(Translated by https://www.hiragana.jp/)
หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรทอง ทองใหญ่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ก่อนหน้าพระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)
ถัดไปพลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์
รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2518
ก่อนหน้านิล มณีโชติ
ถัดไปศ.นพ.กวี ทังสุบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2456
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต23 สิงหาคม พ.ศ. 2541 (อายุ 85 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสศ.ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. 2456 - 2541) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร

ประวัติ

[แก้]

หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ เกิดในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นโอรสคนแรกในจำนวน 4 คนของพลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ และ หม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา สมรสกับศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง นพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา จำนวน 4 คน คือ

หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ ได้เข้าเรียนศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนจบชั้นประถม 3 จนในปี พ.ศ. 2467 ท่านได้ตามครอบครัวไปเริ่มใช้ชีวิตในประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนบุฟฟง เป็นเวลา 3 ปี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยหม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ พระบิดาได้ฝากหม่อมราชวงศ์จักรทอง ไว้ในความดูแลของนายเบรองเจ พระสหายสนิท จนในปี พ.ศ. 2470 หม่อมราชวงศ์จักรทอง ย้าตามนายเบรองเจที่ถูกย้ายไปทำงานที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา และทำการศึกษาต่อที่นั่นจนจบชั้นมัธยมที่ 7 และได้กลับมาศึกษาต่อที่ประเทศไทย ที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์เป็นเวลาครึ่งปี จนศึกษาจบชั้นมัธยมที่ 8 และสอบเข้าศึกษาเตรียมแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 1 ปี ก็ได้ทุนหลวงจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยคอร์แนล สาขากีฏวิทยา ซึ่งท่านได้ใช้วิชาการที่ได้ศึกษามารับราชการในประเทศไทย จนไปถึงระดับสูงสุดของข้าราชการ คือเป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงปี พ.ศ. 2504 จนถึงปี พ.ศ. 2513 ก่อนจะได้รับการทาบทามเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2514 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[1] และเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  2. "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-09.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔