ฟาโรห์อินโยเตฟที่ 3
ฟาโรห์อินโยเตฟที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อินเตฟที่ 3, อันเตฟที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 บนภาพหินสลักแห่งซิลซิเลห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 8 ปี, 2069–2061 ปีก่อนคริสตกาล,[1] 2068—2061 ปีก่อนคริสตกาล,[2] 2063–2055 ปีก่อนคริสตกาล,[3][4] 2016–2009 ปีก่อนคริสตกาล[5] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อินเตฟที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เมนทูโฮเทปที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | ไออาห์, เฮนิเต[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | เมนทูโฮเทปที่ 2,[7] เนเฟรูที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | อินเตฟที่ 2[7] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | เนเฟรู-คาเยต[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | สุสานแถวในเอล-ทารีฟ รู้จักกันในชื่อว่า ซาฟ เอล-บาการ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ |
อินเตฟที่ 3 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สามจากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดในสมัยปลายช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสตกาล ในช่วงเวลานั้นอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์[8] พระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 8 ปี เหนือบริเวณอียิปต์บนและขยายพระราชอาณาเขตไปทางเหนือกับจรดกับพระราชอาณาเขตของฟาโรห๋แห่งราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์ หรือบางทีอาจจะแผ่ขยายไปทางเหนือไกลถึงเขตปกครองที่สิบเจ็ด พระองค์ทรงโปรดให้สร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างบนเกาะแอลเลเฟนไทน์[9] พระองค์ถูกฝังอยู่ในหลุมฝังพระศพแบบแถว (saff tomb) ขนาดใหญ่ที่เอล-ทารีฟ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ซาฟ เอล-บาร์กา[10]
พระราชวงศ์
[แก้]ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ โดยทราบจากโดยจารึกของทเจติ หัวหน้าฝ่ายพระคลังมหาสมบัติในรัชสมัยของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ซึ่งจารึกของทเจติได้กล่าวถึงการสวรรคตของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และอธิบายต่อไปว่าทเจติได้ทำงานรับใช้ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ที่ขึ้นครองราชบัลลังก์เมื่อพระราชบิดาของพระองค์เสด็จสวรรคตได้อย่างไร:
"จากนั้นเมื่อพระราชโอรสของพระองค์ขึ้นมาครองราชย์ต่อ, พระนามฮอรัส, นัคท์-เนบ-เทฟเนเฟอร์, ฟาโรห์แห่งอียิปต์บนและล่าง, พระราชโอรสแห่งเร, อินเตฟ, ต้นแบบแห่งความงาม, มีพระชนม์ชีพดั่งเร, ตลอดไป, ข้าติดตามพระองค์ไปยังที่ประทับแห่งความสุขทั้งหมดของพระองค์"
ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 อาจจะอภิเษกสมรสกับพระภคินีหรือพระขนิษฐาพระนามว่า ไออาห์ ซึ่งอธิบายว่าเป็นมารดาแห่งกษัตริย์ (mwt-nswt), ธิดาแห่งกษัตริย์ (sȝt-nswt) และนักบวชสตรีแห่งเทพีฮาธอร์ (ḥmt-nṯr-ḥwt-ḥr)[11] ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 เป็นพระราชโอรสของพระองค์ และได้รับการยืนยันเพิ่มเติมจากจารึกแห่งเฮเนนู (ไคโร 36346) ซึ่งเป็นข้าราชการที่ทำหน้าที่อยู่รัชสมัยภายใต้ฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และฟาโรห์อินเตฟที่ 3 และ "พระราชโอรส" ของพระองค์ ซึ่งในจารึกได้ระบุพระนามฮอรัส สอังค์อิบทาวี (s-ˁnḫ-[jb-tȝwy])[12][13] ซึ่งเป็นพระนามฮอรัสแรกของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 และหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่บันทึกเกี่ยวกับการเป็นพระราชบุพการีก็คือจารึกที่เกเบล เอล-ซิลซิเลห์ ในวาดิ ชาตต์ เออร์-ริกัล หรือที่รู้จักในชื่อ ภาพสลักหินแห่งซิลซิเลห์ ซึ่งแสดงภาพสลักที่ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่มีพระนางไออาห์และฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ทรงยืนห้อมล้อม[9]
นอกจากนี้ พระนางเนเฟรูที่ 2 พระมเหสีในฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ยังมีตำแหน่งเป็นธิดาแห่งกษัตริย์ และจารึกในหลุมฝังพระศพของพระองค์ได้สลักพระนามพระมารดาของพระองค์ว่า ไออาห์[14] ซึ่งอสดงให้ว่า พระองค์เป็นพระราชธิดาในฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และเป็นพระภคินีหรือพระขนิษฐาของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2[15]
รัชสมัย
[แก้]ฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาและผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ได้ครองราชย์เป็นระยะเวลา 49 ปี และฟาโรห์อินเตฟที่ 3 อาจจะขึ้นครองราชบัลลังก์ในช่วงวัยกลางคน[9] หรืออาจจะในช่วงวัยชรา[16] ถึงแม้ว่าพระนามของพระองค์จะสูญหายไปในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นไว้ในช่วงต้นยุคสมัยรามเสส แต่ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ยังคงหลงเหลืออยู่ในคอลัมน์ที่ 5 บรรทัดที่ 15[17] และบันทึกไว้ว่าครองราชย์เป็นระยะเวลา 8 ปี[9][18][19]
ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่เกี่ยวข้องของฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ในฐานะผู้สิบราชบัลลังก์แห่งอินเตฟที่ 2 และผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที 2 นั้นได้รับการคุ้มครองโดยการสืบเชื้อสายมาจากฟาโรห์ทั้งสองพระองค์นี้ เช่นเดียวกับบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินและหินบล็อกสองชิ้นจากวิหารแห่งเทพมอนทูที่เอล โตด[9] บล็อกหินเหล่านี้แสดงถึง การสืบทอดพระราชบัลลังก์จากฟาโรห์อินเตฟที่ 1 จนถึงฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 และในขณะที่พระนามฮอรัสของฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ได้รับความเสียหาย แต่ตำแหน่งของมันคงหลงเหลืออยู่[9] การกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อินเตฟที่ 3 มีความแน่นอนน้อยกว่าและมีการเสนอช่วงเวลาหลายช่วงด้วยกัน คือ ระหว่าง 2069–2061 ปีก่อนคริสตกาล[16], ระหว่าง 2063–2055 ปีก่อนคริสตกาล[20] และระหว่าง 2016–2009 ปีก่อนคริสตกาล[21]
กิจกรรมทางการทหาร
[แก้]ฟาโรห์ได้ขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาที่มีพระราชอาณาเขตที่ค่อนข้างใหญ่และสงบในอียิปต์บน[9] พระองค์ทรงมีกำลังทหารตลอดช่วงรัชสมัย[16] พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการปกป้องดินแดนที่พระราขบิดาของพระองค์มีชัยชนะเหนือที่นั้น ดังที่ นัคติ ซึ่งเป็นข้าราชการในช่วงเวลาดังกล่าวได้ยืนยัน ซึ่งหลุมฝังศพของเขาตั้งอยู่ที่อไบดอส และมีการค้นพบวงกบประตูที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์อินเตฟที่ 3[9] นอกจากนี้ พระองค์ยังได้พิชิตดินแดนทางเหนือของอไบดอส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองอัสยุต[16] และขยายพระราชอาณาเขตของพระองค์ไปจนถึงเขตปกครองที่สิบเจ็ดของอียิปต์บนด้วยเหตุนี้ "ทำให้พระราชวงศ์ของพระองค์มีอำนาจควบคุม ส่วนใหญ่ของอียิปต์บน"[20] หรือในอีกทางหนึ่ง กิจกรรมทางทหารดังกล่าวอาจจะประสบความสำเร็จในช่วงต้นรัชสมัยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์
กิจกรรมการก่อสร้าง
[แก้]วงกบประตูที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ถูกค้นพบบนเกาะแอลเลเฟนไทน์ในวิหารศักดิ์สิทธิ์แห่งเฮกาเยบ ซึ่งเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าที่ได้รับการยกย่องจากช่วงสมัยราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขาต้องได้รับพระราชโองการให้ทำหน้าที่ที่นั่น[22] และวงกบประตูอีกอันถูกค้นพบในวิหารแห่งเทพีซาเทตบนเกาะแอลเลเฟนไทน์เช่นกัน ซึ่งได้ยืนยันถึงกิจกรรมการก่อสร้างในที่แห่งนั้น[9]
หลุมฝังพระศพ
[แก้]พิกัดจุด : 25°44′12″N 32°38′11″E / 25.73667°N 32.63639°E
หลุมฝังพระศพของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ตั้งอยู่ในเอล-ทารีฟ บนฝั่งแม่น้ำไนล์ตรงข้ามเมืองธีบส์ หลุมฝังพระศพขนาดใหญ่หลายแห่งถูกค้นพบที่นี้ แต่จนกระทั่งการขุดค้นของสถาบันโบราณคดีแห่งเยอรมนีภายใต้การดูแลของดีเทอร์ อาร์โนลด์ระหว่างปี ค.ศ. 1970 จนถึง ปี ค.ศ. 1974 ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าหลุมฝังพระศพบางแห่งเป็นของใคร[10]
ถึงแม้ว่าจะไม่ค้นพบจารึกในหลุมฝังพระศพ (ยกเว้นหลุมฝังพระศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2) เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ ตำแหน่งของพระองค์ ร่วมกับการสืบทอดราชบัลลังก์ตามลำดับเวลาของผู้ปกครองในราชวงศ์ที่สิบเอ็ดที่ได้รับการยืนยันในภายหลัง นำไปสู่การแสดงที่มาของหลุมฝังพระศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ที่รู้จักในปัจจุบันว่าซาฟ เอล-บาร์กา[10] แต่หลุมฝังพระศพของritv'8Nมีลักษณะคล้ายกับหลุมฝังพระศพของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์[9] และประกอบด้วยลานกว้าง 75 ม. (246 ฟุต) และยาว 85 – 90 ม. (279–295 ฟุต) บนแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้หันหน้าเข้าหาทางน้ำ ลานกว้างล้อมรอบด้วยทุกด้าน ยกเว้นด้านตะวันออกโดยมีห้องหลายห้องที่ขุดลงไปในหิน[9][10][24] ลานภายในนำไปสู่ซุ้มสองเสาขนาดใหญ่รวม 48 เสาด้านหลังซึ่งมีห้องอื่น ๆ อีกมากมายตั้งอยู่
แม้ว่าสภาพของหลุมฝังพระศพจะเกิดการพังทลาย แต่การขุดค้นในปี ค.ศ. 1970 ได้แสดงให้เห็นว่า กำแพงของหลุมฝังพระศพแห่งนี้ต้องเคยปูด้วยหินทรายและประดับประดาด้วยเครื่องประดับ[25] ปัจจุบันหลุมฝังพระศพอยู่ใต้สิ่งปลูกสร้างของหมู่บ้าน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Margaret Bunson: Encyclopedia of Ancient Egypt, Infobase Publishing, 2009, ISBN 978-1438109978, available online, see p. 181
- ↑ Redford, Donald B., บ.ก. (2001). "Egyptian King List". The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 2. Oxford University Press. pp. 626–628. ISBN 978-0-19-510234-5.
- ↑ Gae Callender: The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055-1650 BC) in Ian Shaw (editor): The Oxford History of Ancient Egypt, Oxford University Press (2000), ISBN 9780191604621.
- ↑ Michael Rice: Who's Who in Ancient Egypt, Routledge 2001, p. 80, ISBN 978-0415154499
- ↑ Erik Hornung, Rolf Krauss, David A. Warburton editors: Ancient Egyptian Chronology, Brill, 2006, p. 491, available online
- ↑ 6.0 6.1 Peter A. Clayton: Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt, Thames & Hudson 2006, p. 72, ISBN 0-500-28628-0
- ↑ 7.0 7.1 Percy Newberry: On the Parentage of the Intef Kings of the Eleventh Dynasty, ZÄS 72 (1936), pp. 118-120
- ↑ Percy Newberry: On the Parentage of the Intef Kings of the Eleventh Dynasty, ZÄS 72 (1936), pp. 118-120
- ↑ 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 147-148
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Dieter Arnold: Gräber des Alten und Mittleren Reiches in El-Tarif (Archäologische Veröffentlichungen), Philipp von Zabern, Mainz 1976, ISBN 978-3805300469
- ↑ Joyce Tyldesley, Chronicle of the Queens of Egypt, Thames & Hudson. 2006, pp. 66-68. ISBN 0-500-05145-3
- ↑ J.J. Clere, J. Vandier, Textes de la premiere periode intermediaire et de la XIeme dynasty, 1st vol., Bibliotheca Aegyptiaca X. Complete Stele on p.21
- ↑ Henri Gauthier, Quelques remarques sur la XIe dynastie. , BIFAO 5, 1906, p.39
- ↑ William C. Hayes: The Scepter of Egypt I, New York 1953, ISBN 0870991906, p. 160, 327
- ↑ W. Grajetzki: Ancient Egyptian Queens, a hieroglyphic dictionary, p. 28, Golden House Publications, 2005, ISBN 978-0954721893
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 Margaret Bunson: Encyclopedia of Ancient Egypt, Infobase Publishing, 2009, ISBN 978-1438109978, available online, see p. 181
- ↑ Alan Gardiner, editor: Royal Canon of Turin. Griffith Institute, 1959. (Reprint 1988. ISBN 0-900416-48-3)
- ↑ W. Grajetzki: The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society, Duckworth, London 2006 ISBN 0-7156-3435-6, p. 15-17
- ↑ Column 5, row 15.
- ↑ 20.0 20.1 Michael Rice: Who's Who in Ancient Egypt, Routledge 2001, p. 80, ISBN 978-0415154499
- ↑ Erik Hornung, Rolf Krauss, David A. Warburton editors: Ancient Egyptian Chronology, Brill, 2006, p. 491, available online
- ↑ Sir Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs, Oxford University Press 1961, p. 120
- ↑ Herbert Winlock: "The Theban Necropolis in the Middle Kingdom", The American Journal of Semitic Languages and Literatures, Volume 32, available online copyright-free.
- ↑ See a map of the tomb here following Dieter Arnold.
- ↑ Nigel Strudwick, Helen Strudwick: Thebes in Egypt: A Guide to the Tombs and Temples of Ancient Luxor, Cornell University Press, 1999, p. 93, ISBN 0801486165, excerpts available online.