โคดีอีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
รหัส ATC | |
ตัวบ่งชี้ | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ECHA InfoCard | 100.000.882 |
โคดีอีน (อังกฤษ: Codeine โดย INN) เป็นยาในกลุ่มโอปิออยด์ ใช้เป็นยาบรรเทาปวด ยาแก้ไอ และยาแก้ท้องร่วง ซึ่งผลิตออกจำหน่ายในรูปเกลือซัลเฟต คือ โคดีอีน ซัลเฟต และเกลือฟอสเฟตคือ โคดีอีน ฟอสเฟต
โคดีอีนเป็นอัลคะลอยด์ (alkaloid) ที่พบในฝิ่นซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 0.7-2.5 เปอร์เซนต์ ในขณะที่สามารถสกัดได้จากฝิ่นแต่โคดีอีนที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จะได้จากการสังเคราะห์จากมอร์ฟีนโดยกระบวนการ โอ-เมตทิเลชั่น (O-methylation)
ข้อบ่งใช้
[แก้]อนุญาตให้ใช้โคดีอีนได้ดังนี้
โคดีอีนบางครั้งผลิตออกมาในรูปตำรับยาผสมเช่น
- กับยาพาราเซตามอล มีชื่อการค้าว่า ไทลินอล - โคดีอีน (Tylenol with Codeine)
- กับยาแอสไพริน มีชื่อการค้าว่า โค-โคแดปริน (co-codaprin)
- กับยาไอบูโปรเฟน มีชื่อการค้าว่า โคดาเฟน (Codafen)
- กับยาฟีนิลโทลอกซามีน มีชื่อการค้าว่า โคดิปรอนท์ (Codipront)
- กับยากัวเฟเนซิน มีชื่อการค้าว่า โรบิทัสซิน เอ-ซี (Robitussin A-C)
พบว่าตำรับยาผสมมีฤทธิ์แรงกว่าการใช้ยาเดี่ยว ๆ แยกกันเราเรียกว่ายาเสริมฤทธิ์กัน (Drug Synergy)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
[แก้]โคดีอีนเป็นโปรดรัก (prodrug) เพราะเมตาโบไลต์ที่ออกฤทธิ์เป็นยาบรรเทาปวดของมันคือมอร์ฟีน โคดีอีนมีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีน เพราะว่าโคดีอีนเพียง 10 % เท่านั้นที่เปลี่ยนเป็นมอร์ฟีน และผลทำให้ติดยาก็น้อยกว่ามอร์ฟีนด้วย
ในทางทฤษฎีปริมาณ โคดีอีนที่ให้โดยการรับประทานขนาด 200 มก. จะมีฤทธิ์บรรเทาปวดเท่ากับการรับประทานยามอร์ฟีน 30 มก. การเปลี่ยนโคดีอีนเป็นมอร์ฟีนเกิดขึ้นในตับโดยเอ็นไซม์ "ซีวายพี2ดี6" (CYP2D6)
ผลข้างเคียง
[แก้]ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาโคดีอีนมีดังนี้
- ทำให้อารมณ์ดี (Itching)
- อาการคลื่นไส้ (nausea)
- อาเจียน (vomiting)
- เซื่องซึม (drowsiness)
- ปากแห้ง (dry mouth)
- ภาวะที่รูม่านตาตีบตัวเล็กกว่าปกติ (miosis)
- ความดันต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบถ (orthostatic hypotension)
- ปัสสาวะน้อย (urinary retention)
- ท้องผูก (constipation)
การใช้ผิดวัตถุประสงค์
[แก้]เนื่องจากตำรับยาโคดีอีนหาซื้อได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ จึงมีผู้คนมากมายใช้โคดีอีนเพื่อเอาผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้มเป็นสุข (euphoria) มีรายงานว่าในประเทศฝรั่งเศส 95 % ของโคดีอีนที่ขายในร้านขายยาไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์
อ้างอิง
[แก้]- Rossi S (Ed.) (2004). Australian Medicines Handbook 2004. Adelaide: Australian Medicines Handbook. ISBN 0-9578521-4-2.
- Schroeder K & Fahey T (2004). Over-the-counter medications for acute cough in children and adults in ambulatory settings. The Cochrane Database of Systematic Reviews 2004 (4) , DOI:10.1002/14651858.CD001831.pub2.