สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์
สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์เมื่อปีคริสต์ศักราช 1930 | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ | |||||
ครองราชย์ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 - 21 กันยายน ค.ศ. 1957 | ||||
ราชาภิเษก | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1906 โบสถ์นิดารอส ทร็อนไฮม์ | ||||
ก่อนหน้า | ออสการ์ที่ 2 | ||||
ถัดไป | โอลาฟที่ 5 | ||||
หัวหน้ารัฐบาล | |||||
นายกรัฐมนตรี | |||||
พระราชสมภพ | 3 สิงหาคม ค.ศ. 1872 โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก | ||||
สวรรคต | 21 กันยายน ค.ศ. 1957 ออสโล ประเทศนอร์เวย์ | (85 ปี)||||
ฝังพระศพ | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ป้อมปราการอาเกิชฮืส | ||||
คู่อภิเษก | ม็อดแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ | ||||
พระราชโอรส รายละเอียด | สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | กลึคส์บวร์ค | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก | ||||
พระราชมารดา | ลูอีสแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก | ||||
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ (พระนามเดิม เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กและไอซ์แลนด์ พระนามเต็ม คริสเตียน เฟรเดอริก คาร์ล จอร์จ วัลเดมาร์ แอกเซล; Christian Frederik Carl Georg Valdemar Axel, ต่อมาเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1872 - 21 กันยายน ค.ศ. 1957) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และ สมเด็จพระราชินีลูอีสแห่งเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1905 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์แรกหลังการยุบสหภาพระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนโดยการสลายรัฐร่วมประมุขร่วมกับสวีเดน พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์กลึคส์บวร์ค ในฐานะที่ทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเลือกตั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนได้ทรงชนะใจพสกนิกรด้วยความเคารพและความรักจากประชาชนของพระองค์ และทรงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์รวมจิตใจชาตินอร์เวย์ในการทำการต่อต้านกองทัพนาซีที่ทำการรุกรานและต่อมายาวนานอีกห้าปีทรงต่อต้านการที่นาซียึดครองนอร์เวย์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ในนอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงถือเป็นหนึ่งในชาวนอร์เวย์ที่มีความสำคัญสูงสุดในศตวรรษที่ 20 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับในความกล้าหาญของพระองค์ในระหว่างการรุกรานของเยอรมัน พระองค์ทรงขู่ว่าจะสละราชบัลลังก์ถ้ารัฐบาลร่วมมือกับผู้รุกรานชาวเยอรมัน และสำหรับความเป็นผู้นำของพระองค์ และยังทรงรักษาความเป็นสามัคคีของนอร์เวย์ได้ในระหว่างการยึดครองของเยอรมัน พระองค์เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมพรรษา 85 พรรษา ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1957 หลังจากทรงครองราชสมบัติมายาวนานเกือบ 52 ปี
ช่วงต้นพระชนม์ชีพในฐานะเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก
[แก้]เดิมในฐานะ เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์ก (ทรงได้รับการตั้งพระนามเหมือนกับพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์) พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และ สมเด็จพระราชินีลูอีสแห่งเดนมาร์ก นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระอนุชาในพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก และทรงฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระนัดดาในพระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน (ผู้ซึ่งทรงดำรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในฐานะ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4 แห่งนอร์เวย์) เจ้าชายคาร์ลทรงได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ก่อนที่พระราชบิดาและพระเชษฐาจะได้สืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก ในระหว่างรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงเห็นการสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กของพระราชบิดา, พระเชษฐา และพระนัดดา สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1906, ค.ศ. 1912 และ ค.ศ. 1947 ตามลำดับ
เจ้าชายคาร์ลประสูติที่พระราชวังชาร์ล็อตเทนลุนด์ใกล้โคเปนเฮเกน เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์กลึคส์บวร์คสายราชวงศ์โอเดนบูร์ก ราชวงศ์โอเดนบูร์กเป็นราชวงศ์ของพระบรมวงศานุวงศ์เดนมาร์กตั้งแต่ ค.ศ. 1448 ระหว่าง ค.ศ. 1538 ถึง ค.ศ. 1814 ราชวงศ์นี้ยังปกครองนอร์เวย์เมื่อนอร์เวย์กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ราชวงศ์นี้ดั้งเดิมมาจากเยอรมนีตอนเหนือ ที่ซึ่งสายราชสกุลกลึคส์บูร์ก (ลิคส์บอร์ก)มีที่ดินศักดินาเล็กๆ ราชสกุลรี้มีสายสัมพันธ์กับนอร์เวย์อย่างถาวรมาตั้งแต่ปลายยุคกลาง บรรพบุรุษหลายๆพระองค์ของเจ้าชายคาร์ลได้เป็นพระมหากษัตริย์ของนอร์เวย์ที่เป็นอิสระ (พระเจ้าโฮกุนที่ 5 แห่งนอร์เวย์, พระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งนอร์เวย์, พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1, พระเจ้าคริสเตียนที่ 3, พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2, พระเจ้าคริสเตียนที่ 4และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ผู้ทำการรวมนอร์เวย์เข้ากับรัฐราชวงศ์โอเดนบูร์กร่วมกับเดนมาร์ก, ชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ หลังจากที่ไม่ได้อิสรภาพจนกระทั่ง ค.ศ. 1814) เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริก ผู้ซึ่งได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ ในระยะเวลาสั้นๆของปี ค.ศ. 1814 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกภายใต้รัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ค.ศ. 1814 และการต่อสู้เพื่อเอกราช พระเจ้าคริสเตียน เฟรเดอริกเป็นพระเชษฐาในพระปัยยิกาของเจ้าชายคาร์ล
เจ้าชายคาร์ลทรงได้รับการอภิบาลแบบราชนิกุลในโคเปนเฮเกนและทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยราชนาวีเดนมาร์ก
ณ พระราชวังบักกิงแฮม ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1896[1] เจ้าชายคาร์ลทรงอภิเษกสมรสกับพระญาติชั้นหนึ่งคือ เจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ พระราชธิดาองค์สุดท้องในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งสหราชอาณาจักร อนาคตคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร กับอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก พระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์กและเจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล เจ้าชายคาร์ลและเจ้าหญิงม็อดทรงมีพระราชโอรสร่วมกันหนึ่งพระองค์คือ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ อนาคตคือ มกุฎราชกุมารโอลาฟแห่งนอร์เวย์ (และในที่สุดคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์) ซึ่งประสูติในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1903[1]
สืบราชบัลลังก์นอร์เวย์
[แก้]หลังจากสหภาพระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ได้มีการยุบเลิกในปี ค.ศ. 1905 คณะรัฐบาลนอร์เวย์ได้ระบุสมาชิกราชวงศ์จำนวนมากของยุโรปในฐานะว่าที่พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์แรกโดยของชาวนอร์เวย์เองในหลายศตวรรษ เจ้าชายคาร์ลได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ถูกเลือกอย่างทีละน้อย เนื่องจากโดยส่วนใหญ่พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์ก่อน ๆ ที่เป็นอิสระ อีกทั้งพระองค์ยังทรงมีพระราชโอรส (และด้วยเหตุนี้เป็นความชัดเจนในเรื่องรัชทายาทในราชบัลลังก์) และเจ้าหญิงม็อดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษซึ่งทรงถูกมองโดยมากในฐานะผลประโยชน์ของนอร์เวย์ชาติเอกราชแห่งใหม่
เจ้าชายคาร์ลผู้มีพระทัยฝักใฝ่ประชาธิปไตย ทรงตระหนักว่านอร์เวย์ยังคงมีการถกเถียงกันเรื่องการดำรงราชาธิปไตยหรือจะสลับเปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ พระองค์ทรงถูกยกยอโดยการเกริ่นนำของรัฐบาลนอร์เวย์ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีคริสเตียน มิเคิลเซน แต่พระองค์ทรงปฏิเสธข้อเสนอนี้ในเมื่อปราศจากการลงประชามติเพื่อแสดงว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวเลือกของชาวนอร์เวย์อย่างแท้จริง
หลังจากการลงประชามติราชาธิปไตยนอร์เวย์ ค.ศ. 1905 คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นถึง 79 เปอร์เซนต์ส่วนใหญ่ (สนับสนุนราชาธิปไตย 259,563 คน และต่อต้านราชาธิปไตย 69,264 คน)[2] โดยชาวนอร์เวย์ต้องการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ เจ้าชายคาร์ลทรงตอบรับข้อเสนอในราชบัลลังก์นอร์เวย์อย่างเป็นทางการโดยรัฐสภานอร์เวย์และทรงได้รับการเลือกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 เมื่อเจ้าชายคาร์ลทรงตอบรับข้อเสนอในเย็นวันเดียวกัน (หลังจากทรงได้รับการเห็นพ้องจากพระอัยกา พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก) พระองค์ทรงทำพระองค์ให้เป็นที่รักใคร่ในประเทศโดยทรงใช้พระนามในภาษานอร์สโบราณชื่อ "โฮกุน" (Haakon) เป็นพระนามที่พระมหากษัตริย์นอร์เวย์ในอดีตเคยใช้[3] ในการทำเช่นนั้นพระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระอนุชาในพระอัยกา (น้องชายของตา) คือ สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน ผู้ทรงสละราชบัลลังก์นอร์เวย์ในเดือนตุลาคม ตามมาด้วยข้อตกลงระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ในการยุบสหภาพ
พระราชวงศ์นอร์เวย์ได้เสด็จออกจากเดนมาร์กโดยเรือพระที่นั่งของเดนมาร์กชื่อ "เดนเนบอร์ก" และไปยังออสโลฟยอร์ด ที่ป้อมออสการ์บอร์กทุกพระองค์เสด็จไปโดยเรือพระที่นั่งนอร์เวย์ชื่อ "เฮล์มดัล" หลังจากการเดินทางเป็นเวลาสามวันทุกพระองค์ก็ได้เสด็จมาถึงกรุงคริสเตียเนีย (ออสโล) ในเช้าตรู่ของวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 สองวันต่อมา สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงสาบานพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและสมเด็จพระราชินีม็อดได้ถูกจัดขึ้นในมหาวิหารนิดารอสในเมืองทรอนด์เฮมในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1906[1]
ครองราชย์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
[แก้]สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงได้รับความนิยมมากจากชาวนอร์เวย์ พระองค์เสด็จประพาสทุกที่ของนอร์เวย์ พระองค์ทรงนับถือฟริดท์จอฟ นันเซนในฐานะพระสหายของพระราชวงศ์
สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน สมเด็จพระราชินีม็อดและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงเริ่มสนพระทัยการเล่นสกี กีฬาชนิดนี้มักถูกมองว่าเป็นกีฬาปกติของชาวนอร์เวย์ ทุกพระองค์มักถูกพบเห็นขณะที่กำลังทรงสกี ในเวลาต่อมามกุฎราชกุมารโอลาฟทรงชนะเลิศในการแข่งขันสกีกระโดด
ในปี ค.ศ. 1927 พระองค์ทรงกล่าวว่า
“ | ข้าพเจ้ายังเป็นกษัตริย์ของคอมมิวนิสต์อีกด้วย (ภาษานอร์เวย์: "Jeg er også kommunistenes konge")[4] | ” |
เนื่องจากพระองค์ทรงเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองหลังจากคริสโตเฟอร์ ฮอร์นส์รัดได้ถูกเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากพรรคแรงงาน ในปี ค.ศ. 1928 เป็นกระบวนการที่ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดสถานการณ์พิเศษของรัฐสภา
มกุฎราชกุมารโอลาฟได้อภิเษกสมรสกับพระญาติของพระองค์คือ เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดนในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1929 เจ้าหญิงทรงเป็นพระราชธิดาในเจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนกับเจ้าชายคาร์ล ดยุกแห่งเวสเตร์เกิตลันด์ มกุฎราชกุมารโอลาฟกับเจ้าหญิงมาร์ธาทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาร่วมกันสามพระองค์ได้แก่ เจ้าหญิงรัญฮิลด์ (ค.ศ. 1930 - ค.ศ. 2012), เจ้าหญิงอัสตริด (ค.ศ. 1932) และเจ้าชายฮารัลด์ (ค.ศ. 1937) ผู้ซึ่งจะทรงได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1991
สมเด็จพระราชินีม็อดสวรรคตในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ขณะเสด็จประพาสลอนดอนด้วยภาวะพระหทัยล้มเหลวอย่างไม่คาดฝัน สิริพระชนมพรรษา 68 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงรีบเสด็จมาจากนอร์เวย์เพื่อประทับเคียงข้างพระนางในวาระสุดท้าย พระบรมศพของสมเด็จพระราชินีม็อดได้ถูกนำกลับมาฝังที่นอร์เวย์
การต้านทานในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]นอร์เวย์ได้ถูกโจมตีทั้งทางเรือและทางอากาศโดยกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงแรกๆของวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 กองทัพเรือนาซีเยอรมันที่แยกออกไปเพื่อยึดครองกรุงออสโลต้องเผชิญกับป้อมปราการออสการ์บอร์ก ป้อมปราการได้ทำการยิงใส่ผู้รุกรานทำให้สร้างความเสียหายแก่เรือรบลึทโซว์และจมเรือลาดตระเวนหนัก เรือรบบลือเชอร์ โดยเยอรมันพบกับความเสียหายมากมายรวมทั้ง กองกำลังจำนวนมาก, หน่วยเกสตาโปและเจ้าหน้าที่ด้านการบริหารที่จะต้องเข้าไปยึดครองเมืองหลวงของนอร์เวย์ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การถอนทัพเรือขนาดเล็กของเยอรมัน ป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกเข้ายึดครองออสโลได้ในรุ่งอรุณตามที่เยอรมันคาดหวังไว้ ความล่าช้าของการใช้กองกำลังยึดครองออสโลของเยอรมัน พร้อมกับการดำเนินการที่รวดเร็วของประธานรัฐสภาคือ ซี.เจ ฮัมโบร สร้างโอกาสสำหรับพระราชวงศ์นอร์เวย์ คณะรัฐบาล และสมาชิกสภา 150 คน เพื่อให้เดินทางออกจากเมืองหลวงด้วยขบวนรถไฟพิเศษ
สมาชิกสภามาพบกันที่ฮามาร์ในตอนบ่ายวันเดียวกัน แต่การบุกอย่างรวดเร็วของกองทัพไรช์เยอรมัน ทุกคนได้ย้ายไปที่เอลวีรัม การประชุมสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งถูกเรียกว่า Elverumsfullmakten หรือ การให้อำนาจที่เอลวีรัม ได้นำมาซึ่งอำนาจเต็มของคณะรัฐมนตรีในการป้องกันประเทศจนกระทั่งเวลาที่วภาเรียกประชุมอีกครั้ง
วันต่อมา คูร์ท บรือเออร์ รัฐมนตรีเยอรมันที่นอร์เวย์ ได้เรียกร้องที่จะเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน นักการทูตเยอรมันได้เรียกร้องให้ชาวนอร์เวย์ยุติการต่อต้านและทำตามความต้องการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่เรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง วิดคัน ควิสลิงผู้นิยมระบอบนาซี ผู้ซึ่งได้ประกาศตนเป็นนายกรัฐมนตรีแทนที่นายกรัฐมนตรีโจฮัน นีการ์ดสวอลด์ในช่วงชั่วโมงแรกๆในออสโล ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลหุ่นเชิดของเยอรมัน บรือเออร์ได้แนะนำให้สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงทำตามแบบอย่างของพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระเชษฐาของพระองค์ที่ทรงยอมแพ้ต่อกองทัพนาซีก่อนที่กองทัพนาซีจะเข้าโจมตี และทำการขู่นอร์เวย์ด้วยเงื่อนไขที่รุนแรงถ้าไม่ยอมแพ้สงคราม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงตอบบรือเออร์ไปว่า พระองค์ไม่สามารถตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองได้ แต่ได้เพียงคำปรึกษาจากรัฐบาล ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญนอร์เวย์โดยปกติได้มอบพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ในการแสดงความรับผิดชอบขั้นสุดท้ายอย่างเช่นการมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง ในทางปฏิบัติเกือบจะทั้งหมดของการตัดสินพระทัยทางการปกครองล้วนมาจากรัฐบาล(รัฐบาลนอร์เวย์)ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
จากการประชุมที่เกี่ยวเนื่องทางความรู้สึกที่นีเบอร์ซุนด์ พระมหากษัตริย์ทรงแถลงคำขาดของฝ่ายเยอรมันต่อคณะรัฐมนตรีของพระองค์ ถึงแม้สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนจะไม่ทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระองค์ทราบว่าพระองค์สามารถใช้พระราชอำนาจทางศีลธรรมที่มีอิทธิพลต่อพระราชวินิจฉัย ดังนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนได้ตรัสต่อคณะรัฐมนตรีว่า
“ | ข้าพเจ้าได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้งโดยความรับผิดชอบที่วางอยู่บนข้าพเจ้าถ้าข้อเสนอของเยอรมันถูกปฏิเสธ ความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนและประเทศชาตินั้นรุนแรงมากอย่างแน่นอนซึ่งข้าพเจ้าเกรงกลัวที่จะกระทำมัน มันขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะตัดสินใจแต่ตำแหน่งของข้าพเจ้าเป็นที่ชัดเจน
สำหรับในส่วนตัวข้าพเจ้านั้นไม่สามารถยอมรับข้อเสนอของเยอรมันได้ มันจะเป็นการขัดแย้งกับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับการพิจารณาให้เป็นภาระหน้าที่ของข้าพเจ้าในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์นับตั้งแต่ข้าพเจ้าเดินทางมายังประเทศนี้เป็นเวลาเกือบจะ 35 ปีมาแล้ว[5] |
” |
สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงดำเนินการต่อที่ซึ่งทรงตรัสว่าพระองค์ไม่สามารถแต่งตั้งคณะรัฐบาลใดๆที่นำโดยควิสลิงได้เพราะพระองค์ทรงทราบว่าไม่มีผู้ใดในสภาที่เชื่อมั่นเขา อย่างไรก็ตามถ้าคณะรัฐมนตรีคิดเห็นเป็นอย่างอื่น พระมหากษัตริย์ทรงตรัสว่าพระองค์จะสละราชบัลลังก์เพื่อที่จะไม่ทรงยืนยันในการตัดสินใจของรัฐบาล
นีลส์ ฮเจล์มทวีท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาและศึกษาธิการ ได้บันทึกในภายหลังว่า "นี้ได้สร้างความประทับใจที่ยิ่งใหญ่กับพวกเราทุกคน ชัดเจนมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อนที่เราจะได้เห็นคนที่อยู่เบื้องหลังคำเหล่านี้ พระมหากษัตริย์ทรงได้วาดเส้นให้กับพระองค์เองและงานของพระองค์ เส้นจากการที่พระองค์ไม่สามารถเบี่ยงเบนได้ พวกเรามีเวลาในห้าปีที่ผ่านมา[ในรัฐบาล]ในการเรียนรู้ที่จะเคารพและชื่นชมในพระมหากษัตริย์ของเราและตอนนี้ ผ่านพระราชดำรัสของพระองค์ที่ทรงให้พวกเราได้กลายเป็นคนดี ยุติธรรมและหนักแน่น ทรงเป็นพระประมุขในช่วงเวลาที่เลวร้ายเหล่านี้ที่ประเทศของพวกเรา"[6]
แรงบันดาลใจจากการยืนกรานของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน รัฐบาลได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คำแนะนำแก่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนไม่ให้ทรงแต่งตั้งรัฐบาลใดๆที่นำโดยควิสลิง ภายในไม่กี่ชั่วโมง ได้มีการโทรศัพท์ไปปฏิเสธข้อเสนอของบรือเออร์ ในคืนนั้นสถานีโทรทัศน์เอ็นอาร์เคได้ออกอากาศการปฏิเสธของรัฐบาลต่อชาวนอร์เวย์ ในประกาศเดียวกัน รัฐบาลประกาศว่าพวกเขาจะทำการต่อต้านการโจมตีของเยอรมันให้นานที่สุด และแสดงความเชื่อมั่นของพวกเขาที่จะได้รับการสนับสนุนจากชาวนอร์เวย์
เช้าวันต่อมาของวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1940 เครื่องบินทิ้งระเบิดลุฟท์วัฟเฟอได้โจมตีนีเบอร์ซุนด์ ได้ทำลายเมืองเล็กที่ซึ่งรัฐบาลนอร์เวย์พำนักอยู่ในความพยายามกวาดล้างพระมหากษัตริย์และรัฐบาลนอร์เวย์ที่หนักแน่น พระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรีได้เข้าไปหลบป่าที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและหนีจากอันตรายอย่างต่อเนื่องไกลออกไปผ่านถูเขามุ่งหน้าสู่มอลเดทางชายผั่งตะวันตกของนอร์เวย์ กองทัพอังกฤษในพื้นที่ภาตพื้นดินได้สูญเสียจากการทิ้งระเบิดของลุฟท์วัฟฟ์ พระมหากษัตริย์และคณะของพระองค์ทรงถูกนำขึ้นเรือของอังกฤษ เฮสเอ็มเอส กลาสโกว์ที่มอลเดและลำเลียงต่อไปอีก 1000 กิโลเมตรทางเหนือที่ทรมเซอที่ซึ่งเป็นเมืองหลวงเฉพาะกาลในวันที่ 1 พฤษภาคม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงประทับในกระท่อมในป่าในหุบเขามัลเซลวีดาเลนในทรมส์ตอนใน ที่ซึ่งทุกพระองค์ต้องประทับอยู่ที่นี่จนกว่าอพยพไปยังสหราชอาณาจักร ในขณะที่ประทับในทรมเซอทั้งสองพระองค์ได้รับการคุ้มครองจากสมาคมปืนไรเฟิลท้องถิ่นซึ่งใช้ปืนคร้าก-จอร์เกนเซนอย่างแพร่หลาย
ฝ่ายสัมพันธมิตรมีการรักษาความปลอดภัยทั่วทุกที่ของภาคเหนือนอร์เวย์จนกระทั่งปลายเดือนพฤษภาคมแต่สถานะของสัมพันธมิตรในยุทธการฝรั่งเศสได้เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว กองทัพสัมพันธมิตรในภาคเหนือของนอร์เวย์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ดีและได้ถูกถอนกำลังออก พระราชวงศ์ที่ลำบากและรัฐบาลที่สูญเสียความมั่นใจได้อพยพจากทรมเซอในวันที่ 7 มิถุนายน ขึ้นเรือเฮสเอ็มเอส เดวอนเชียร์และหลังจากการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ภายใต้การคุ้มครองจากเรือเฮสเอ็มเอส กลอเรียส, เฮสเอ็ทเอส อคัสตาและเฮสเอ็มเอส อาร์เดนท์อย่างปลอดภัยถึงลอนดอน สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและรัฐบาลได้ประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในเมืองหลวงของอังกฤษ
ในขั้นต้น สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่พระราชวังบักกิงแฮม แต่เมื่อเริ่มต้นเดอะบลิตซ์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ทุกพระองค์ได้ย้ายไปที่บ้านโบว์ดาวน์ในบาร์กเชอร์ การก่อสร้างของสถานที่ที่อยู่ติดกันอย่างสนามบินอาร์เอเอฟ กรีนแฮม คอมมอนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 ทำให้ต้องย้ายอีกครั้งไปที่ฟอลีโจนปาร์คในวิงก์ฟิลด์ใกล้กับวินด์เซอร์ ซึ่งทรงประทับอยู่ที่นั่นจนกระทั่งการปลดปล่อยนอร์เวย์[7] ที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์คือสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ที่บ้านเลขที่ 10 เคนชิงตันพาร์เลซการ์เดนส์, เคนชิงตัน ที่ซึ่งการเป็นที่พำนักของรัฐบาลพลัดถิ่นนอร์เวย์ ที่นี่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกอาทิตย์และทรงมีกระแสพระราชดำรัสเป็นประจำทางวิทยุไปยังนอร์เวย์โดยบีบีซีเวิลด์เซอร์วิส การออกอากาศเหล่านี้ได้ช่วยประสานสถานะของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนในฐานะสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งชาติในการเคลื่อนไหวต่อต้านของชาวนอร์เวย์[8] การออกอากาศหลายครั้งมาจากโบสถ์เซนต์โอลาฟนอร์วีเจียนในร็อทเทอร์ฮิทที่ซึ่งพระราชวงศ์เสด็จไปนมัสการเป็นประจำ[9]
ในขณะที่ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งโยเซฟ แทร์โบเฟินเป็นไรซ์คอมมิซซาร์ประจำนอร์เวย์ บนคำสั่งของฮิตเลอร์ เตอร์โบเวนได้พยายามบังคับให้รัฐสภาถอดถอนพระมหากษัตริย์ แต่รัฐสภาปฏิเสธด้วยการอ้างหลักการตามรัฐธรรมนูญ คำขาดได้ถูกยื่นโดยเยอรมันภายใต้การคุกคามให้ใช้แรงงานหนักแก่ชาวนอร์เวย์ในอายุราชการทหารที่ค่ายกักกัน[10] ด้วยภัยคุกคามที่ใกล้จะมาถึงนี้ ตัวแทนรัฐสภาในกรุงออสโลได้เขียนจดหมายถึงพระมหากษัตริย์เพื่อขอให้พระองค์สละราชบัลลังก์ในวันที่ 27 มิถุนายน พระมหากษัตริย์ทรงตอบอย่างสุภาพว่ารัฐสภาก็อยู่ภายใต้การข่มขู่ ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้ พระมหากษัตริย์ทรงตอบในวันที่ 3 กรกฎาคม และทรงแถลงการณ์ในวิทยุบีบีซีในวันที่ 8 กรกฎาคม[11] หลังจากความพยายามของเยอรมันในเดือนกันยายนที่ข่มขู่ให้รัฐสภาถอดถอนสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนเป็นอันล้มเหลว เตอร์โบเวนได้ออกประกาศในที่สุดว่าพระราชวงศ์ "หมดสิทธิ์ที่จะกลับมา" และทำลายพรรคการเมืองจากประชาธิปไตย
ในระหว่างห้าปีของการยึดครองนอร์เวย์ของเยอรมัน ชาวนอร์เวย์จำนวนมากแอบสวมใส่เสื้อผ้าและเครื่องประดับที่มาจากเหรียญตราสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่บันทึกว่า "H7"ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านการยึดครองนอร์เวย์ของนาซีเยอรมนีและสร้างความเป็นปึกแผ่นด้วยพระมหากษัตริย์และรัฐบาลพลัดถิ่น เช่นเดียวกับประชาชนจำนวนมากในประเทศเดนมาร์กที่ใส่เข็มกลัดพระปรมาภิไธยย่อของพระเชษฐาของพระองค์คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ได้ถูกวาดขึ้นด้วยเช่นกันและวาดซ้ำบนพื้นผิวต่างๆเพื่อแสดงการต่อต้านการยึดครอง[12]
หลังจากสิ้นสุดสงคราม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและพระราชวงศ์ได้เสด็จกลับนอร์เวย์ด้วยเรือเฮสเอ็มเอส นอร์โฟล์ก การมาถึงด้วยกองเรือรบแรกได้รับการต้อนรับจากฝูงชนในกรุงออสโลวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1945[13] เป็นเวลาห้าปีให้หลังหลังจากทรงอพยพออกมาจากทรมเซอ
ยุคหลังสงครามและสวรรคต
[แก้]ในปี ค.ศ. 1947 ชาวนอร์เวย์โดยการลงนามได้ทำการซื้อเรือยอร์ช HNoMY Norgeแก่พระมหากษัตริย์ (ในปี ค.ศ. 2012 มีเพียงเรือยอร์ชหลวงสองลำเท่านั้นที่ราชวงศ์ในยุโรปเป็นเจ้าของ โดยอีกลำหนึ่งเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน)
เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ทรงอภิเษกสมรสกับเอิร์ลลิง ลอเรนต์เซน (แห่งตระกูลลอเรนต์เซน) ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกที่อภิเษกสมรสกับสามัญชน สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงดำรงพระชนม์ชีพทันในคราวที่พระปนัดดาประสูติได้แก่ โฮกุน ลอเรนต์เซน (ประสูติ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1954) และอินเกบอร์ก ลอเรนต์เซน (ประสูติ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957)
มกุฎราชกุมารีมาร์ธาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1954 หลังจากทรงพระประชวรด้วยโรคมะเร็ง
สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ทรงหกล้มในห้องสรงที่ที่ประทับในบริกโดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1955 การหกล้มครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษาของพระองค์ กระดูกโคนขาของพระองค์หัก แม้ว่าจะทรงมีภาวะแทรกซ้อนน้อยๆอื่นๆอันเป็นผลมาจากการหกล้ม พระมหากษัตริย์ทรงต้องใช้รถเข็น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคล่องแคล่วทรงถูกกล่าวถึงการที่ทรงสิ้นหวังด้วยผลจากความรู้สึกของพระองค์เองที่ทรงคิดว่าหมดทางช่วยเหลือ และทรงเริ่มต้นสูญเสียการมีส่วนร่วมและความสนใจตามปกติของพระองค์ในเหตุการณ์ปัจจุบัน ด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงสูญเสียการเคลื่อนไหว และในขณะที่พระพลานามัยของพระมหากษัตริย์ทรงเสื่อมถอยลงไปอีกในฤดูร้อน ค.ศ. 1957 มกุฎราชกุมารโอลาฟทรงปรากฏพระองค์เคียงข้างพระราชบิดาในวาระสำคัญและทรงเข้ามามีบทบาทในกิจการของรัฐ
สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 เสด็จสวรรคตในเดือนกันยายน ค.ศ. 1957 สิริพระชนมพรรษา 85 พรรษา มกุฎราชกุมารทรงครองราชย์สืบต่อเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ พระบรมศพของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ได้ถูกฝังในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1957 พระองค์และพระราชินีม็อดทรงประทับอย่างสงบเคียงข้างกันในโลงพระศพหินสีขาวในสุสานหลวง ณ ป้อมอาร์เคอซัส
ทุกวันนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ทรงได้รับการยกย่องมากที่สุดในฐานะหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนอร์เวย์ในช่วงก่อนสงคราม ทรงจัดการเพื่อปกครองประเทศใหม่และเปราะบางของพระองค์ร่วมกันในสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน พระองค์ทรงจงรักภักดีในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสถานการณ์ทางการเมืองของนอร์เวย์ในช่วงและหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ ได้รับเสด็จอย่างสมพระเกียรติเมื่อ กรกฎาคม ค.ศ. 1907
พระบรมราชอิสริยยศ
[แก้]- 3 สิงหาคม 1872 - 18 พฤศจิกายน 1905 : เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์ก
- 18 พฤศจิกายน 1905 - 21 กันยายน 1957 : สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "The Queen Receives". Time Magazine. 18 June 1923. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-17. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.
- ↑ "Jubilee". Time Magazine. 8 December 1930. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-27. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ English Heritage (2005). "Blue Plaque for King Haakon VII of Norway". English Heritage. สืบค้นเมื่อ 12 April 2008.
- ↑ This was said when Christian Hornsrud of the Labour Party was appointed to Prime Minister in 1928, http://www.kongehuset.no/c27060/artikkel/vis.html?tid=27613 (Official site of the Norwegian Royal House, in Norwegian)
- ↑ The account and quotation were recorded by one of the cabinet members and were recounted in William L. Shirer's The Challenge of Scandinavia.
- ↑ Geirr H. Haarr, "The German Invasion of Norway", Seaforth Publishing, Barnsley, UK, 2009.
- ↑ "British Government News & Press Releases - 25th October, 2005: Blue Plaque for King Haakon VII of Norway". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
- ↑ "Norway: the official site in the UK - News 27 October 2012 - Princess Astrid unveils blue plaque". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
- ↑ "The Diocese of Southwark, The Bridge, December 2009 - January 2010: Scandinavia in Rotherhithe" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
- ↑ William Lawrence Shirer: The challenge of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark and Finland in our time, Robert Hale, 1956
- ↑ Dahl; Hjeltnes; Nøkleby; Ringdal; Sørensen, บ.ก. (1995). "Norge i krigen 1939–45. Kronologisk oversikt". Norsk krigsleksikon 1940-45 (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Cappelen. p. 11. ISBN 82-02-14138-9.
- ↑ H7 เก็บถาวร 2011-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time Magazine, Monday, 30 Sep. 1957
- ↑ "First Out, First In". Time Magazine. 11 June 1945. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-21. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Shirer, William L. (1956). The Challenge of Scandinavia. London: Robert Hale.
- Bomann-Larsen, Tor (2004). Haakon og Maud I/Kongstanken. Oslo: Cappelen. ISBN 82-02-22527-2.
- Bomann-Larsen, Tor (2004). Haakon og Maud II/Folket. Oslo: Cappelen. ISBN 978-82-02-22529-2.
- Bomann-Larsen, Tor (2006). Haakon og Maud III/Vintertronen. Oslo: Cappelen. ISBN 978-82-02-24665-5.
- Official Website of the Norwegian Royal Family
- King Haakon − biography (Official Website of the Norwegian Royal Family)
- The Royals Regularly updated news coverage of the Norwegian royal family (Aftenposten)
- The Royal Norwegian Order of St Olav − H.M. King Haakon VII the former Grand Master of the Order
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 | พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ (18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 - 21 กันยายน ค.ศ. 1957) |
สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 |