(Translated by https://www.hiragana.jp/)
น้อม เกตุนุติ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

น้อม เกตุนุติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้อม เกตุนุติ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าทวน วิชัยขัทคะ
ถัดไปพระยาวิชิตชลธี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าเล็ก สุมิตร
ถัดไปประยูร ภมรมนตรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าเยื้อน พาณิชวิทย์
ถัดไปฟื้น สุพรรณสาร
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าเยื้อน พาณิชวิทย์
ถัดไปฟื้น สุพรรณสาร
รัฐมนตรีลอย
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 เมษายน พ.ศ. 2441
เสียชีวิต12 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (72 ปี)
พรรคการเมืองคณะราษฎร

พลตรี น้อม เกตุนุติ (พ.ศ. 2441 – พ.ศ. 2513) เป็นอดีตรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ 3 สมัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม 2 สมัย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง 7 สมัย อดีตสมาชิกคณะราษฎร[1]

ประวัติ

[แก้]

น้อม เกตุนุติ เป็นบุตรอำมาตย์โท พระภักดีนุรักษ์ (จีน เกตุนุติ) ซึ่งเป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล "เกตุนุติ"[2] น้อมเป็นน้องชาย พันเอก หลวงเกตุนุติสงคราม (นพ เกตุนุติ) เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2441 จบโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2463 แรกรับราชการประจำกรมทหารบกม้ากรุงเทพ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่1 กรมทหารม้าที่1 รักษาพระองค์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

น้อม เกตุนุติ เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

น้อม เกตุนุติ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ตั้งแต่ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1[3] จนถึงสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 7 รวมทั้งสิ้น 7 สมัย[4][5][6]

ในปี พ.ศ. 2489 น้อม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์[7] แต่ก็ทำหน้าที่ได้เพียง 50 วันก็ต้องสิ้นสุดการทำหน้าที่ลงเนื่องจากรัฐบาลแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร กรณีร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 (พ.ร.บ.ปักปัายข้าวเหนียว) เขาได้รับแต่งตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2490 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ในรัฐบาลคณะต่อมา และเมื่อนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน และน้อม ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการอีกสมัย

และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา[8]

น้อม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2513

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เผาวอด'บ้านเก่าอายุร้อยปี' คลอกสยอง3ศพ-รอดตาย2 จาก เดลินิวส์
  2. "หนังสือประวัติครู พ.ศ. 2524". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
  3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เล่ม 50 หน้า 816 วันที่ 9 ธันวาคม 2476
  5. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  6. สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 7 รวมทั้งสิ้น 7 สมัย
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๑๓, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๘, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๓๖, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๗, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙