(Translated by https://www.hiragana.jp/)
บีจีส์ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

บีจีส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บีจีส์
Bee Gees
บีจีส์ ในปี 1978 (จากบนลงล่าง) แบร์รี, โรบิน และ มอริซ กิบบ์
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดอังกฤษ แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ
ออสเตรเลีย บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
แนวเพลงป็อป ดิสโก้ บลู-อายด์ โซล
ช่วงปีค.ศ. 1958 – ค.ศ. 2003
ค.ศ. 2009 – ค.ศ. 2012
ค่ายเพลงFestival, Polydor, Atco, RSO, Warner Bros., Rhino
อดีตสมาชิกแบร์รี กิบบ์
โรบิน กิบบ์
มอริซ กิบบ์
โคลิน ปีเตอร์เซน
วินซ์ เมโลนีย์
จีออฟ บริดจ์ฟอร์ด
เว็บไซต์beegees.com

บีจีส์ (อังกฤษ: Bee Gees) ประกอบด้วยสามพี่น้องตระกูลกิ๊บส์ "มอริซ (Maurice), โรบิน (Robin), แบร์รี (Barry)" ทั้งสามคนเกิดที่เกาะมาน ประเทศอังกฤษ ในช่วงวัยเด็ก เขาอาศัยอยู่ในเขต คอลตัน,แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ก่อนที่เขาจะย้ายไปพำนักอยู่ที่ บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ในปลายยุค 1950 และเริ่มต้นทำวงดนตรีที่นั่น และหลังจากที่เขาประสบความสำเร็จกับซิลเกิ้ลเพลง Spicks and Specks (ภายหลังเป็นซิงเกิ้ลที่ 12 ของวง) บนเกาะออสเตรเลีย พวกเขาก็ตัดสินใจกลับไปที่ประเทศอังกฤษ ในเดือน มกราคม ค.ศ.1967 และเขาได้พบกับ โรเบิร์ต สติงวู้ด และเป็นโปรดิวเซอร์ของเขาเป็นต้นมา และทำให้พวกเขาโด่งดังไปทั่วโลก และมีงานเพลงที่ขายดีที่สุด ทำรายได้ถึง 220 ล้าน พวกเขาถูกบันทึกใน Rock and Roll Hall of Fame ในปี ค.ศ. 1997 ติดอันดับ 1 ใน 5 งานดนตรีที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์เพลงป็อป เป็นรองก็แต่งานของอภิมหาศิลปินอย่าง “เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley)” “เดอะ บีเทิลส์ (The Beatles)” “ไมเคิล แจ็กสัน (Michael Jackson)” “การ์ธ บรูกส์ (Garth Brooks)” และ “พอล แมคคาร์ตนีย์ (Paul McCartney)”

แต่หลังจากที่มอริซ กิบบ์ ได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันเมื่อ 12 มกราคม ค.ศ. 2003 แบร์รีและโรบิน กิบบ์จึงประกาศที่จะยุบวง บีจีส์ ลงอย่างเป็นทางการ ภายหลังครบรอบ 45 ปี ของวง แต่แล้วในปี ค.ศ. 2009 ทั้งแบร์รีและโรบิน กิบบ์ตกลงที่จะทำวง บีจีส์ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง[1] ต่อมาโรบิน กิบบ์ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ทำให้แบร์รี กิบบ์เป็นสมาชิกในวงเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่[2]

ประวัติ

[แก้]

สามพี่น้องตระกูลกิบบ์ส "มอริซ, โรบิน, แบร์รี" ทั้งสามคนเกิดที่เกาะมาน ประเทศอังกฤษ โดย มอริซและโรบินเป็นฝาแฝดกัน ปี 2498 สามพี่น้องกิบบ์ เริ่มโตพอที่จะออกตระเวนโชว์ความสามารถตามงานเทศกาล และรายการโทรทัศน์ต่างๆ โดยในช่วงนี้พี่น้องกิบบ์ใช้ชื่อวงหลายชื่ออาทิ “บูลแคตส์” และ “แร็ตเทิ้ล สเน็กส์” จนปี 2501 ต่อมาย้ายไปพำนักในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย พร้อมกับตั้งชื่อวงใหม่ว่า บีจีส์ (Bee Gees) ซึ่งย่อมาจากคำเต็ม ซึ่งคิดขึ้นจากดีเจวิทยุ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) จากการนำชื่อย่อของเขาเอง และของ บิลล์ กู๊ด (Bill Goode) (ที่เห็นพวกเขาแสดงที่ Speedway Circuit เมืองบริสเบน) -นำมารวมกัน- ดังนั้นจึงไม่ได้ตั้งจำเพาะเจาะจงหมายถึง "Brothers Gibb" ตามความเข้าใจกันส่วนใหญ่

ค.ศ. 1962 บีจีส์เซ็นสัญญาทำอัลบั้มชุดแรก “The Bee Gees Sing and Play 14 Barry Gibb Songs” กับสังกัด“เฟสทีฟเร็กคอร์ด” แต่ไม่ประสบความสำเร็จในออสเตรเลีย ทำให้พี่น้องกิบบ์ตัดสินใจไปประเทศอังกฤษ (แต่ภายหลัง เพลง Spicks and Specks กลับได้ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในหนังสือพิมพ์เพลง โก-เซ็ต ของออสเตรเลีย ในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1966 ) ต่อมาใน ค.ศ. 1966 ในยุคที่เดอะ บีทเทิลส์โด่งดังเป็นอันมาก พวกเขามีโอกาสได้ร่วมงานกับ “โรเบิร์ต สติกวู้ด” จนมีผลงานชุด “New York Mining Disaster 1941” ออกวางตลาดกลาง ค.ศ. 1967 อัลบั้มชุดนี้ติดอันดับบนชาร์ตเพลงยอดนิยมทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลง “To Love Somebody” และมีเพลงฮิตอื่นอย่าง “Holiday” มีเพลง "Word" ออกมาเป็นซิงเกิลฮิตในขณะนั้นด้วยแต่ไม่ได้อยู่ในอัลบั้ม "Bee Gees First" ชุดต่อมา "Horizontal" มีเพลงฮิตคือ "Massachusetts" และ "World" ชุดต่อมาก็ประสบความสำเร็จอีกเช่นกันก็คือ "Idea" มีเพลงฮิตอย่าง "I Started a Joke" และ "I've Gotta Get a Message to You" ส่วนอีกชุดต่อมา "Odessa"ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แล้ว โรบิน ก็ออกจากวงไปทำงานเดี่ยว เหลือแต่ แบรรี่กับมอริซ ในชุด "Cucumble castle" แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกันจนต้องยุบวง "The Bee Gees" ลงไป ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจะกลับมารวมตัวกันใหม่ใน ค.ศ. 1970 ในอัลบั้ม " Two years on" แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกันในช่วงที่ยุบวง มอริซเข้าไปหลงใหลในแวดวงสังคมคนดัง กับศิลปินซุปเปอร์สตาร์ยุคนั้น เช่น เดอะ บีทเทิ้ลส์,เดวิด โบวี่ และไมเคิล เคน มอริซได้สมรสกับ “ลูลู่” นักร้องเพลงป็อปชื่อดังที่วิวาห์กันใน ค.ศ. 1967 แต่ชีวิตคู่ก็ต้องพังทลายในปี ค.ศ. 1974 จนมาแต่งงานครั้งที่สองกับ “อีวอน สเปนเซอร์ลีย์” โรคติดเหล้าของมอริซจึงดีขึ้น มอริซกลับมาดื่มหนักอีกครั้ง เมื่อแอนดี้น้องชายคนเล็กเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 เพราะเสพยาเกินขนาด "The Bee Gees" ได้สร้างเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเพลงของบีจีส์คือ เป็นเพลงป็อปเน้นเสียงประสานด้วยเสียงหลอกบีบเสียงให้สูงผิดธรรมชาติหรือที่ เรียกว่า “ฟอลเซตโต” เริ่มในช่วงปี ค.ศ.1975 กับอัลบั้มที่ชื่อว่า "Main Course" ซึ่งประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก ชุดต่อมา "Children of the World" ก็ประสบความสำเร็จค่อนข้างมากเช่นกัน

ในยุคสมัยดนตรีดิสโก้เฟื่องฟู ชื่อเสียงบีจีส์ขจรขจายไปทั่วโลก ภายหลังปล่อยอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ “Saturday Night Fever” ที่มีจอห์น ทราโวตา แสดงนำประกอบด้วยเพลง “More Than A Woman” “Stayin' Alive” “Jive Talkin” ความสำเร็จได้รับการตอกย้ำด้วยอัลบั้ม “Spirits Having Flown” ปี 2522 ซึ่งมีเพลงอันดับ 1 อย่าง เพลง “Tragedy” ,“Too Much Heaven” และ “Love You Inside Out” จากนี้เองได้สร้างสถิติทำให้บีจีส์มีเพลงอันดับ 1 ในอเมริกาติดต่อกัน 6 เพลง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาร์ทเพลงอเมริกา (ซึ่งต่อมาวิทนีย์ ฮูสตันทำได้อีกครั้ง) อัลบั้มชุดนี้ทำยอดขาย 30 ล้านชุดทั่วโลก แต่เมื่อยุคดิสโก้ถึงคราวดับสูญในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แนวดนตรียุคนั้นก็เข้าสู่กระแสของ “พังก์ร็อกและนิวเวฟ” ชื่อเสียงของบีจีส์ก็เงียบตามไปด้วย แต่ก็มีเพลงฮิตบนเกาะอังกฤษในปี พ.ศ. 2530 กับเพลง “You Win Again” จากอัลบั้ม อี.เอส.พี. บีจีส์ ประคับประคองชื่อเสียงแบบเสมอตัวได้ต่อมาอีก 10 ปี และออกอัลบั้ม “Still Waters” ค.ศ. 1997 ซึ่งมีเพลงดังอย่าง “Alone” และมีอัลบั้มสตูดิโอชุดท้ายชื่อ "This is where i came in" ในปี ค.ศ.2001 เนื้อเพลง "The Bee Gees" จะเน้นบทเพลงในด้านความรัก และจะมีมุมมองแปลกๆจากบทเพลงที่พวกเขาได้แต่งขึ้น

  • มอริซ กิบบ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2003
  • โรบิน กิบบ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2012

บีจีส์ในประเทศไทย

[แก้]

ส่วนประเทศไทยเริ่มรู้จักบีจีส์ จากเพลง Melody Fair ในอัลบั้ม ‘Odessa’ ปี 2510 แต่ที่ถือว่าได้รับความนิยมจริงๆ เมื่อวงดนตรี “แกรนด์เอ๊กซ์” นิยมนำไปร้อง และบรรเลงในช่วงที่ยังเล่นดนตรีอยู่ที่แมนฮัตตัน คลับ ในยุคที่ยังมี “จำรัส เศวตาภรณ์” ทำหน้าที่ร้องนำระยะแรก จำรัสร้องเพลงบีบเสียงในสไตล์บีจีส์ แต่ไม่ได้รับการกล่าวขวัญมากนักจนกระทั่งเมื่อจำรัส ลาออกจากวงเพื่อไปทำธุรกิจของครอบครัว และได้ “แจ้-ดนุพล แก้วกาญจน์”เข้ามาเป็นนักร้องนำแทน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แกรนด์เอกซ์ได้ฉายา “บีจีส์เมืองไทย”

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sean Michaels (8 September 2009). "Bee Gees to re-form for live comeback". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 26 September 2009.
  2. "Robin Gibb, Bee Gees Co-Founder, Dead at 62". 20 May 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]