(Translated by https://www.hiragana.jp/)
ประเทศปารากวัย - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศปารากวัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Paraguay)
สาธารณรัฐปารากวัย

República del Paraguay (สเปน)
Tetã Paraguái (กวารานี)
คำขวัญ"สันติภาพและความยุติธรรม"
(สเปน: Paz y justicia)
ที่ตั้งของ ประเทศปารากวัย  (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศปารากวัย  (เขียว)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

ที่ตั้งของปารากวัย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อาซุนซิออน
25°16′S 57°40′W / 25.267°S 57.667°W / -25.267; -57.667
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019[1])
ศาสนา
(ค.ศ. 2018)[2]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
ซานเตียโก เปญญา
เปโดร อาเลียนา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช จากสเปน
• ประกาศ
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1811
• ได้รับการรับรอง
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1842
24 ตุลาคม ค.ศ. 1945
พื้นที่
• รวม
406,796 ตารางกิโลเมตร (157,065 ตารางไมล์) (อันดับที่ 60)
2.6
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
7,359,000[3] (อันดับที่ 104)
18.00 ต่อตารางกิโลเมตร (46.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 210)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
101.075 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 90)
15,030 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 96)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
44.557 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 94)
6,230 ดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 94)
จีนี (ค.ศ. 2018)46.2[4]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.728[5]
สูง · อันดับที่ 103
สกุลเงินกวารานี (PYG)
เขตเวลาUTC–4 (PYT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC–3 (PYST)
รูปแบบวันที่วว-ดด-ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+595
โดเมนบนสุด.py

ปารากวัย (สเปน: Paraguay, ออกเสียง: [paɾaˈɣwaj] ( ฟังเสียง); กวารานี: Paraguái) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐปารากวัย (สเปน: República del Paraguay; กวารานี: Tetã Paraguái) เป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศบราซิลทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจรดประเทศโบลิเวียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 7 ล้านคน โดยเกือบ 3 ล้านคนในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในกรุงอาซุนซิออน (เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด) และเขตเมืองโดยรอบ แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในสองประเทศในอเมริกาใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (อีกประเทศหนึ่งคือโบลิเวีย) แต่ปารากวัยก็มีชายฝั่ง[8] ชายหาด[9] และท่าเรือริมแม่น้ำปารากวัยและแม่น้ำปารานาซึ่งเป็นทางออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกผ่านทางน้ำปารานา–ปารากวัย[10]

ผู้พิชิตชาวสเปนมาถึงบริเวณที่เป็นประเทศปารากวัยใน ค.ศ. 1524 และใน ค.ศ. 1537 ได้ตั้งเมืองอาซุนซิออนเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของเขตผู้ว่าราชการริโอเดลาปลาตา[11] ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปารากวัยเป็นศูนย์กลางของนิคมมิชชันนารีเยสุอิตที่ซึ่งชาวกวารานีพื้นเมืองได้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์และได้รับการแนะนำให้รู้จักวัฒนธรรมยุโรป[12] หลังจากการขับไล่คณะเยสุอิตออกจากดินแดนของสเปนใน ค.ศ. 1767 ปารากวัยก็กลายเป็นอาณานิคมชายขอบมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีศูนย์กลางเมืองและผู้ตั้งถิ่นฐานไม่มากนัก หลังจากได้รับเอกราชจากสเปนในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปารากวัยถูกปกครองโดยรัฐบาลอำนาจนิยมชุดต่าง ๆ ซึ่งมีนโยบายชาตินิยม ลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยว และลัทธิคุ้มครอง ช่วงเวลานี้สิ้นสุดลงด้วยสงครามปารากวัย (ค.ศ. 1864–1870) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนัก ระหว่างสงครามนี้ปารากวัยสูญเสียประชากรจำนวนครึ่งหนึ่งและเสียดินแดนประมาณร้อยละ 25–33 ให้แก่ไตรพันธมิตรอาร์เจนตินา บราซิล และอุรุกวัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปารากวัยต้องเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างประเทศที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือสงครามชาโก (ค.ศ. 1932–1935) กับโบลิเวีย ซึ่งปารากวัยเป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นประเทศนี้ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการทหารชุดต่าง ๆ และลงเอยด้วยระบอบของอัลเฟรโด เอสโตรสเนร์ ซึ่งกินเวลานาน 35 ปีจนกระทั่งถูกโค่นล้มโดยรัฐประหารภายในของทหารเมื่อ ค.ศ. 1989 นี่เป็นจุดเริ่มต้นของยุคประชาธิปไตยของปารากวัยซึ่งดำเนินต่อมาจนถึงทุกวันนี้

ปารากวัยเป็นประเทศกำลังพัฒนา[13] และเป็นสมาชิกก่อตั้งของตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง สหประชาชาติ องค์การนานารัฐอเมริกา ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และกลุ่มลิมา นอกจากนี้ เมืองลูเกในเขตมหานครอาซุนซิออนยังเป็นที่ตั้งของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้อีกด้วย

ชาวปารากวัยเจ็ดล้านคนส่วนใหญ่เป็นประชากรสายเลือดผสมหรือเมสติโซ และวัฒนธรรมกวารานียังคงมีอิทธิพลอย่างกว้างขวาง ประชากรมากกว่าร้อยละ 90 พูดภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษากวารานีควบคู่ไปกับภาษาสเปน แม้จะมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความยากจนและการปราบปรามทางการเมือง แต่จากดัชนีประสบการณ์เชิงบวกใน ค.ศ. 2017 ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกนั้น ปารากวัยได้รับการจัดอันดับให้เป็น "สถานที่ที่มีความสุขที่สุดในโลก"[14][15]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

รูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

ผู้นำฝ่ายบริหารคือประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งมีวาระ 5 ปี

ฝ่ายนิติบัญญัติ

[แก้]

เป็นระบบสองสภา (bicameral)

  1. วุฒิสภา สมาชิกมีจำนวน 45 คน มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี
  2. สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมีจำนวน 80 คนมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ปารากวัยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 จังหวัด (departamento) กับ 1 เขตเมืองหลวง* (distrito capital) ได้แก่

ISO 3166-2:PY จังหวัด เมืองหลัก ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2002) พื้นที่ (ตร. กม.) เขต
ASU ดิสตริโตกาปิตัล อาซุนซิออน 512,112 117 6
1 กอนเซปซิออน กอนเซปซิออน 179,450 18,051 8
2 ซานเปโดร ซานเปโดร 318,698 20,002 20
3 กอร์ดิเยรา กาอากูเป 233,854 4,948 20
4 กวยรา บิยาร์ริกา 178,650 3,846 18
5 กาอากัวซู โกโรเนลโอบิเอโด 435,357 11,474 21
6 กาอาซาปา กาอาซาปา 139,517 9,496 10
7 อิตาปูอา เองการ์นาซิออน 453,692 16,525 30
8 มิซิโอเนส ซานฆวนเบาติสตา 101,783 9,556 10
9 ปารากัวรี ปารากัวรี 221,932 8,705 17
10 อัลโตปารานา ซิวดัดเดลเอสเต 558,672 14,895 21
11 เซนตรัล อาเรกัว 1,362,893 2,465 19
12 เญเอมบูกู ปิลาร์ 76,348 12,147 16
13 อามัมไบ เปโดร ฆวน กาบาเยโร 114,917 12,933 4
14 กานินเดยู ซัลโตเดลกวยรา 140.137 14.667 12
15 เปรซิเดนเตอาเยส บิยาอาเยส 82,493 72,907 8
16 อัลโตปารากวย ฟูเอร์เตโอลิมโป 11,587 82,349 4
17 โบเกรอน ฟิลาเดลเฟีย 41,106 91,669 3
- ปารากวัย อาซุนซิออน 5,163,198 406,752 245

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ด้านหลังของตราแผ่นดินปารากวัย:
  2. ด้านหลังของธงชาติปารากวัย:

อ้างอิง

[แก้]
  1. Central Intelligence Agency (2016). "Paraguay". The World Factbook. Langley, Virginia: Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 1 January 2017.
  2. Religion affiliation in Paraguay as of 2018. Based on Latinobarómetro. Survey period: 15 June to 2 August 2018, 1,200 respondents.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Paraguay". World Economic Outlook Database, October 2018. International Monetary Fund. 9 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.
  4. "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2017. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  5. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  6. "Paraguay – Constitution, Article 140 About Languages". International Constitutional Law Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2012. สืบค้นเมื่อ 3 December 2007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) (see translator's note เก็บถาวร 1 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  7. "8 LIZCANO" (PDF). Convergencia.uaemex.mx. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 January 2013. สืบค้นเมื่อ 5 October 2012.
  8. "Sailing, option incorporated in the Paraguayan coasts" (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 17 August 2014.
  9. "The best beaches of Paraguay" (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2014. สืบค้นเมื่อ 16 March 2013.
  10. "Paraná-Paraguay Waterway" (PDF) (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 20 October 2015.
  11. "Paraguay: cómo Asunción se convirtió en 'madre' de más de 70 ciudades de Sudamérica hace 480 años". BBC News Mundo. BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2018.
  12. Caraman, Philip (1976): "The lost paradise: the Jesuit Republic in South America", New York: Seabury Press.
  13. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
  14. "World's Happiest Country? Would You Believe Paraguay?". NBC News. 21 May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2018. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.
  15. "Global Misery Worst Since Records Began, Poll Finds". Newsweek. 14 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2018. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
สื่อสารมวลชน
ท่องเที่ยว