นาโงยะ
นาโงยะ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานที่ต่าง ๆ ในนครนาโงยะ | |||||||||||
แผนที่แบบโต้ตอบแสดงขอบเขตของนครนาโงยะ | |||||||||||
ที่ตั้งของ นครนาโงยะในจังหวัดไอจิ | |||||||||||
พิกัด: 35°11′N 136°54′E / 35.183°N 136.900°E | |||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||
ภูมิภาค | ชูบุ, โทไก | ||||||||||
จังหวัด | ไอจิ | ||||||||||
บันทึกทางการครั้งแรก | ค.ศ. 199 | ||||||||||
จัดตั้งเทศบาลนคร | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 | ||||||||||
การปกครอง | |||||||||||
• ประเภท | เทศบาลนคร | ||||||||||
• นายกเทศมนตรี | ทากาชิ คาวามูระ ( | ||||||||||
• สภาผู้แทนราษฎร | 5 เขต | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
• ทั้งหมด | 326.45 ตร.กม. (126.04 ตร.ไมล์) | ||||||||||
ประชากร (1 มีนาคม ค.ศ. 2023)[1] | |||||||||||
• ทั้งหมด | 2,322,598 คน | ||||||||||
• อันดับ | ที่ 3 | ||||||||||
• ความหนาแน่น | 7,115 คน/ตร.กม. (18,430 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
• รวมปริมณฑล[2] | 10,240,000 (ที่ 3) คน | ||||||||||
เขตเวลา | UTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 23100-2 | ||||||||||
โทรศัพท์ | 052-972-2017 | ||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 3-1-1 Sannomaru, Naka-ku, Nagoya-shi, Aichi-ken 460-0001 | ||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||
|
นาโงยะ | |||||
"นาโงยะ" เมื่อเขียนด้วยคันจิ | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
---|---|---|---|---|---|
คันจิ | |||||
ฮิรางานะ | なごや | ||||
คาตากานะ | ナゴヤ | ||||
|
นครนาโงยะ (ญี่ปุ่น:
ที่มาของชื่อ
[แก้]ชื่อของเมืองนั้น เดิมถูกเขียนเป็นตัวคันจิในรูป
ประวัติศาสตร์
[แก้]จุดกำเนิด
[แก้]โอดะ โนบูนางะ และบรรดาผู้ใต้การปกครองคือ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ กับ โทกูงาวะ อิเอยาซุ นั้นต่างเป็นขุนพลที่มีอำนาจบารมีจากการรวบรวมแผ่นดินญี่ปุ่นเป็นปึกแผ่นและพวกเขามีฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่นาโงยะ ต่อมา ภายหลังจากที่อิเอยาซุได้ปราบดาตนเองขึ้นเป็นโชกุนและสถาปนารัฐบาลเอโดะ ใน ค.ศ. 1610 อิเอยาซุได้ย้ายฐานที่มั่นไปที่บริเวณแคว้นโอวาริ (จังหวัดไอจิในปัจจุบัน) ซึ่งห่างจากเมืองคิโยซุราวเจ็ดกิโลเมตร เพื่อเหตุผลทางยุทธศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันคือเมืองนาโงยะ
ยุคเอโดะ
[แก้]ในยุคนี้ ได้มีการก่อสร้างปราสาทนาโงยะขึ้น ซึ่งวัสดุต่าง ๆ นำมาจากปราสาทคิโยซุ ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างนี้ พื้นที่บริเวณรอบเมืองคิโยซุเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรกว่า 60,000 คน ซึ่งภายหลังพวกเขาเหล่านี้ก็ได้ย้ายมาอยู่บริเวณรอบปราสาทนาโงยะที่สร้างขึ้นใหม่[3] ในช่วงเวลาเดียวกัน บริเวณใกล้กับศาลเจ้าอัตสึตะก็ถูกกำหนดให้เป็นจุดแวะพักที่เรียกว่า มิยะ (ศาล) บนถนนสายโทไกโดซึ่งเชื่อมระหว่างนครหลวงเกียวโตกับนครเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) เส้นทางสัญจรนี้ทำให้เกิดชุมชนขึ้นรอบศาลเจ้า
เข้าสู่อุตสาหกรรม
[แก้]นาโงยะกลายเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของภูมิภาค มีชุมชนเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้นมากมาย อาทิ แหล่งเครื่องปั้นดินเผาโทโกนาเมะ ทาจิมิ และเซโตะ ตลอดจนโอกาซากิที่เป็นแหล่งผลิตดินปืนภายใต้การกำกับของรัฐบาลเอโดะ อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ก็อาทิ การทอฝ้าย และตุ๊กตายนต์ที่เรียกว่า คามากูรินิงเงียว
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ในสงครามแปซิฟิก นาโงยะเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิด เนื่องจากนาโงยะเป็นหนึ่งในสามศูนย์กลางผลิตอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในเวลานั้น ประชากรของนาโงยะในช่วงนี้ประมาณการอยู่ที่ราว 1.5 ล้านคน และ 25% ของประชากรเป็นคนงานสายอาชีพผลิตอากาศยาน ราว 40-50% ของเครื่องยนต์และเครื่องบินรบของญี่ปุ่นถูกผลิตขึ้นที่นี่ นอกจากนี้ นาโงยะยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญ อาทิ อุปกรณ์รองลื่น อุปกรณ์ทางรางรถไฟ โลหะอัลลอย รถถัง รถยนต์ และอาหารแปรรูป ตลอดช่วงเวลาของสงครามโลก
การทิ้งระเบิดทางอากาศของสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 1942 โดยมีเป้าหมายที่โรงงานผลิตอากาศยานมิตซูบิชิ คลังน้ำมันมัตสึฮิเงโจ ค่ายทหารปราสาทนาโงยะ และ โรงงานยุทธภัณฑ์[4] บางครั้งก็ใช้ระเบิดเพลิงในการโจมตี การทิ้งระเบิดดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 1945 ในปฏิบัติการทิ้งระเบิดทางอากาศนี้ คำสั่งทิ้งระเบิดที่ 21ได้ใช้ระเบิดเพลิงไปกว่า 3,162 ตันซึ่งทำลายสถิติของกองทัพอากาศสหรัฐ คำสั่งนี้ได้ทำลายเป้าหมายไปได้กว่า 23 แห่งและทำให้พื้นที่ 1 ใน 4 ของเมืองเกิดเพลิงไหม้เสียหาย ปราสาทนาโงยะก็ถูกทำลายลงไปด้วยในวันที่ 14 พฤษภาคม 1945[5] ซึ่งได้มีการสร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1959
เขตการปกครอง
[แก้]นครนาโงยะแบ่งการปกครองออกเป็น 15 เขต ประกอบด้วย
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของนครนาโงยะ (ค.ศ. 1981–2010 และบันทึกรายงาน ค.ศ. 1891–2012) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 21.0 (69.8) |
22.6 (72.7) |
25.8 (78.4) |
30.5 (86.9) |
34.8 (94.6) |
35.8 (96.4) |
38.9 (102) |
39.9 (103.8) |
38.0 (100.4) |
32.7 (90.9) |
27.2 (81) |
21.3 (70.3) |
39.9 (103.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 9.0 (48.2) |
10.1 (50.2) |
13.9 (57) |
19.9 (67.8) |
24.1 (75.4) |
27.2 (81) |
30.8 (87.4) |
32.8 (91) |
28.6 (83.5) |
22.8 (73) |
17.0 (62.6) |
11.6 (52.9) |
20.7 (69.3) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 4.5 (40.1) |
5.2 (41.4) |
8.7 (47.7) |
14.4 (57.9) |
18.9 (66) |
22.7 (72.9) |
26.4 (79.5) |
27.8 (82) |
24.1 (75.4) |
18.1 (64.6) |
12.2 (54) |
7.0 (44.6) |
15.8 (60.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 0.8 (33.4) |
1.1 (34) |
4.2 (39.6) |
9.6 (49.3) |
14.5 (58.1) |
19.0 (66.2) |
23.0 (73.4) |
24.3 (75.7) |
20.7 (69.3) |
14.1 (57.4) |
8.1 (46.6) |
3.1 (37.6) |
11.9 (53.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −10.3 (13.5) |
−9.5 (14.9) |
−6.8 (19.8) |
−2.1 (28.2) |
2.8 (37) |
8.2 (46.8) |
14.0 (57.2) |
14.4 (57.9) |
9.5 (49.1) |
1.5 (34.7) |
−2.7 (27.1) |
−7.2 (19) |
−10.4 (13.3) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 48.4 (1.906) |
65.6 (2.583) |
121.8 (4.795) |
124.8 (4.913) |
156.5 (6.161) |
201.0 (7.913) |
203.6 (8.016) |
126.3 (4.972) |
234.4 (9.228) |
128.3 (5.051) |
79.7 (3.138) |
45.0 (1.772) |
1,535.4 (60.449) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 5 (2) |
8 (3.1) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
1 (0.4) |
14 (5.5) |
ความชื้นร้อยละ | 64 | 61 | 59 | 60 | 65 | 71 | 74 | 70 | 71 | 68 | 66 | 65 | 66.2 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 6.8 | 7.5 | 10.2 | 10.4 | 11.4 | 12.8 | 13.0 | 8.7 | 11.9 | 9.5 | 7.2 | 6.9 | 116.3 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 6.4 | 5.4 | 2.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 2.6 | 16.4 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 170.1 | 170.0 | 189.1 | 196.6 | 197.5 | 149.9 | 164.3 | 200.4 | 151.0 | 169.0 | 162.7 | 172.2 | 2,092.8 |
แหล่งที่มา 1: [6] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[7] (บันทึกรายงาน) |
การขนส่ง
[แก้]นาโงยะมีท่าอากาศยานอยู่สองแห่ง ท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ (NGO) ที่ก่อสร้างโดยการถมทะเลบริเวณเมืองโทโกมาเนะ ซึ่งท่าอากาศยานแห่งนี้มีเที่ยวบินระหว่างและเทศและเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก และท่าอากาศยานรองคือท่าอากาศยานนาโงยะ (ท่าอากาศยานโคมากิ) ซึ่งตั้งอยู่ในชานเมืองนาโงยะบริเวณเมืองโคมากิและคาซูงาอิ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2005 เที่ยวบินทั้งหมดได้ย้ายไปให้บริการที่ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ และสนามบินนาโงยะแห่งเก่านี้ถูกใช้เป็นฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกาและการบินทั่วไปและเป็นศูนย์บำรุงของฟูจิดรีมแอร์ไลน์
สถานีรถไฟนาโงยะนั้น ถือเป็นสถานีรถไฟที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้บริการในเส้นทางหลักคือ โทไกโด ชิงกันเซ็ง สายหลักโทไกโด และสายหลักชูโอ นอกจากนี้มีรถไฟสายอื่น ๆ อาทิ เมเต็ตสึและคินเต็ตสึที่เชื่อมต่อไปยังภาคโทไกและภาคคันไซ รถไฟใต้ดินเทศบาลนาโงยะคอยให้บริการเส้นทางภายในตัวเมือง
ท่าเรือนาโงยะนั้น ถือเป็นท่าเรือที่มีมูลค่าการขนส่งสินค้ามากที่สุดของญี่ปุ่น โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ก็ใช้ท่าเรือแห่งนี้ในการส่งออกรถยนต์และผลิตภัณฑ์ยานยนต์
-
สถานีขนส่งผู้โดยสาร โอเอซิส 21
-
สนามบินนาโงยะ (สนามบินเก่า)
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดสองแห่งของนาโงยะคือศาลเจ้าอัตสึตะและปราสาทนาโงยะ.[8]
- ศาลเจ้าอัตสึตะเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น (รองจากศาลเจ้าใหญ่อิเซะ) มีประวัติกว่าสองพันปี เป็นที่เก็บดาบซึ่งเชื่อกันว่าคือดาบ คูซานางิ ดาบเทพเจ้าที่ปรากฏในตำนานโคจิกิ และเป็นหนึ่งในไตรราชกกุธภัณฑ์แห่งญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามไม่มีการจัดแสดงสมบัติที่สำคัญที่สุดของชาติชิ้นนี้แก่สาธารณชน
- ปราสาทนาโงยะสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1612 แต่ก็ถูกเพลิงไหม้เสียหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปราสาทในปัจจุบันเป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จใน ค.ศ. 1959 และมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกหลาย ๆ อย่างอาทิ ลิฟท์ นอกจากนี้ พยัคฆ์มัสยาทองสองตัวบนหลังคาปราสาทแห่งนี้ ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของนครนาโงยะอีกด้วย
สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ประกอบด้วย
- วัดนิตไต หรือวัดญี่ปุ่น-ไทย วัดที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ อายุกว่าร้อยปี
- นาโงยะทีวีทาวเวอร์และสวนสาธารณะฮิซายะโอโดริ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของเขตซากาเอะ
- อาคารเจอาร์เซ็นทรัลบริเวณสถานีรถไฟนาโงยะ
- มิดแลนด์สแควร์: สำนักงานการค้านานาชาติแห่งใหม่ของโตโยต้า และยังมีชั้นชมวิวเปิดโล่งที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น[9]
- บริเวณท่าเรือนาโงยะ: เป็นที่ตั้งของศูนย์การค้า Italia Mura และพิพิธพันธ์สัตว์น้ำท่าเรือนาโงยะ (Port of Nagoya Public Aquarium)
- สวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์ฮิงาชิยามะ กับ ฮิงาชิยามะสกายทาวเวอร์
- พิพิธภัณฑ์โตโยต้า จัดแสดงเทคโนโลยีและประวัติอุตสาหกรรมของโตโยต้า ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟนาโงยะ
- โรงงานโนริตาเกะ: โรงงานเครื่องกระเบื้อง มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมา มีคาเฟ่ และร้านขายของที่ระลึก
- ย่านช็อปปิงโอซุ ตั้งอยู่ใกล้กับวัดโอซุคันนงและวัดบันโจ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะโทกูงาวะและสวนโทกูงาวะ สวนแบบญี่ปุ่นของโชกุนในยุคเอโดะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวิทยาศาสตร์นครนาโงยะ ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะชิระกะวะ ไม่ไกลจากสถานีรถไฟใต้ดินฟุชิมิ
- พิพิธภัณฑ์การเงินธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ[10]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]นครนาโงยะทำข้อตกลงเป็นเมืองแฝดกับห้าเมืองดังต่อไปนี้
- ลอสแอนเจลิส สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1959)
- เม็กซิโกซิตี เม็กซิโก (ตั้งแต่ ค.ศ. 1978)
- หนานจิง จีน (ยกเลิกเมื่อ ค.ศ. 2012)
- ซิดนีย์ ออสเตรเลีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1980)
- ตูริน อิตาลี (ตั้งแต่ ค.ศ. 2005)[11]
นาโงยะยังเป็นที่ตั้งของสถานทูตและสถานกงสุลของหลาย ๆ ประเทศ เป็นที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่จีน สถานกงสุลใหญ่เกาหลีใต้ สถานกงสุลใหญ่บราซิล สถานกงสุลใหญ่เปรู และยังมีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรไทยรวมอีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "
県民 文化 局 県民 生活 部 統計 課 " [กองสถิติ ฝ่ายชีวิตพลเมือง สำนักวัฒนธรรมพลเมืองจังหวัด]. จังหวัดไอจิ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-04-04. - ↑ Demographia
- ↑ "Kiyosu Castle". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
- ↑ The First Heroes by Craig Nelson
- ↑ Preston John Hubbard (1990). Apocalypse Undone. Vanderbilt University Press. p. 199.
- ↑ "
気象庁 /平年 値 (年 ・月 ごとの値 )". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. - ↑ "
観測 史上 1~10位 の値 (年間 を通 じての値 )". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. - ↑ "Nagoya Sightseeing". JapanVisitor. สืบค้นเมื่อ 2013-03-26.
- ↑ "Midland Square". December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-04-20.
- ↑ "The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ Money Museum". Nagoya International Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.
- ↑ Pessotto, Lorenzo. "International Affairs - Twinnings and Agreements". International Affairs Service in cooperation with Servizio Telematico Pubblico. City of Torino. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 2013-08-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- WikiSatellite view of Nagoya at WikiMapia