สิทธิ เศวตศิลา
สิทธิ เศวตศิลา | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน พ.ศ. 2533 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (25 ปี 87 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
หัวหน้าพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มกราคม พ.ศ. 2530 – 2 กันยายน พ.ศ. 2533 | |
ก่อนหน้า | คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ถัดไป | คึกฤทธิ์ ปราโมช |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม พ.ศ. 2529 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (0 ปี 202 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (10 ปี 196 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เปรม ติณสูลานนท์ ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | อุปดิศร์ ปาจรียางกูร |
ถัดไป | สุบิน ปิ่นขยัน |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 (0 ปี 263 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เรืออากาศตรีบุญยง วัฒนพงศ์ สวัสดิ์ คำประกอบ พลโทเฉลิมชัย จารุวัสตร์ เกษม จาติกวณิช ปรีดา กรรณสูต พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ ประมวล กุลมาตย์ พลเอกพร ธนะภูมิ | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | พลโทบุญเรือน บัวจรูญ สมพร บุณยคุปต์ พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ |
ถัดไป | ดำริ น้อยมณี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2462 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (96 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคกิจสังคม |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2500 - 2523 |
ยศ | พลอากาศเอก[1] |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศไทย |
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา (7 มกราคม พ.ศ. 2462 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558) เป็นทหารอากาศและนักการเมืองชาวไทย อดีตองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[2] อดีตเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (พฤษภาคม พ.ศ. 2528) โดยควบตำแหน่งกับ หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี[3][4]
ประวัติ
[แก้]พล.อ.อ. สิทธิ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2462 ที่จังหวัดพระนคร ในบ้านหลังวัดชนะสงคราม[5] เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) และคุณหญิงขลิบ วันพฤกษ์พิจารณ์ (สกุลเดิม บุนนาค)[5] เป็นหลานปู่ของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ หลานตาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเหลนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) มีพี่น้อง ดังนี้
- นายสุวรรณ เศวตศิลา
- นายวันชัย (ทองดี) เศวตศิลา
- นายบุญธรรม (ทองหล่อ) เศวตศิลา
- พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา
- นางสมจิตต์ สกลคณารักษ์
- นางสมใจ อาสนจินดา ภรรยาของ สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา ศิลปินแห่งชาติ นักแสดง ผู้กำกับ และผู้สร้างภาพยนตร์อาวุโส
- ร้อยตรี สนั่น เศวตศิลา
- นายสนิท เศวตศิลา
- นายปั้น เศวตศิลา
- นางประทิน จิตตินันท์
- นางสุจิตรา อุณหสุวรรณ
- นางพูนศรี พูนพิพัฒน์
- นางฉวีวรรณ ภาสะวณิช
- นางเจริญสุข แลร์ ภรรยาของ พ.ต.อ. เจมส์ วิลเลี่ยม แลร์ ผู้ก่อตั้งตำรวจตระเวนชายแดนและก่อตั้งตำรวจพลร่ม
- นางเฉลิมศรี เบิร์ด
พล.อ.อ. สิทธิ สมรสกับ เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา บุตรีพระยาอรรถกรมนุตรี (อรรถกรม ศรียาภัย) กับท่านผู้หญิงเฉลา อรรถกรมนุตรี (เฉลา ศรียาภัย) มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่
- นางธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ
- นายธีรสิทธิ เศวตศิลา
- นายธาดา เศวตศิลา สามีของมยุรา ธนบุตร นักแสดงหญิงและพิธีกรไทย
- นางสุทธินี ญาณอมร
พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา สำเร็จการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนวัดสุทัศน์ จังหวัดพระนคร ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนวัดราชบพิธ, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนมหาวชิราวุธ
ในระดับอุดมศึกษาพล.อ.อ. สิทธิ สอบเข้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2481 โดยสอบได้เป็นที่ 1 ของรุ่น เมื่อเรียนถึงปี 3 ได้รับทุนกองทัพอากาศ ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโลหะวิทยา (Metallurgy Engineering) สำเร็จการศึกษาได้ทั้ง ปริญญาตรี และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ โลหะวิทยา จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และจบการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 6 ในปีพ.ศ. 2506
ในระหว่างศึกษาที่สหรัฐอเมริกา เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทย ทำงานร่วมกับสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ ของสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด ขณะที่อายุเพียง 25 ปี โดยอาสาสมัครเองเป็นรุ่นที่ 2 ได้รับภารกิจกระโดดร่มลงที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำคริสตัลหรือสมุดรหัสส่งต่อแก่ขบวนการเสรีภายในประเทศ ซึ่งมีส่วนที่ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากสภาพการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในที่สุด[5]
บทบาททางการเมือง
[แก้]พล.อ.อ. สิทธิ เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในฐานะล่ามแปลภาษาในคณะกรรมการนเรศวร ซึ่งเป็นคณะกรรมการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้แก่กรมตำรวจ ในยุค พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และต่อมาได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน (ปัจจุบัน คือ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ) ในปี พ.ศ. 2497
ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานยศ"พลอากาศจัตวา"ด้วยอายุเพียง 37 ปี นับว่าเป็นนายพลอายุน้อยที่สุดในกองทัพอากาศขณะนั้น[6] ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[7]
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปีเดียวกัน[8] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ขณะมียศ"พลอากาศตรี"[9] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพลอากาศโทเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 [10] ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์[11] และได้รับพระราชทานยศ"พลอากาศเอก"เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2523 [12] ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์[13] ติดต่อกันนานถึง 10 ปี เป็นรองนายกรัฐมนตรี[14] รวมไปถึงรัฐบาลพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ[15] และเป็นอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2528[16][17]
และได้เป็นสมาชิกพรรคกิจสังคม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2529 และเป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคม ก่อนที่จะยุติบทบาททางการเมืองในปี พ.ศ. 2534 หลังการรัฐประหาร กระทั่งวันที่ 24 ธันวาคม ปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีพร้อมกับนาย จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [18]
บทบาทในฐานะองคมนตรี
[แก้]พล.อ.อ. สิทธิ ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ต่อต้านอำนาจของทักษิณ ชินวัตร เขามีความไม่สบายใจต่อการดำรงอยู่ของอำนาจฝ่ายทักษิณอยู่ตลอดเวลา โดยเขามองว่าทักษิณ เป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อราชอาณาจักรที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง
จากเอกสารโทรเลขในเว็บไซต์วิกิลีกส์ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2551 องคมนตรีสิทธิได้เสนอให้สมัคร สุนทรเวช ลาออก หรือยุบสภา แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง แต่ในขั้นต้น นายอานันท์ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ยังไม่ตอบรับข้อเสนอของสิทธิ แผนการนี้มีผู้ร่วมสนับสนุนหลายคน หนึ่งในนั้นปรากฏชื่อของ ปราโมทย์ นาครทรรพ และยังมีนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศ ตลอดจนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง[19] แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกหกวันต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญก็ปลดสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในช่วงที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี องคมนตรีสิทธิมองว่าอภิสิทธิ์ใช้เวลาอยู่บนโพเดียมมากเกินไป จนไม่มีเวลาที่จะสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ[20] นอกจากนี้องคมนตรีสิทธิยังพยายามแทรกแซงให้กองทัพปลดพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งเขามองเป็น "ทหารนอกแถว" ออกจากราชการ องคมนตรีสิทธิมองว่า"พลเอกอนุพงษ์ไร้ความสามารถในการควบคุมพลตรีขัตติยะ" องคมนตรีสิทธิมองว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก น่าจะสามารถจัดการเรื่องต่าง ๆ ได้ดีกว่าพลเอกอนุพงษ์[20]
องคมนตรีสิทธิโจมตีทักษิณว่า พยายามใช้เงินผู้ชุมนุมเสื้อแดง และฮุน เซน เพื่อทำลายประเทศ[20] แต่สิทธิทำนายว่าทักษิณจะทำไม่สำเร็จ ทักษิณไม่เคยพยายามเจรจา สิทธิแนะนำว่า ข้อเรียกร้องทักษิณจะได้รับการตอบสนอง ถ้าเขากลับเข้าประเทศและรับโทษในคุกพอเป็นพิธี ทักษิณก็น่าจะได้รับการอภัยโทษอย่างรวดเร็ว[20] และได้รับการปล่อยตัวในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี
ถึงแก่อสัญกรรม
[แก้]พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 05.30 น. ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด สิริอายุ 96 ปี 332 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เกียรติคุณ
[แก้]- " .... ผลงานชิ้นเอกที่สุด [ของ พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา] มีอยู่สองชิ้น คือ การรวบรวมเสียงชาวโลกให้คว่ำบาตรเวียดนาม [ในการสกัดกั้นการขยายตัวของเวียดนามในอินโดจีน]เหมือนกับที่ [ประธานาธิบดี] จอร์จ [เอช ดับเบิลยู] บุช รวบรวมโลกคว่ำบาตรอิรัก และการริเริ่มโครงการให้ทูตไทยช่วยเป็นพ่อค้าขายสินค้าไทยในต่างประเทศ ซึ่งได้ผลเริ่มเปลี่ยนไทยเป็นประเทศส่งออก ...."
- ได้รับปริญญาปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ประจำปีการศึกษา 2526
- ได้รับปริญญาปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา 2528
- ได้รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการระหว่างประเทศและการทูต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2533
- ได้รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำปีการศึกษา 2535
- ได้รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2537
- ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2539
- ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนศาสตร จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2540
- ได้รับเหรียญประกาศเกียรติคุณเสรีไทย จากสำนักข่าวกรองกลาง เพื่อเชิดชูวีรกรรมการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ยศทหารและกองอาสารักษาดินแดน
[แก้]ทหาร
[แก้]- 1 เมษายน พ.ศ. 2489 : ว่าที่เรืออากาศตรี
- 1 มกราคม พ.ศ. 2492 : เรืออากาศตรี
- 5 พฤจิกายน พ.ศ. 2492 : ว่าที่เรืออากาศเอก
- 1 มกราคม พ.ศ. 2493 : นาวาอากาศตรี
- 1 มกราคม พ.ศ. 2496 : นาวาอากาศโท
- 1 มกราคม พ.ศ. 2498 : นาวาอากาศเอก
- 1 มกราคม พ.ศ. 2500 : พลอากาศจัตวา[6]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2503 : ว่าที่พลอากาศตรี
- 1 มกราคม พ.ศ. 2503 : พลอากาศตรี
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 : พลอากาศโท[21]
- 30 มกราคม พ.ศ. 2523 : พลอากาศเอก[22]
กองอาสารักษาดินแดน
[แก้]- พ.ศ. 2500 : นายกองโท[23]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[24]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[25]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[26]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[27]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[28]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[29]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2503 - เหรียญออฟฟรีดอม[30]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2524 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 2
- ชิลี :
- พ.ศ. 2524 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรม ชั้นประถมาภรณ์
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2524 - เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นประถมาภรณ์
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2525 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง (พร้อมสายสะพาย)
- มาเลเซีย :
- เบลเยียม :
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2526 - เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นประถมาภรณ์
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2526 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นประถมาภรณ์
- อุรุกวัย :
- เนปาล :
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2528 - เครื่องอิสริยาภรณ์อิงฟังตึ เด. เอ็งรีกึ ชั้นประถมาภรณ์
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2529 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-29. สืบค้นเมื่อ 2005-11-29.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "ชมรมสายสกุลบุนนาค สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 4 สายเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2011-12-06.
- ↑ 6.0 6.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-29. สืบค้นเมื่อ 2005-11-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ08BANGKOK2619
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 SECRET SECTION 01 OF 03 BANGKOK 000192 U.S. Embassy Bangkok. 25 January 2010. wikileaks.
- ↑ รับพระราชทานยศทหารอากาศเป็น พลอากาศโท
- ↑ รับพระราชทานยศทหารอากาศเป็น พลอากาศเอก
- ↑ "รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองโท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2018-10-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ ๗๓๗, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๔, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 51 หน้า 1596, 21 มิถุนายน 2503
4. หนังสือ "ผ่านร้อน ผ่านหนาว พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา"
ก่อนหน้า | สิทธิ เศวตศิลา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ | รองนายกรัฐมนตรี (15 มกราคม พ.ศ. 2529– 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529) |
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ พงส์ สารสิน พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย พลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ | ||
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523) |
สุบิน ปิ่นขยัน |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558
- ชาวไทยเชื้อสายอังกฤษ
- ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย
- ทหารอากาศชาวไทย
- พลอากาศเอกชาวไทย
- พลอากาศโทชาวไทย
- องคมนตรี
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- สกุลบุนนาค
- สกุลเศวตศิลา
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชบพิธ
- บุคคลจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- ชาวไทยเชื้อสายสหราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
- เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- บุคคลจากเขตพระนคร
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย หลัง พ.ศ. 2544
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- ทหารชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง