(Translated by https://www.hiragana.jp/)
เอมิเรตส์ (สายการบิน) - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

เอมิเรตส์ (สายการบิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอมิเรตส์แอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
EK UAE EMIRATES
ก่อตั้ง25 มีนาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี)
เริ่มดำเนินงาน25 ตุลาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ
สะสมไมล์เอมิเรตส์ สกายวาร์ด
บริษัทลูก
ขนาดฝูงบิน247
จุดหมาย152
บริษัทแม่เดอะเอมิเรตส์กรุ๊ป
สำนักงานใหญ่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
บุคลากรหลักรอชิด บิน ซะอีด อาล มักตูม (ผู้ก่อตั้ง)
ทิม คลาร์ก (ประธาน)
รายได้เพิ่มขึ้น 33 พันล้านเหรียญ (ค.ศ. 2024)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 4.68 พันล้านเหรียญ (ค.ศ. 2024)[1]
พนักงาน
108,996 คน (กันยายน ค.ศ. 2023)[1]
เว็บไซต์www.emirates.com

เอมิเรตส์แอร์ไลน์ (อาหรับ: طيران الإمارات) เป็นสายการบินประจำชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้บริการไปยัง 152 จุดหมายปลายทางใน 80 ประเทศทั่วโลก และยังให้บริการขนส่งสินค้าภายใต้ชื่อเอมิเรตส์ สกายคาร์โก โดยมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ

ฝูงบินเอมิเรตส์จะประกอบด้วยเครื่องบินลำตัวกว้างของแอร์บัสและโบอิง และเป็นหนึ่งในไม่กี่สายการบินที่ให้บริการเครื่องบินลำตัวกว้างทั้งหมด (ไม่รวมเอมิเรตส์ เอกซ์คลูทีฟ[2]) โดย ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2023 เอมิเรตส์แอร์ไลน์เป็นผู้ให้บริการเครื่องบินแอร์บัส เอ380 รายใหญ่ที่สุด โดยมีเครื่องบินให้บริการ 119 ลำ[3] นับตั้งแต่เปิดตัว แอร์บัส เอ380 ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของฝูงบินเอมิเรตส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางระยะไกลที่มีความหนาแน่นสูง เอมิเรตส์ยังเป็นผู้ให้บริการเครื่องบินโบอิง 777 รายใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเครื่องบิน 134 ลำที่ให้บริการ[4]

ประวัติ

[แก้]

สายการบินเอมิเรตส์ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1985 โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองดูไบ มุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม เอมิเรตส์ให้บริการเที่ยวบินแรกจากดูไบไปยังการาจี ประเทศปากีสถานในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1985 เอมิเรตส์ได้มีปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ในการก่อตั้งสายการบินในช่วงแรก โดยให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการบริหาร ตลอดจนจัดหาเครื่องบินโบอิง 737-300 และแอร์บัส เอ300บี4-200

ในช่วงปีแรกๆ เอมิเรตส์ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยอัตราการโตเฉลี่ย 30% ต่อปี โดยได้มีสงครามอ่าว ซึ่งช่วยส่งเสริมธุรกิจของสายการบินเนื่องจากเอมิเรตส์เป็นสายการบินเดียวที่ยังให้บริการในช่วงสิบวันสุดท้ายของสงคราม ในปี 2000 เอมิเรตส์ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 777-300 และแอร์บัส เอ380 เป็นจำนวนมาก และยังเปิดตัวโปรแกรมสะสมไมล์สกายวาร์ดอีกด้วย[5]

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เอมิเรตส์ได้ขยายฝูงบินและเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นที่การเชื่อมต่อเอเชียใต้ไปยังอเมริกาเหนือ และแข่งขันกับสายการบินหลักอื่นๆ ในเส้นทางระหว่างประเทศ การเติบโตของสายการบินได้ดึงดูดคำวิจารณ์จากสายการบินอื่นๆ ซึ่งอ้างว่าสายการบินมีข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมและได้เรียกร้องให้ยุตินโยบายเปิดน่านฟ้ากับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[6][7] ในปี 2017 สายการบินเอมิเรตส์ต่ออายุการซื้อเครื่องบินและตกลงที่จะซื้อเครื่องบินโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ จำนวนหนึ่งในราคา 1.51 หมื่นล้านดอลลาร์ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล อธิบายว่าข้อตกลงนี้เป็นการสูญเสียสำหรับแอร์บัส[8]

กิจการองค์กร

[แก้]

สำนักงานใหญ่

[แก้]

สำนักงานใหญ่ของสายการบินอยู่ในอาคารเอมิเรตส์กรุ๊ปในอาล การ์ฮูด ดูไบ[9][10] อาคารตั้งอยู่บนถนนสนามบิน ตรงข้ามกับที่ตั้งของศูนย์วิศวกรรมเอมิเรตส์ ในปี 2007 มีอุโมงค์เชื่อมระหว่างอาคารกับท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ การก่อสร้างอาคารเริ่มต้นในปี 2004[11] และมีกำหนดสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2007[12] โดยเอมิเรตส์ออกทุนก่อสร้างเอง[11] พนักงานกว่า 6,000 คนทำงานในอาคาร[10] ก่อนหน้านี้สำนักงานใหญ่ของสายการบินอยู่ที่ศูนย์ฃการบินบริเวณวงเวียนหอนาฬิกาในดูไบ[13]

บริษัทลูก

[แก้]
โบอิง 777F ของเอมิเรตส์ สกายคาร์โกขณะขึ้นบินจากท่าอากาศยานฮ่องกง

สายการบินเอมิเรตส์มีสายการบินลูก ดังนี้:

  • เอมิเรตส์ สกายคาร์โก: สายการบินขนส่งทางอากาศของสายการบินเอมิเรตส์ เริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1985 ในปีเดียวกับที่สายการบินเอมิเรตส์ก่อตั้งขึ้น และเปิดตัวบริการเครื่องบินของตนเองในปี ค.ศ. 2001 ด้วยเครื่องบินขนส่งสินค้าแบบโบอิง 747 ให้บริการปลายทางการขนส่งสินค้าพิเศษเฉพาะ 10 แห่ง นอกเหนือจากปลายทางอื่นๆ ในเครือข่ายเส้นทางผู้โดยสารของสายการบินเอมิเรตส์[14] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 เอมิเรตส์ สกายคาร์โกได้เพิ่มโบอิง 777F จำนวน 11 ลำ[15] ในช่วงที่เกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 ในปี 2020 เอมิเรตส์ สกายคาร์โกยังได้เริ่มให้บริการขนส่งสินค้ากับเครื่องบินโดยสารโบอิง 777-300อีอาร์ และแอร์บัส เอ380 เพื่อขยายความจุบรรทุกสินค้า[16]
  • เอมิเรตส์ เอ็กซ์คลูทีฟ: เอมิเรตส์ เอ็กซ์คลูทีพเปิดตัวในปี 2013 สำหรับองค์กรและส่วนตัว โดยมีแอร์บัส เอซีเจ319 ประจำการเพียงหนึ่งลำ[17] ที่รองรับผู้โดยสารได้ 19 คน[18] ในห้องโดยสารมีการผสมผสานระหว่างห้องสวีทส่วนตัวและที่นั่ง, ห้องรับรอง, พื้นที่รับประทานอาหาร, และห้องน้ำพร้อมห้องอาบน้ำ[19]

เอกลักษณ์องค์กร

[แก้]
โลโก้ของสายการบินเอมิเรตส์ (ในภาษาอาหรับ) บนหนึ่งในเครื่องยนต์ของแอร์บัส เอ380
แอร์บัส เอ380 ในลวดลายพิเศษ "Destination Dubai" สำหรับงานเอ็กซ์โป 2020 ที่ท่าอากาศยานเจเอฟเค.

ในช่วงปี 1990 เอมิเรตส์ได้เปิดตัวโฆษณาชุดแรกที่มีสโลแกนว่า "So be good to yourself, Fly Emirates" ในปี ค.ศ. 1999 บริษัทได้เปิดตัวโฆษณาเปิดตัวเครื่องบินแอร์บัส เอ330-200 ที่หายาก โดยมีรูปภาพต่างๆ ที่แสดงเครื่องบินที่มีโลโก้เดิมและโลโก้ปัจจุบัน (ซึ่งเปิดตัวไม่กี่เดือนก่อนหน้า)

โฆษณาได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในปี 2002 และได้นำสโลแกน "Fly Emirates. Keep Discovering" มาใช้ในปี 2004 ต่อมาในปี 2008 สายการบินเอมิเรตส์ได้เปิดตัวสโลแกนหลักภายใต้แนวคิดเครือข่ายเส้นทางบินของจุดหมายปลายทาง 100 แห่งใน 59+ ประเทศทั่วทั้งหกทวีป – "Fly Emirates. Keep Discovering", "Fly Emirates. To over Six Continents", and "Hello Tomorrow"[20] ปัจจุบันเอมิเรตส์ใช้สโลแกน "Fly Better"

เอมิเรตส์เปิดตัวเครื่องแบบพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินใหม่ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 สำหรับพนักงาน 16,000 คน ซึ่งออกแบบโดยไซมอน เจอร์ซีย์ เครื่องแบบนอกเครื่องประกอบด้วยหมวกของสายการบินเอมิเรตส์ กระโปรงจับจีบสีแดง เสื้อเบลาส์ที่เข้ารูปมากขึ้น และการกลับมาของรองเท้าหนังและกระเป๋าถือสีแดง สำหรับเครื่องแบบบนเครื่อง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชายและหญิงจะสวมเสื้อกั๊กบริการแทนแจ็กเก็ตและแถบคาดสำหรับบริการที่สวมใส่ก่อนหน้านี้ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชายสวมสูทสีน้ำตาลช็อกโกแลตที่มีลายทาง เสื้อเชิ้ตสีครีมและเน็กไทสีคาราเมล น้ำผึ้งและสีแดง กระเป๋าทั้งชายและหญิงสวมสีน้ำตาลช็อกโกแลตนี้ แต่ไม่มีสีแดงเด่น

ในปี 2022 เอมิเรตส์ได้เปิดตัวโฆษณา 2 ชิ้นที่มีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินยืนอยู่บนยอดตึกบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ โฆษณาชิ้นแรกเกี่ยวกับการที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ได้ถูกเลือกให้อยู่ในรายชื่อสีเหลืองตามมาตรการจำกัดการเดินทางของโควิด-19 ของสหราชอาณาจักร โฆษณาชิ้นที่ 2 เป็นการโปรโมตงานเอ็กซ์โป 2020 ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ380 ที่สวมลวดลานพิเศษ บินวนรอบอาคาร ผู้หญิงในวิดีโอเป็นนักแสดงผาดโผนที่แต่งตัวเหมือนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของเอมิเรตส์[21]

ลวดลายอากาศยาน

[แก้]
ลวดลายปัจจุบัน (ค.ศ. 2023–ปัจจุบัน)

ลวดลายรูปแบบปัจจุบันจะมีธงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บริเวณแพนหางของเครื่องบิน ที่มีความลื่นไหลมากขึ้นจากการแสดงธงแบบสามมิติ และปลายปีกได้มีสีแดงพร้อมโลโก้ภาษาอาหรับของเอมิเรตส์ในสีขาว ผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องเมื่อมองจากหน้าต่างจะเห็นสีธงชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ปลายปีกซึ่งหันเข้าหาลำตัวเครื่องบิน ลวดลายใหม่นี้เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2023 บนแอร์บัส เอ380-800[22][23] โดยเอมิเรตส์มีแผนที่จะเปลี่ยนลวดลายบนเครื่องบินทุกลำในฝูงบินภายในปี 2023[24] และเครื่องบินใหม่ที่จะเข้ามาประจำการกับเอมิเรตส์ทุกลำจะมีลวดลายนี้ทั้งหมด[25]

ลวดลายที่ 2 (ค.ศ. 1999-ปัจจุบัน)

ลักษณะของลวดลายที่ 2 จะมีลวดลายของธงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บริเวณท้ายลำ และมีข้อความ "Emirates" และ "www.emirates.com" บริเวณส่วนหน้าของลำตัวเครื่อง ลวดลายนี้ถูกนำมาใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 บนเครื่องบินโบอิง 777-300 และแอร์บัส เอ330/เอ340 ทุกลำ ที่ส่งมอบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ลวดลายนี้เริ่มใช้ไม่นานหลังจากนั้นในปี 2000 บนฝูงบินที่เหลือของสายการบินเอมิเรตส์ และได้เปลี่ยนลวดลายบนเครื่องบินทุกลำในฝูงบินจนหมดปี 2005

ลวดลายแรก (ค.ศ. 1985-2005)

ลวดลายอากาศยานเดิมของเอมิเรตส์มีความคล้ายคลึงกับปัจจุบัน ยกเว้นว่าชื่อสายการบิน "Emirates" เขียนด้วยแบบอักษรอื่น และจะมีขนาดค่อนข้างเล็กตั้งอยู่ที่ด้านบนของหน้าต่าง และตามด้วยชื่อภาษาอาหรับ เครื่องบินทุกลำที่สวมเครื่องแบบเก่าได้รับการทาสีใหม่หรือปลดระวางแล้ว เครื่องแบบเก่าถูกปลดระวางในปี 2005

การสนับสนุน

[แก้]

สิ่งปลูกสร้าง

[แก้]
รถกระเช้าเอมิเรตส์ แอร์ ไลน์ในลอนดอน

ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปี 2022 สายการบินเอมิเรตส์ได้สนับสนุนกระเช้าลอยฟ้าเอมิเรตส์ แอร์ ไลน์ เหนือแม่น้ำเทมส์ในลอนดอนตะวันออก[26]

ตั้งแต่ปี 2015 สายการบินเอมิเรตส์ได้ให้การสนับสนุนอาคารสปินเนเกอร์ทาวเวอร์ ในเมืองพอร์ตสมัธท ทางชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ[27] สายการบินมีแผนมูลค่า 3.5 ล้านปอนด์ที่จะทาสีอาคารหลักเป็นสีแดง แต่หลังจากหารือกับชาวเมืองพอร์ตสมัธและทะเลใต้แล้ว สายการบินเอมิเรตส์เห็นพ้องต้องกันว่าอาคารจะใช้สีฟ้าและสีทอง โดยมีตัวอักษรสีแดงเป็นสปอนเซอร์ของสายการบินเอมิเรตส์[28]

คริกเกต

[แก้]
แอร์บัส เอ380 ในลวดลายพิเศษเฉลิมฉลองคริกเกตชิงแชมป์โลก ค.ศ. 2019

สายการบินเอมิเรตส์สนับสนุนคริกเกตออสเตรเลีย,[29] ลอร์ดสทาเวิร์นเนอร์,[30] และการแข่งขันโปรอาร์ช[31] อัตลักษณ์องค์กรของเอมิเรตส์นี้ยังปรากฏอยู่บนเสื้อผู้ตัดสินคริกเก็ตระดับนานาชาติอีกด้วย[32] สายการบินเอมิเรตส์ยังได้เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของสภาคริกเกตนานาชาติจนถึงปัจจุบัน ข้อตกลงนี้ทำให้สายการบินเอมิเรตส์เชื่อมโยงกับการแข่งขัน ICC ที่สำคัญทั้งหมด รวมถึงการแข่งขันริกเกตชิงแชมป์โลก ปี 2011, 2015 และ 2019, ไอซีซีแชมเปียนโทรฟี และ ไอซีซีเวิ์ดทเวนตี้20[33]

ฟุตบอล

[แก้]
เอมิเรตส์สเตเดียมในลอนดอน สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

สายการบินเอมิเรตส์เป็นผู้สนับสนุนสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และ การแข่งขันฟุตบอลโลกแต่หยุดการเป็นผู้สนับสนุนในต้นปี 2015 เนื่องจากข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตและการติดสินบนภายใน FIFA รวมถึงความขัดแย้งของการเลือกให้กาตาร์เป็นเจ้าภาพของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022

เอมิเรตส์เป็นสปอนเซอร์หลักของอาร์เซนอลตั้งแต่ฤดูกาล 2006–07ม เข้าสนับสนุนเอซี มิลานในฤดูกาล 2010–11, เรอัลมาดริด ในฤดูกาล 2013–14, เบนฟิก้าในฤดูกาล 2015–16 และออแล็งปิกลียอแนตั้งแต่ ฤดูกาล 2020–2021[34] นอกจากนี้ยังเป็นผู้สนับสนุนเสื้อหลักของนิวยอร์กคอสมอส สายการบินเอมิเรตส์ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันรายการเอฟเอคัพ, เอมิเรตส์คัพและ เอมิเรตส์สเตเดียมของอาร์เซนอล เอมิเรตส์เป็นผู้สนับสนุนให้กับเชลซีตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2001 จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2003,[35] สนับสนุนปารีสแซ็ง-แฌร์แม็ง (จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019) และฮัมบูร์ก เอสวี จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 สมาคมฟุตบอลจูเนียร์แห่งสกอตแลนด์ประกาศว่าเอมิเรตส์จะสนับสนุนการแข่งขันรายการสกอตติชคัพ[36] เอมิเรตส์แอร์ไลน์ก็ยังเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางและการเล่นของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในการแข่งขันรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ

รักบี้

[แก้]

ตั้งแต่ปี 2014 เอมิเรตส์แอร์ไลน์เป็นผู้สนับสนุนทีมซุปเปอร์ลีกอย่างทีมวอร์ริงตัน วูล์ฟส์ โดยเป็นสปอนเซอร์หลายปีและค่าตัวประมาณ 5 ล้านปอนด์ และตั้งแต่ปี 2015 เอมิเรตส์แอร์ไลน์ยังเป็นผู้สนับสนุนทีมซุปเปอร์ลีกสัญชาติแอฟริกาใต้อย่าง เดอะไลอ้อน ตลอดจนมีสิทธิ์ในการตั้งชื่อทีมและสนามรักบี้เอลลิสพาร์ค นอกจากนี้ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของยูเอสเอรักบี้ นอกจากนี้ เอมิเรตส์ยังเป็นผู้สนับสนุนคณะกรรมการผู้ตัดสินระดับนานาชาติของเวิล์ดรักบี้

กีฬาอื่นๆ

[แก้]

ในการแข่งม้า เอมิเรตส์เป็นผู้สนับสนุนสนับสนุนงานดูไบอินเตอร์เนชั่นแนลเรซซิ่งคาร์นิวัล, เป็นผู้สนับสนุนงานคาร์นิวัลฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิของออสเตรเลียนเทิร์ฟคลับจนถึงปี 2011 และงานเมลเบิร์นคัพคาร์นิวัลตั้งแต่ปี 2003 ถึงปี 2017[37][38]

เอมิเรตส์เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันออสเตรเลียนและเฟรนช์โอเพ่นช่วงต้นฤดูกาล 2021 หลังจากที่กลับมาจากการเซ็นสัญญาครั้งแรกในปี 2016

เอมิเรตส์เป็นผู้สนับสนุนหลักของทีมเอมิเรตส์ในนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการแข่งขันเรือใบในอเมริกาคัพครั้งที่ 35

เอมิเรตส์เป็นผู้สนับสนุนทีมแม็คลาเรนในรายการแข่งขันบริติชฟอร์มูลาวัน (F1) ในฤดูกาล 2006 นอกจากนี้ยังเป็นสายการบินอย่างเป็นทางการของการแข่งขันรายการฟอร์มูลาร์วันตั้งแต่ฤดูกาล 2013 จนถึงฤดูกาล 2022

ตั้งแต่ฤดูกาล 2012 สายการบินเอมิเรตส์ได้สนับสนุนการแข่งขันยูเอสโอเพ่นซีรีย์ ซึ่งเป็นฤดูกาลเทนนิสฤดูร้อนที่มีระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยเอมิเรตส์จะสนับสนุนถึงปี 2019[39]

เอมิเรตส์ยังให้การสนับสนุนสโมสรฟุตบอลคอลลิงวูดในลีกฟุตบอลออสเตรเลีย และเอฟซี ดัลลัสในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์

ตั้งแต่ฤดูกาล 2016 เป็นต้นมา เอมิเรตส์เป็นสายการบินอย่างเป็นทางการของ ลอสแอนเจลิส ดอดเจอร์ส ในเมเจอร์ลีกเบสบอล

ตั้งแต่ปี 2017 เอมิเรตส์เป็นผู้สนับสนุนทีม ยูเออีเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นทีมจักรยานยูซีไอเวิลด์ทัวร์

เอ็กซ์โป 2020

[แก้]

สายการบินเอมิเรตส์ได้เป็นหนึ่งในพันธมิตรชั้นนำอย่างเป็นทางการของงาน เอ็กซ์โป 2020 ซึ่งจัดในดูไบ เอมิเรตส์ได้เปิดตัวลวดลายเครื่องบินพิเศษสามสีในสามสี (ส้ม เขียว และน้ำเงิน) เพื่อแสดงถึงสามธีมของงาน ได้แก่ โอกาส ความยั่งยืน และความคล่องตัว ตามลำดับ แอร์บัส เอ380 ลำหนึ่งได้สวมลวดลาย "เข้าร่วมการสร้างโลกใหม่" เอมิเรตส์ได้มีข้อตกลงการสนับสนุนงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2021 จนถึงงานปิดในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2022

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

สายการบินเอมิเรตส์ดำเนินการเที่ยวบินกว่า 3,000 เที่ยวบินทุกสัปดาห์ผ่านเครือข่ายปลายทางกว่า 157แห่งในกว่า 83 ประเทศในหกทวีปจากฐานการบินในดูไบ[40] ก่อนการระงับเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19

พันธมิตรทางการบิน

[แก้]

เอมิเรตส์ได้ร่วมมือกับสายการบินอื่นๆ แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของพันธมิตรสายการบินระดับโลกทั้งสามแห่ง ได้แก่ วันเวิล์ด, สกายทีม หรือ สตาร์อัลไลแอนซ์ โดยในปี 2000 สายการบินพิจารณาเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ในช่วงสั้นๆ แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะดำเนินการอย่างอิสระ[41]

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

สายการบินเอมิเรตส์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน 

[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน

[แก้]
ฝูงบินของสายการบินเอมิเรตส์
แอร์บัส เอ380-800 ของเอมิเรตส์
โบอิง 777-200แอลอาร์ ของเอมิเรตส์ในลวดลายเก่า
โบอิง 777-300อีอาร์ ของเอมิเรตส์

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2024 เอมิเรตส์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[55][56][57]

ฝูงบินของเอมิเรตส์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F C W Y รวม
แอร์บัส เอ350-900 65[57] รอประกาศ เริ่มส่งมอบในปี 2024[58][59]
แอร์บัส เอ380-800 116[57] 14 76 399 489 ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด[60]
67 ลำจะมีการติดตั้งที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมใหม่[61]
รวม A6-EVS (MSN 272) เอ380 ลำสุดท้าย
14 76 401 491
14 76 426 516
14 76 427 517
14 76 429 519
58 557 615
14 76 56 338 484
โบอิง 777-200แอลอาร์ 10[57] 38 264 302 ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด[62][63]
53 ลำจะมีการติดตั้งที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมใหม่[61]
โบอิง 777-300อีอาร์ 121[57] 8 42 304 354
8 42 306 356
8 42 310 360
6 42 306 354
42 386 428
โบอิง 777-8 35[57] รอประกาศ เริ่มส่งมอบในปี 2030[64]
โบอิง 777-9 170[57] เริ่มส่งมอบในปี 2025[65][66]
โบอิง 787-8 20[57] เริ่มส่งมอบในช่วงกลางปี 2025[67]
โบอิง 787-10 15[57]
รวม 247 305

เอมิเรตส์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 10.8 ปี

ฝูงบินของเอมิเรตส์ เอกซ์คลูทีฟ

[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2024 เอมิเรตส์ เอ็กซ์คลูทีฟมีเครื่องบินประจำกรในฝูงบินดังนี้:[68]

ฝูงบินของเอมิเรตส์ เอ็กซ์คลูทีฟ
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร
แอร์บัส เอซีเจ319 1 10 (ห้องสวีต)
5 (เตียง)
รวม 1

การบริการ

[แก้]

โปรแกรมสะสมไมล์

[แก้]

เอมิเรตส์ สกายวาร์ดเป็นโปรแกรมสะสมไมล์สี่ระดับที่ดำเนินการโดยสายการบินเอมิเรตส์ ได้มีการใช้งานโดยลูกค้ากว่า 8.4 ล้านราย[69] ระดับทั้งสี่ระดับคือน้ำเงิน, เงิน ซึ่งต้องใช้ไมล์ระดับชั้น 25,000 ไมล์เพื่อเข้า, ทองซึ่งต้องใช้ไมล์ระดับ 50,000 ไมล์, และแพลทินัม ซึ่งต้องใช้ไมล์ระดับ 150,000 ไมล์ สกายวาร์ดยังมีระดับสมาชิกเพิ่มเติมที่ได้ด้วยเชิญเท่านั้นหรือ "IO" ซึ่งคุณต้องได้รับเชิญให้เข้าร่วมกลุ่มนี้[70] สิทธิประโยชน์ที่มอบให้นั้นเหนือกว่าสิทธิประโยชน์ระดับแพลตตินัม

ห้องโดยสาร

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "The Emirates Group Annual Report 2022-2023" (PDF). Emirates. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2023. สืบค้นเมื่อ 11 October 2023.
  2. "Emirates Executive". Emirates Executive (ภาษาอังกฤษ).
  3. "The Emirates A380 fleet | Our fleet | The Emirates Experience | Emirates Philippines". Philippines (ภาษาอังกฤษ).
  4. "The Emirates Boeing 777 fleet | Our fleet | The Emirates Experience | Emirates Philippines". Philippines (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Emirates Ponders Expansion as Profits Rise. | HighBeam Business: Arrive Prepared". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  6. Jones, Rory (2011-01-17). "Lufthansa steps up fight to bar Emirates from Berlin". The National (ภาษาอังกฤษ).
  7. Leff, Gary (2017-12-09). "Even Losing Their Trade Dispute With Gulf Carriers, the Big US Airlines Have Won". View from the Wing (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. Parasie, Robert Wall and Nicolas. "Emirates Airline Orders 40 Boeing 787 Dreamliners". WSJ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "Road map" (PDF). Emirates Airline. Retrieved 22 June 2010.
  10. 10.0 10.1 "Citibank and Emirates Group boost partnership". Ameinfo.com. 14 July 2009. Retrieved 2 June 2014. ... Emirates Group's new headquarters located in Al-Garhoud which houses more than 6,000 Emirates employees.
  11. 11.0 11.1 Tuesday; November 2004, 9; Airlines, 10:00 am Press Release: Emirates. "Work Starts On New Emirates Headquarters | Scoop News". www.scoop.co.nz.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  12. Sobie2007-05-21T16:42:00+01:00, Brendan. "New Emirates headquarters nears completion". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  13. "boeing - airbus industrie - 1999 - 0793 - Flight Archive". flightglobal.com.
  14. "Emirates SkyCargo". www.skycargo.com.
  15. "Production List Search". www.planespotters.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-17. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
  16. "Emirates using A380 aircraft as "mini freighters"". Business Traveller (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  17. www.airbus.com https://www.airbus.com/newsroom/press-releases/en/2014/04/airbus-launches-new-version-of-acj319-corporate-jet.html. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  18. "Airbus ACJ319: Buyer's and Investor's Guide". Corporate Jet Investor (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. Perry2013-08-05T12:25:00+01:00, Dominic. "PICTURES: Emirates launches VIP charter operation". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  20. "About us | Emirates United States". United States (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  21. Gio (2021-08-09). "Is it Real? Watch Emirates 'Flight Attendant' Stands on Top of the Burj Khalifa". Dubai OFW (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  22. "Check out every angle of Emirates' new livery". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ).
  23. Schlappig, Ben; Ago, 21 Hours; 24 (2023-03-16). "Emirates Unveils New Livery For First Time In 24 Years". One Mile at a Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  24. Joshi, Gaurav (2023-03-16). "First Look: Emirates Refreshes Livery After More Than Two Decades". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ).
  25. "Emirates unveils new signature livery for its fleet". Emirates unveils new signature livery for its fleet (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  26. "Emirates sponsors Thames cable car". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  27. "Spinnaker Tower rebranded with name of sponsor Emirates". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  28. "Portsmouth's Spinnaker Tower: Unwanted red paint given away". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-07-06. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  29. "Sponsorship | Our communities | About us | Emirates". Global (ภาษาอังกฤษ).
  30. "Sponsorship | Our communities | About us | Emirates". Global (ภาษาอังกฤษ).
  31. "Sponsorship | Our communities | About us | Emirates". Global (ภาษาอังกฤษ).
  32. "Sponsorship | Our communities | About us | Emirates". Global (ภาษาอังกฤษ).
  33. "Emirates secures major international cricket sponsorship". www.campaignlive.co.uk (ภาษาอังกฤษ).
  34. www.ol.fr https://www.ol.fr/fr/actualites/communique-emirates-et-lolympique-lyonnais-annoncent-un-nouveau-partenariat-1. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  35. "CHELSEA FLY HIGH WITH EMIRATES DEAL". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  36. "Page Not Found". Scottish Junior FA (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  37. Roots, Chris (2012-01-22). "Doncaster rights up for grabs as ATC chases new sponsors". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  38. "Lexus To Sponsor 2018 Melbourne Cup - Home of Racing". web.archive.org. 2018-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  39. "Press Release | Emirates Airline US Open Series". web.archive.org. 2015-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  40. "Where we fly". Emirates United States (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  41. "Emirates poised to join Star Alliance". www.telegraph.co.uk.
  42. "Emirates and Air Canada Form Strategic Partnership" (Press release). Dubai: Emirates.
  43. "airBaltic and Emirates announce codeshare agreement" (Press release). Riga: airBaltic. 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
  44. Paula Arend Laier (18 August 2021). "Azul e Emirates fecham acordo para compartilhamento de voos". CNN Brazil (ภาษาโปรตุเกส). Warner Bros Discovery. Reuters.
  45. "Emirates activates codeshare agreement with Batik Air" (Press release). Indonesia: Emirates. 21 October 2022. สืบค้นเมื่อ 26 October 2022.
  46. "Emirates Forges Codeshare Partnership with China Southern Airlines" (Press release). Dubai: Emirates. สืบค้นเมื่อ 1 February 2019.
  47. Liu, Jim. "Emirates / flydubai schedules codeshare launch in late-Oct 2017". Routesonline.
  48. "Emirates signs MoU with Garuda Indonesia" (Press release) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Dubai: Emirates. 8 November 2021.
  49. "Emirates and Royal Air Maroc launch codeshare partnership, for more enhanced journeys between Dubai, Casablanca and beyond". Emirates (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 10 May 2022.
  50. Liu, Jim (30 May 2018). "Emirates expands S7 Airlines Russia codeshare from May 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 30 May 2018.
  51. "SpiceJet inks pact with Emirates for code-share partnership". Moneycontrol. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  52. "SpiceJet Enters Into Codeshare Agreement With Dubai-Based Emirates". NDTV.
  53. "Emirates e Trenitalia con un solo biglietto" [Emirates and Trenitalia with just one ticket]. LaStampa.it (ภาษาอิตาลี). 1 August 2018. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  54. "Breaking: United Airlines and Emirates announce codeshare agreement". Simply Flying. 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
  55. "Our Fleet - The Emirates Experience". emirates.com. สืบค้นเมื่อ 30 August 2013.
  56. "Emirates Fleet in Planespotters.net". planespotters.net. 20 December 2016.
  57. 57.0 57.1 57.2 57.3 57.4 57.5 57.6 57.7 57.8 "Emirates receives 100th Airbus A380 in Hamburg with Sheikh Zayed livery". The National (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-04. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":2" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  58. Turak, Natasha; Smith, Eliot (2019-11-18). "Emirates orders 50 Airbus A350 jets worth a total $16 billion". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
  59. "Emirates to receive first Airbus A350 in August 2024". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-11. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
  60. "A380 | Airbus". Airbus. สืบค้นเมื่อ December 9, 2023.
  61. 61.0 61.1 "Emirates undertakes largest known fleet retrofit project as part of multi-billion dollar investment to elevate customer experience". Emirates undertakes largest known fleet retrofit project as part of multi-billion dollar investment to elevate customer experience (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-08.
  62. "Boeing 777 deliveries". Boeing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2015. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  63. "Emirates takes delivery of its last Boeing 777-300ER aircraft". Emirates (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  64. "Emirates places US$ 52 billion wide-body aircraft order at Dubai Airshow 2023". Emirates places US$ 52 billion wide-body aircraft order at Dubai Airshow 2023 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-13.
  65. "Boeing 777X Delayed to 2025?". Airways Mag. สืบค้นเมื่อ April 26, 2022.
  66. "Emirates takes A380 experience to new heights, unveils Premium Economy plus enhancements across all cabins". Emirates takes A380 experience to new heights, unveils Premium Economy plus enhancements across all cabins (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
  67. Harper, Lewis (23 June 2022). "Emirates chief predicts 'relief on both sides' if 787 order parked". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 June 2022.
  68. "Emirates Executive - Specifications". emirates-executive.com. สืบค้นเมื่อ 27 April 2016.
  69. "Breaking News, UAE, GCC, Middle East, World News and Headlines – Emirates 24/7". Business24-7.ae. Retrieved 15 October 2012.
  70. "Membership Tiers | Emirates Skywards | Emirates Sweden". Sweden (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]