(Translated by https://www.hiragana.jp/)
นครของประเทศญี่ปุ่น - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

นครของประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงที่ตั้งของนครต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น (ไม่ได้แสดงฮกไกโดและโอกินาวะ)

นคร (ญี่ปุ่น: โรมาจิshi) ในประเทศญี่ปุ่น เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่ง นครจะอยู่ในระดับเดียวกับเมือง (ญี่ปุ่น: まちโรมาจิmachi) และหมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: むらโรมาจิmura) แต่จะต่างจากเมืองและหมู่บ้านคือ นครไม่เป็นส่วนของอำเภอ (ญี่ปุ่น: ぐんโรมาจิgun) แต่ละนคร เมือง และหมู่บ้านจะมีการพื้นที่และการบริหารงานแยกส่วนกันอย่างเป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งการปกครองในลักษณะนี้ถูกกำหนดขึ้นโดยกฎหมายจัดการตนเองของท้องถิ่น ค.ศ. 1947[1][2]

สถานะของนคร

[แก้]

มาตรา 8 ของกฎหมายจัดการตนเองของท้องถิ่นได้ตั้งเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในการกำหนดให้เทศบาลมีฐานะเป็นนคร

  • ต้องมีประชากรโดยทั่วไปเท่ากับ 50,000 คนหรือมากกว่า
  • อย่างน้อย 60% ของครัวเรือนจะต้องอยู่ในใจกลางพื้นที่เขตเมือง
  • อย่างน้อย 60% ของครัวเรือนจะต้องได้รับการว่าจ้างในการพาณิชย์ อุตสาหกรรม หรืออาชีพอื่น ๆ ภายในเมือง
  • ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่นที่กำหนดในข้อบัญญัติของจังหวัด

การยกฐานะเทศบาลจะได้รับการอนุมัติโดยผู้ว่าราชการจังหวัดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร

ในทางทฤษฎี นครสามารถถูกลดฐานะเป็นเมืองหรือหมู่บ้านได้หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่การลดฐานะยังไม่เคยเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน นครที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ อูตาชิไน จังหวัดฮกไกโด มีประชากรเพียงสามพันคน ในขณะที่เมืองในจังหวัดเดียวกัน โอโตฟูเกะ มีประชากรกว่าสี่หมื่นคน

ภายใต้พระราชบัญญัติบทบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบรวมเทศบาล (ญี่ปุ่น: 市町村しちょうそん合併がっぺい特例とくれいとうかんする法律ほうりつ) เกณฑ์จำนวนประชากรสำหรับการยกฐานะเป็นนคร 50,000 คน ได้รับการผ่อนปรนลงมาเหลือ 30,000 คน ในกรณีที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากการควบรวมเมืองและ/หรือหมู่บ้านเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกเทศบาลในการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ทำให้เทศบาลจำนวนมากได้รับการยกฐานะเป็นนครอันเนื่องมาจากเกณฑ์ที่ผ่อนปรนนี้ แต่ก็ยังมีเทศบาลที่ได้รับการยกฐานะเป็นนครอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในเขตเทศบาลนั้นเอง ไม่ได้มาจากการควบรวมกับเทศบาลอื่น เช่น โนโนอิจิ จังหวัดอิชิกาวะ ที่ได้รับการยกฐานะเป็นนครไปเมื่อ ค.ศ. 2011[3]

การจำแนกประเภทสำหรับนครขนาดใหญ่

[แก้]

คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถกำหนดให้นครที่มีประชากรอย่างน้อย 200,000 คนมีสถานะเป็นนครศูนย์กลางได้ หรือนครใหญ่ที่รัฐกำหนด หากมีประชากรเกินกว่า 500,000 คน สถานะของนครขนาดใหญ่เหล่านี้จะเป็นการเพิ่มขอบเขตอำนาจการบริหารบางประการ จากที่เดิมเป็นของจังหวัดก็จะมอบให้เทศบาลนคร

สถานะของโตเกียว

[แก้]

โตเกียว เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น เคยมีสถานะเป็นนครโตเกียวจนถึง ค.ศ. 1943 ในปัจจุบันกฎหมายได้จัดประเภทให้เป็นจังหวัดพิเศษที่เรียกว่า "มหานคร" (ญี่ปุ่น: โรมาจิtoทับศัพท์โทะ)[4] โดยมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัดโตเกียวเดิม อาณาบริเวณที่เคยเป็นนครโตเกียวได้รับการจัดตั้งใหม่เป็นเขตพิเศษของโตเกียวจำนวน 23 เขต แต่ละเขตจะมีสถานะการบริหารคล้ายคลึงกับเทศบาลนคร นอกจากนี้ มหานครโตเกียวยังมีนคร เมือง และหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตน

ประวัติศาสตร์

[แก้]

มีการริเริ่ม "ระบบนคร" (市制しせい shisei, ชิเซ) ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1888[5] และนำมาใช้ครั้งแรกในช่วงของ "การควบรวมครั้งใหญ่เมจิ" (明治めいじだい合併がっぺい Meiji no daigappei, เมจิโนะไดงัปเป) ค.ศ. 1889 "นคร" หรือ -ชิ ได้นำมาแทนที่ "เขต" หรืออำเภอในเมือง ( -ku, -คุ) ที่มีอยู่เดิมก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับเดียวกับอำเภอ หรืออำเภอในชนบท (-gun) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1878 เริ่มแรกเดิมทีมีนครเพียง 39 แห่งเท่านั้นใน ค.ศ. 1889 จังหวัดส่วนใหญ่มีเพียงนครแห่งเดียว บางจังหวัดมีนคร 2 แห่ง (ได้แก่ จังหวัดยามางาตะ โทยามะ โอซากะ เฮียวโงะ และฟูกูโอกะ) และบางจังหวัดไม่มีนครเลย โดยจังหวัดมิยาซากิเป็นจังหวัดสุดท้ายที่มีนครแห่งแรกเมื่อ ค.ศ. 1924 ในโอกินาวะและฮกไกโดซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้มีสถานะเทียบเท่ากับจังหวัดอย่างสมบูรณ์ในจักรวรรดิ เขตเมืองใหญ่ยังคงถูกจัดให้เป็น "เขต" จนกระทั่งทศวรรษ 1920 เขตนาฮะและเขตชูริ เขตในโอกินาวะ ก็ได้เปลี่ยนเป็นนครนาฮะและนครชูริเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1921 และ 6 เขตในฮกไกโดก็ได้เปลี่ยนมาเป็นนครที่เป็นอิสระจากอำเภอเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1922

มาจนถึง ค.ศ. 1945 จำนวนของนครทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 205 แห่ง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนนครก็ได้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงของ "การควบรวมครั้งใหญ่โชวะ" ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแซงหน้าจำนวนเมือง (まち) ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21[6] ณ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2018 ประเทศญี่ปุ่นมีนคร 792 แห่ง[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ministry of Internal Affairs and Communications, e-gov database of legal texts: Chihōjichihō เก็บถาวร 2005-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Ministry of Justice, Japanese Law Translation Database System: Local Autonomy Act เก็บถาวร 2021-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 野々市ののいちまち5まんにん達成たっせい 11がつ市制しせい施行しこう. Hokkoku Shimbun website (ภาษาญี่ปุ่น). Hokkoku Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2011. สืบค้นเมื่อ 6 September 2011.
  4. "Tokyo - City Guide". japan-guide. สืบค้นเมื่อ 3 September 2017.
  5. National Diet Library Nihon hōrei sakuin (日本法令にほんほうれい索引さくいん, "Index of Japanese laws and ordinances"): Entry 市制しせい, List of changes to the law and deliberative histories in the Imperial Diet of the laws that changed it เก็บถาวร 2019-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (no legislative history of the shisei itself as the law was decreed by the government in 1888 before the Imperial constitution took effect in 1890), List of other laws changed by it เก็บถาวร 2019-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน & entry for the revised 市制しせい of 1911, Legislative history of the bill in the Imperial Diet เก็บถาวร 2019-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Laws changing/abolishing it เก็บถาวร 2019-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Laws changed by it เก็บถาวร 2019-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. MIC: Timeline of number of municipalities since the Great Meiji mergers
  7. Zenkoku shichōkai (全国ぜんこく市長しちょうかい; nationwide association of city and special ward mayors)