ซีแอตเทิล
ซีแอตเทิล | |
---|---|
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ภาพถ่ายทางอากาศของย่านใจกลางเมืองโดยมีภูเขาเรเนียร์เป็นฉากหลัง, ทีโมไบล์พาร์ก, ไพก์เพลสมาร์เก็ต, สเปซนีดเดิล, ชิงช้าสวรรค์ยักษ์ซีแอตเทิล, ลานจัตุรัสในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และอะเมซอนสเฟียส์. | |
สมญา: นครมรกต นครแห่งเรือ นครแห่งสายฝน | |
คำขวัญ: นครแห่งดอกไม้ นครแห่งความปรารถนาดี | |
ที่ตั้งในคิงเคาน์ตี | |
พิกัด: 47°36′35″N 122°19′59″W / 47.60972°N 122.33306°W | |
ประเทศ | สหรัฐ |
รัฐ | วอชิงตัน |
เคาน์ตี | คิง |
สถาปนา | ค.ศ. 1851 |
เริ่มปกครองแบบเทศบาล | 2 ธันวาคม ค.ศ. 1869 |
ตั้งชื่อจาก | Chief Si'ahl |
การปกครอง | |
• ประเภท | สภา–นายกเทศมนตรี |
• องค์กร | สภานครซีแอตเทิล |
• นายกเทศมนตรี | บรูซ ฮาร์เรลล์ (เดโมแครต) |
• รองนายกเทศมนตรี | ไมเคิล ฟอง และเชฟาลี แรนกานาทัน |
พื้นที่[1] | |
• นคร | 142.07 ตร.ไมล์ (367.97 ตร.กม.) |
• พื้นดิน | 83.99 ตร.ไมล์ (217.54 ตร.กม.) |
• พื้นน้ำ | 58.08 ตร.ไมล์ (150.43 ตร.กม.) |
• รวมปริมณฑล | 8,186 ตร.ไมล์ (21,202 ตร.กม.) |
ความสูง | 175 ฟุต (53 เมตร) |
ความสูงจุดสูงสุด | 520 ฟุต (158 เมตร) |
ความสูงจุดต่ำสุด | 0 ฟุต (0 เมตร) |
ประชากร (2010)[2] | |
• นคร | 608,660 คน |
• ประมาณ (2019)[3] | 753,675 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 18 ในสหรัฐ |
• ความหนาแน่น | 8,973.18 คน/ตร.ไมล์ (3,464.55 คน/ตร.กม.) |
• เขตเมือง | 3,059,393 (อันดับที่ 14 ในสหรัฐ) คน |
• รวมปริมณฑล | 3,979,845 (อันดับที่ 15 ในสหรัฐ) คน |
• CSA | 4,903,675 (อันดับที่ 14 ในสหรัฐ) |
เดมะนิม | Seattleite[4] or Seattlite[5] |
เขตเวลา | UTC−8 (PST) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC−7 (PDT) |
รหัสไปรษณีย์ | |
รหัสพื้นที่ | 206 |
รหัสมาตรฐานในการแปรข้อมูลสู่รัฐบาลกลาง | 53-63000 |
รหัสระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ | 1512650[8] |
เว็บไซต์ | Seattle.gov |
ซีแอตเทิล (อังกฤษ: Seattle) เป็นเมืองท่าบนชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ ตั้งอยู่ในคิงเคาน์ตี รัฐวอชิงตัน ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐวอชิงตันและภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ การสำมะโนครัวใน ค.ศ. 2019 เปิดเผยว่าเขตมหานครซีแอตเทิลมีประชากร 3.98 ล้านคน นับเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 15 ของสหรัฐ[9] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ซีแอตเทิลเป็นเมืองหลักที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐ[10] และยังคงอยู่ในห้าอันดับแรกจากการจัดอันดับในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 2.1 ต่อปี[11] เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 ซีแอตเทิลกลับมาเป็นเมืองหลักที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐ ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 3.1 ต่อปี[12]
ซีแอตเทิลตั้งอยู่บนคอคอดระหว่างพิวเจ็ตซาวนด์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลสาบวอชิงตัน เป็นนครใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของสหรัฐ อยู่ห่างจากชายแดนแคนาดาไปทางทิศใต้ประมาณ 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) ซีแอตเทิลนับเป็นประตูการค้าหลักสู่เอเชีย โดยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในอเมริกาเหนือในแง่ของการรองรับตู้บรรจุสินค้าใน ค.ศ. 2015[13]
กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของซีแอตเทิลเมื่อ 4,000 ปีก่อนที่จะมีผู้ตั้งถิ่นฐานจากยุโรปเข้ามา[14] อาร์เทอร์ เดนนี พร้อมด้วยคณะเดินทางของเขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อพรรคพวกเดนนี เดินทางด้วยเรือใบ เอ็กแซ็กต์ จากรัฐอิลลินอย ผ่านพอร์ตแลนด์ และมาถึงอัลไคพอยต์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851[15] ต่อมาได้มีการย้ายนิคมไปยังชายฝั่งทิศตะวันออกของอ่าวเอลเลียต และตั้งชื่อนิคมใหม่นี้ว่า "ซีแอตเทิล" ใน ค.ศ. 1852 เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านซีแอตเทิลซึ่งเป็นหัวหน้าเผ่าดูวามิชและซูควอมิช ปัจจุบัน ซีแอตเทิลมีประชากรเป็นจำนวนมากทั้งชาวพื้นเมือง ชาวสแกนดิเนเวีย ชาวเอเชีย และชาวแอฟริกันอเมริกัน นอกจากนี่ยังมีกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีมากเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ[16]
การทำไม้เคยเป็นอุตสาหกรรมหลักลำดับแรก ๆ ของเมือง แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เมืองกลายเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและการต่อเรือ และเป็นประตูสู่อะแลสกาในช่วงยุคการตื่นทองคลอนไดก์ ซีแอตเทิลเติบโตขึ้นอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยมีส่วนจากการที่บริษัทโบอิงใช้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางในการสร้างเครื่องบิน ต่อมาซีแอตเทิลพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลนีตั้งแต่ทศวรรษ 1980 โดยมีการก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ในพื้นที่นี้ บิลล์ เกตส์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ เป็นชาวซีแอตเทิลโดยกำเนิด บริษัทค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต แอมะซอนก่อตั้งที่ซีแอตเทิลใน ค.ศ. 1994 และสายการบินหลักอย่างอะลาสกาแอร์ไลน์ ให้บริการที่ท่าอากาศยานนานาชาติซีแอตเทิล–ทาโคมาซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของเมือง การสตรีมของระบบซอฟต์แวร์ใหม่ นาโนเทคโนโลยี และบริษัทอินเทอร์เน็ต มีส่วนช่วยให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ประชากรของเมืองเพิ่มขึ้นเกือบ 50,000 คนในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1990 ถึง 2000
ซีแอตเทิลมีประวัติศาสตร์ทางดนตรีที่โดดเด่น โดยในช่วง ค.ศ. 1918 ถึง 1951 มีวงแจ๊สที่เล่นดนตรีกลางคืนบนถนนแจ็กสัน ตั้งแต่เขตไชนาทาวน์/นานาชาติไปจนถึงเขตเซ็นทรัล การเล่นดนตรีแจ๊สทำให้หลายคนมีเส้นทางอาชีพที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เรย์ ชาลส์, ควินซี โจนส์ และเออร์เนสไตน์ แอนเดอร์สัน ซีแอตเทิลยังเป็นบ้านเกิดของนักดนตรีร็อก จิมิ เฮนดริกซ์ และเป็นถิ่นกำเนิดของวงเนอร์วานา, เพิร์ลแจม, ซาวด์การ์เดน, อลิซอินเชนส์, ฟูไฟเตอส์ และดนตรีแนวกรันจ์[17]
เมืองพี่น้อง
[แก้]- เมืองพระสีหนุ, กัมพูชา
- Limbe, แคเมอรูน
- ฉงชิง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
- น็องต์, ฝรั่งเศส
- เปช, ฮังการี
- เรคยาวิก, ไอซ์แลนด์
- สุราบายา, อินโดนีเซีย
- แกลเวย์, ไอร์แลนด์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2019 U.S. Gazetteer Files". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ August 7, 2020.
- ↑ "U.S. Census website". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ December 19, 2012.
- ↑ "Annual Estimates of the Resident Population for Incorporated Places in Washington: April 1, 2010 to July 1, 2019". United States Census Bureau. May 2020. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
- ↑ Balk, Gene (October 2, 2012). "When can you call yourself a Seattleite?". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ October 19, 2018.
- ↑ Wilson-Codega, Lily. "About Seattle Sister Cities – Sister Cities | seattle.gov". City of Seattle. สืบค้นเมื่อ October 19, 2018.
- ↑ "Zip Code Lookup". USPS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2015.
- ↑ "Zip Code Lookup". USPS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2015.
- ↑ "Seattle". Geographic Names Information System, U.S. Geological Survey.
- ↑ Balk, Gene (March 26, 2018). "Seattle just one of 5 big metros last year that had more people move here than leave, census data show". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ May 7, 2018.
- ↑ Balk, Gene (May 22, 2014). "Census: Seattle is the fastest-growing big city in the U.S." The Seattle Times. FYI Guy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2018. สืบค้นเมื่อ May 27, 2014.
- ↑ Balk, Gene (May 21, 2015). "Seattle no longer America's fastest-growing big city". The Seattle Times. FYI Guy. สืบค้นเมื่อ November 20, 2015.
- ↑ Balk, Gene (May 25, 2017). "Seattle once again nation's fastest-growing big city; population exceeds 700,000". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ May 30, 2017.
- ↑ "Seaport Statistics". Port of Seattle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ January 28, 2016.
- ↑ Doree Armstrong (October 4, 2007). "Feel the beat of history in the park and concert hall at two family-friendly events". Seattle Post-Intelligencer. สืบค้นเมื่อ November 1, 2007.
- ↑ Andrew Craig Magnuson (July 20, 2014). "In Search of the Schooner Exact". Andrew Craig Magnuson. สืบค้นเมื่อ September 27, 2014.
- ↑ Gene Balk (March 20, 2015). "Survey ranks Seattle area 5th for LGBT population – so many people is that?". The Seattle Times.
- ↑ Heylin, Clinton (2007). Babylon's Burning: From Punk to Grunge. Conongate. p. 606. ISBN 978-1-84195-879-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official website of the City of Seattle
- Historylink.org, history of Seattle and Washington
- Seattle Photographs from the University of Washington Digital Collections
- Seattle Historic Photograph Collection from the Seattle Public Library เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Seattle Civil Rights and Labor History Project
- Seattle, a National Park Service Discover Our Shared Heritage Travel Itinerary