366 | |
22 | ลุ่ยเจี่ย | Liùjiǎ | Liujia | 23,787 | 64.5471 | |
23 | ลุ่ยอิ๋ง | Liǔyíng | Liuying | 22,746 | 61.2929 | |
24 | สั่วเจิ้น | Zuǒzhèn | Zuozhen | 5,531 | 74.9025 | |
25 | เสฺวเจี่ย | Xuéjiǎ | Xuejia | 27,943 | 53.9919 | |
26 | หนานซี | Nánxī | Nanxī | 10,687 | 109.6316 | |
27 | หนานฮว่า | Nánhuà | Nanhua | 8,919 | 171.5198 | |
28 | เหนือ | Běi | North | 131,939 | 10.4340 | |
29 | หมาโต้ว | Mádòu | Madou | 45,953 | 53.9744 | |
30 | หย่งคัง | Yǒngkāng | Yongkang | 217,194 | 40.275 | |
31 | หยันฉุ่ย | Yánshuǐ | Yanshui | 27,220 | 52.2455 | |
32 | เหรินเต๋อ | Réndé | Rende | 69,228 | 50.7664 | |
33 | หลงฉี | Lóngqí | Longqi | 4,395 | 64.0814 | |
34 | อันติ้ง | Āndìng | Anding | 30,200 | 31.2700 | |
35 | อันผิง | Ānpíng | Anping | 62,520 | 11.0663 | |
36 | อันหนาน | Ānnán | Annan | 177,960 | 107.2016 | |
37 | โฮ่วปี้ | Hòubì | Houbi | 26,002 | 71.2189 |
วัฒนธรรม
[แก้]ไถหนานถือเป็นเมืองหลวงด้านวัฒนธรรมของไต้หวัน เพราะเป็นแหล่งโบราณสถาน ศาสนสถาน และภูมิปัญญาซึ่งเก่าแก่ที่สุดบนเกาะไต้หวัน นอกจากนี้ ไถหนานยังรักษาของกินอันเป็นเอกลักษณ์เอาไว้มาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ประเพณีชาวบ้าน
[แก้]พลเมืองไถหนานจำนวนมากผูกพันใกล้ชิดกับวัดและเทพยดาจีน เช่น บิดามารดามักพาบุตรไปไหว้นางฟ้าเจ็ดดาว (
นักเรียนนักศึกษาเมื่อจะสอบก็มักไปขอพรจากราชาเหวินชัง (
ส่วนพิธีมงคลสมรสในไถหนานนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อเพราะขั้นตอนพิถีพิถัน ขบวนแห่อึงมี่ และหน้าที่ของบ่าวสาวในการเตรียมข้าวของสิบสองประการซึ่งสื่อความหมายต่าง ๆ ให้เป็นของหมั้นแก่กัน ผู้คนเชื่อว่า ความสลับซับซ้อนนี้เป็นเครื่องสำแดงความเป็นอารยชาติ[14]
ประชาชนในเขตอันผิงยังมักติดรูปสิงห์คาบดาบ (
อาหารการกิน
[แก้]อาหารไต้หวันชื่อดังหลายตำรับกำเนิดที่ไถหนาน และเนื่องจากไถหนานเป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำตาลมาแต่โบราณกาล อาหารไถหนานจึงมักมีรสหวานกว่าอาหารในภูมิภาคอื่นของประเทศ ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ
- เกี๊ยวกุ้งเนื้อ (
蝦 仁 肉 丸 ; Xiārén Ròuwán; Shrimp and Meat Dumpling)
เป็นเกี๊ยวทำจากแป้งเหนียวหนึบ ใส่ไส้กุ้งและเนื้อโคหมักเปรี้ยว นึ่งสุกหรือทอดกรอบ รับประทานกับน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน - ขนมหีบศพ (
棺 材 板 ; Guāncái Bǎn; Coffin Bread)
เป็นขนมรูปสี่เหลี่ยมคล้ายหีบศพ ทำจากแป้งชุบไข่ทอดกรอบ ตรงกลางเจาะเป็นช่องใส่ไส้ เช่น เนื้อโคพริกไทยดำ หรือไก่ผัดผงกะหรี่ - ข้าวมัน (
油 飯 ; Yóu Fàn; Oily Rice)
เป็นข้าวเหนียวผัดกับน้ำมันส้ม น้ำมันงา ซีอิ๊ว หมูฝอย เห็ด และกุ้งแห้ง - บะหมี่ปลาไหล (鳝鱼
面 ; Shànyú Miàn; Eel Noodles)
เป็นบะหมี่ผัดกับปลาไหลนาทอดและหอมใหญ่ ปรุงรสเปรี้ยวหวาน - บะหมี่หาบ (擔仔麵; Dānzǐ Miàn; Tan-tsu Noodles)
เป็นบะหมี่น้ำ น้ำที่ใช้เป็นน้ำต้มกุ้ง บะหมี่ราดเต้าเจี้ยว น้ำส้มดำ และซีอิ๊ว โรยกระเทียมเจียวและผักชี แล้วใส่กุ้งและไข่พะโล้
อาหารที่โด่งดังในไถหนานหลายรายการทำจากปลานวลจันทร์ทะเล หรือที่ชาวไถหนานเรียก "ปลาราชสกุล" (
อนึ่ง ภัตตาคารร้านรวงจำนวนมากในไถหนานยังมีความเป็นมาย้อนไปถึงสมัยที่ไถหนานเป็นเมืองขึ้นราชวงศ์ชิงและเมืองขึ้นญี่ปุ่นด้วย[14]
วัดวาอาราม
[แก้]ไถหนานขึ้นชื่อเรื่องมีวัดมาก และบางแห่งเป็นชนิดซึ่งไม่ปรากฏที่ใดในเกาะไต้หวันอีก ศาสนสถานเลื่องชื่อนั้นเรียกรวมกันว่า "เจ็ดวัดแปดอาราม" (
วัดทั้งเจ็ด
[แก้]ที่ | ชื่อ | ความหมาย | ปี/สมัย ที่สร้าง | ||
---|---|---|---|---|---|
ไทย | จีน | พินอิน | |||
1 | ไค-ยฺเหวียนซื่อ | Kāiyuán Sì | วัดไค-ยฺเหวียน | 1690 | |
2 | จู๋ซีซื่อ | Zhúxī Sì | วัดเวฬุธาร | อาณาจักรตงหนิง | |
3 | ฉงชิ่งซื่อ | Chóngqìng Sì | วัดสหมงคล | ราชวงศ์ชิง | |
4 | ฝ่า-หฺวาซื่อ | Fǎhuá Sì | วัดสัทธรรมปุณฑริก | อาณาจักรตงหนิง | |
5 | หมีถัวซื่อ | Mítuó Sì | วัดอมิตาภ | อาณาจักรตงหนิง | |
6 | หลงชันซื่อ | Lóngshān Sì | วัดมังกรคีรี | ราชวงศ์ชิง | |
7 | หฺวังปั้วซื่อ | Huángbò Sì | วัดหฺวังปั้ว | ราชวงศ์ชิง |
อารามทั้งแปด
[แก้]ที่ | ชื่อ | ความหมาย | เทวดาประจำ | ปี/สมัย ที่สร้าง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไทย | จีน | พินอิน | ไทย | จีน | พินอิน | |||
1 | ฉุ่ยเซียนกง | Shuǐxiān Gōng | เก๋งเทพวารี | เทพวารี | Shuǐxiān | ราชวงศ์ชิง | ||
2 | ซื่อเตี่ยนอู่เมี่ยว | Sìdiǎn Wǔmiào | วิหารเทพสงคราม | กวัน ยฺหวี่ | Guān Yǔ | 1665 | ||
3 | ตง-ยฺเว่เตี้ยน | Dōngyuè Diàn | ตำหนักผาบูรพา | มัจจุราช | 閻羅 |
Yánluówáng | 1673 | |
4 | ต้าเทียนโฮ่วกง | Dàtiānhòu Gōng | เก๋งเจ้าแม่สวรรค์ | เจ้าแม่ทับทิม | 媽祖 | Māzǔ | อาณาจักรตงหนิง | |
5 | ฝู่เฉิงหฺวังเมี่ยว | Fǔchénghuáng Miào | อารามเสื้อเมือง | เสื้อเมืองไถหนาน | Fǔchénghuáng | 1669 | ||
6 | เฟิงเฉินเมี่ยว | Fēngshén Miào | อารามเทพวายุ | เทพวายุ | Fēngshén | 1739 | ||
7 | เย่าหวังเมี่ยว | Yàowáng Miào | อารามเทพโอสถ | มหาเทพหวง | Huáng Dàxiān | 1685 | ||
8 | หลงหวังเมี่ยว | Lóngwáng Miào | อารามนาคราช | นาคราชทะเลตะวันออก | Dōnghǎi Lóngwáng | 1716 |
พิพิธภัณฑ์และอุทยาน
[แก้]ไถหนานมีพิพิธภัณฑ์และอุทยานมากมายเพราะยังดำรงรักษาวัฒนธรรมหลายแขนงไว้เป็นอย่างดี ในบรรดาสถานที่เหล่านี้ ที่โด่งดังได้แก่
- ทัศนสถานแห่งชาติซีลาหย่า (
西 拉 雅 國家 風景 區 ; Xīlāyǎ Guójiā Fēngjǐng Qū; Siraya National Scenic Area) เป็นเขตรักษาทัศนียภาพ ครอบคลุมพื้นที่ 12 เขตของไถหนาน - พิพิธภัณฑ์ฉีเหม่ย์ (
奇 美 博物館 ; Qíměi Bówùguǎn; Chi Mei Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ด้านศิลปะ การดนตรี และประวัติศาสตร์ อยู่ที่เขตเหรินเต๋อ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติว่าด้วยประวัติศาสตร์ไต้หวัน (
國立 臺灣 歷史 博物館 ; Guólì Táiwān Lìshǐ Bówùguǎn; National Museum of Taiwan History) อยู่ที่เขตอันหนาน - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติว่าด้วยวรรณกรรมไต้หวัน (
國立 臺灣 文學 館 ; Guólì Táiwān Wénxuéguǎn; National Museum of Taiwan Literature) ตั้งอยู่ในศาลากลางหลังเก่า - อุทยานแห่งชาติไถเจียง (
台 江 國家 公園 ; Táijiāng Guójiā Gōngyuán; Taijiang National Park) กินพื้นที่ริมฝั่งส่วนใหญ่ของไถหนาน
สถานศึกษา
[แก้]อุดมศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัยคุนชัน (
崑 山科 技 大學 ; Kūnshān Kējì Dàxué; Kun Shan University)
เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน เดิมก่อตั้งเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีคุนชัน (Kun Shan Institute of Technology) เมื่อปี 1965 ก่อนยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี 2000 จัดการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ นิเวศวิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริหารธุรกิจ - มหาวิทยาลัยจั่งหรง (
長榮 大學 ; Zhǎngróng Dàxué; Chang Jung Christian University)
เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนสังกัดคณะเพรสไบทีเรียนไต้หวัน (Presbyterian Church in Taiwan) จัดการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก กับทั้งส่งเสริมกิจการศาสนาในไต้หวัน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไถหนาน (
臺 南 應用 科技 大學 ; Táinán Yngyòng Kējì Dàxué; Tainan University of Technology)
เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1964 และจัดการศึกษาระดับปริญญาในสาขาดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ - มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไต้หวันใต้ (
南台 科技 大學 ; Nántái Kējì Dàxué; Southern Taiwan University of Science and Technology)
เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1969 - มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไถหนาน (
國立 臺 南 藝術 大學 ; Guólì Táinán Yìshù Dàxué; Tainan National University of the Arts)
เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 มีวัตถุประสงค์ผลิตบัณฑิตด้านศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ การออกแบบภาพและเสียง สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะเชิงอนุรักษ์ ตลอดจนประวัติศาสตร์และการวิจารณ์ศิลปะ - มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง (
國立 成功 大學 ; Guólì Chénggōng Dàxué; National Cheng Kung University)
เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ เดิมจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเพาะช่างไถหนาน (Tainan Technical College) เมื่อปี 1931 ต่อมายกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งมณฑลเมื่อปี 1956 และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติตั้งแต่ปี 1971 ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเลื่องชื่อของไต้หวัน และโด่งดังด้านวิศวกรรมศาสตร์[16] - มหาวิทยาลัยแห่งชาติไถหนาน (
國立 臺 南 大學 ; Guólì Táinán Dàxué; National University of Tainan)
เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ เดิมจัดตั้งเป็นสถาบันผลิตครู (Institute of Teachers' In-service Education) เมื่อปี 1988 ต่อมายกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยครูแห่งชาติไถหนาน (National Tainan Teachers College) เมื่อปี 1991 และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติไถหนานตั้งแต่ปี 2004 - วิทยาลัยเทววิทยาไถหนาน (
臺 南 神學 院 ; Táinán Shén Xuéyuàn; Tainan Theological College and Seminary)
เป็นสถานศึกษาเอกชน ทอมัส บาร์เคลย์ อนุศาสนาจารย์ชาวอังกฤษ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1876[17]
มัธยมศึกษา
[แก้]- โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งชาติซินเฟิง (
國立 新豐 高級 中學 ; Guólì Xīn Fēng Gāojí Zhōngxué; National Hsin-Feng Senior High School)
เป็นโรงเรียนรัฐจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1929 - โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งชาติไถหนานสอง (
國立 臺 南 第 二 高級 中學 ; Guólì Táinán Dì Èr Gāojí Zhōngxué; National Tainan Second Senior High School)
เป็นโรงเรียนรัฐจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1914 ระหว่างที่ไต้หวันเป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่น - โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งชาติไถหนานหนึ่ง (
國立 臺 南 第 一 高級 中學 ; Guólì Táinán Dì Yī Gāojí Zhōngxué; National Tainan First Senior High School)
เป็นโรงเรียนรัฐจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1922 รับเฉพาะนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุดสามอันดับแรกในการทดสอบทางการศึกษาทั่วไป - โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งชาติเป่ย์เหมิน (
國立 北門 高級 中學 ; Guólì Běimén Gāojí Zhōngxué; National Pei Men Senior High School)
เป็นโรงเรียนรัฐจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1946 - โรงเรียนสตรีระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งชาติไถหนาน (
國立 臺 南 女子 高級 中學 ; Guólì Táinán Nǚzǐ Gāojí Zhōngxué; National Tainan Girls' Senior High School)
เป็นโรงเรียนรัฐจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1917
กีฬา
[แก้]ไถหนานเป็นที่อยู่ของสิงห์ยูนิ-เพรสซิเดนต์เซเว่นอีเลฟเว่น (
หมายเหตุ
[แก้]คำในภาษาพื้นเมือง
[แก้]- ↑
- อักษรจีนตัวเต็ม:
臺 南市 - พินอินภาษาจีนกลาง: Táinán Shì
- ภาษาฮกเกี้ยน: Tâi-lâm Tshī
- ภาษาแคะถิ่นซื่อเซี่ยน: Tǒi-nǎm Sii
- ภาษาแคะถิ่นไห่ลู่: Toi-nam Shi+
- อักษรจีนตัวเต็ม:
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "
臺 南市 政府 全 球 資 訊網". Tainan.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-18. สืบค้นเมื่อ 2013-01-23. - ↑ Chang, Winnie (April 1994). "Rise of the Phoenix?". Taiwan Today. สืบค้นเมื่อ 2012-01-10.
- ↑ "Tainan Confucian Temple". Council for Cultural Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-01. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 蔡玉
仙 等 編 .府 城 文 史 .臺 南市 政府 . ISBN 978-986-00-9434-3. - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6
石 守 謙 主 編 . Ilha Formosa: the Emergence of Taiwan on the World Scene in the 17th Century. National Palace Museum. ISBN 957-562-441-6. - ↑
加藤 光 貴著 黃 秉珩譯 .昨日 府 城 明星 台 南 :發現 日 治下 的 老臺 南 .臺 南市 文化 資產 保護 協會 . ISBN 978-957-28079-9-6. - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Murray A. Robinstein. Taiwan: a new history, expanded edition. M.E. Sharpe, Inc. ISBN 0-7656-1495-2.
- ↑ 8.0 8.1 8.2
加藤 光 貴著 黃 秉珩譯 .昨日 府 城 明星 臺 南 :發現 日 治下 的 老台 南 .臺 南市 文化 資產 保護 協會 . ISBN 978-957-28079-9-6. - ↑ "Anping Harbor National Historical Park". Tainan City Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-15. สืบค้นเมื่อ 2010-03-31.
- ↑ 蔡玉
仙 等 編 .府 城 文 史 .台 南市 政府 . ISBN 978-986-00-9434-3. - ↑ "Anping Harbor National Historical Park". Tainan City Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-14. สืบค้นเมื่อ 2010-03-25.
- ↑ William Campbell (1913). Sketches of Formosa. London: Marshall Brothers. pp. 16–17
- ↑ "
湯 德 章 ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17. - ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 "
台 南 市文 資 導 讀". Tainan City Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-12. - ↑ "Sword Lion". Anping Harbor National Historical Park. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-12.
- ↑ "Brief History". National Cheng Kung University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-20.
- ↑ "Introduction". Tainan Theological College and Seminary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-22. สืบค้นเมื่อ 2008-08-20.
- ↑ "Parking near the Municipal Stadium" (ภาษาจีน). Uni-President Lions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เทศบาลนครไถหนาน เก็บถาวร 2012-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การท่องเที่ยวนครไถหนาน เก็บถาวร 2012-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การขนส่งไถหนาน เก็บถาวร 2009-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คู่มือการท่องเที่ยว Tainan จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)