(Translated by https://www.hiragana.jp/)
ไพจิตร เอื้อทวีกุล - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ไพจิตร เอื้อทวีกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพจิตร เอื้อทวีกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าประยุทธ์ ศิริพานิชย์
ถัดไปพิศาล มูลศาสตรสาทร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 กันยายน พ.ศ. 2477[1]
เสียชีวิต12 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (80 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงกิ่งแก้ว เอื้อทวีกุล

ศาสตราจารย์ ไพจิตร เอื้อทวีกุล (4 กันยายน พ.ศ. 2477 — 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกองทุนสนับสนุนการวิจัย[2]

ประวัติ

[แก้]

ศ.ไพจิตร เอื้อทวีกุล หรือ ศ.ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล เป็นอาจารย์ประจำคณะพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2519[3] และเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีในระหว่างปี พ.ศ. 2521 ถึงปี พ.ศ. 2524[4]

ศ.ไพจิตร เอื้อทวีกุล เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[5] ซึ่งเขาเคยเป็นโจทย์ฟ้องหมิ่นประมาทนายประสาน มีเฟื่องศาสตร์ อดีตผู้อำนวยการหนังสือดาวสยาม จากกรณีกล่าวหาเรื่องการลดค่าเงินบาท จนนายประสาน แพ้คดีและต้องชดใช้เงินจำนวนมากให้แก่นายไพจิตร

ศ.ไพจิตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47)[6] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ครม.49)[7] ซึ่งเขาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการสำคัญของรัฐบาลในสมัยนั้นคือ โครงการก่อสร้างเขื่อนปากมูล

ศ.ไพจิตร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[8]

ด้านชีวิตส่วนตัว ศ.ไพจิตร เอื้อทวีกุล สมรสกับ คุณหญิงกิ่งแก้ว เอื้อทวีกุล มีบุตรและธิดา รวม 2 คน[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ประวัติ ไพจิตร เอื้อทวีกุล
  2. ชู “5 ศ.” เบื้องหลัง สกว.องค์กรหนุนงานวิจัยชาติมา 20 ปี[ลิงก์เสีย]
  3. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๒๙/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  4. ประกาศแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งอธิการบดี
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  8. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔