(Translated by https://www.hiragana.jp/)
อี อี - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

อี อี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อี อี
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์I I
เอ็มอาร์Yi I
นามปากกา
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Yulgok
เอ็มอาร์Yulkok
ชื่อสุภาพ
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Sukheon
เอ็มอาร์Sukhŏn

อี อี (เกาหลี이이[1][2]; ฮันจา; 26 ธันวาคม ค.ศ. 1536 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1584) นามปากกาว่า ยุลกก (Yulgok, เกาหลี율곡; ฮันจา栗谷くりや) ซึ่งแปลว่า "หุบเขาแห่งลูกเกาลัด" เขาเป็นนักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucianism) คนสำคัญของเกาหลีในสมัยราชวงศ์โชซ็อน[3] ทั้งเป็นนักการเมืองที่เคารพนับถือ[4] แนวคิดและผลงานของอี อี นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการนักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อใหม่ รวมถึงระบบราชการและแนวคิดทางการเมืองของอาณาจักรโชซอนนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่สิบหกเป็นต้นมา

อี อี เป็นสานุศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของบัณฑิตโจ กวังโจ และยังเป็นนักปราชญ์ร่วมสมัยกันกับอี ฮวัง นักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อใหม่คนสำคัญอีกท่านของราชวงศ์โชซอน ซึ่งอาวุโสกว่าอีกด้วย[5]

ประวัติ

[แก้]

อี อี เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1536 ที่เมืองคังนึง จากมณฑลคังวอนแห่งอาณาจักรโชซอน บิดาของเขาเป็นเสนาบดีลำดับสี่ (จวาชันซอน; เกาหลี: 좌찬성) ส่วนมารดาของเขาคือ ชิน ซาอิมดัง (เกาหลี신사임당; ฮันจาさるにんどう) ศิลปินนักวาดภาพหญิงผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง (ทั้งอี อี และมารดา ได้รับเกียรติปรากฏอยู่บนธนบัตร 5000 วอนและ 50,000 วอนในปัจจุบันอีกด้วย) เขาเป็นหลานชายของอี กี (เกาหลี이기; ฮันจา) ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีในช่วง ค.ศ. 1549-1551 กล่าวกันว่าเมื่ออายุได้ 7 ขวบ เขาก็ร่ำเรียนคัมภีร์ลัทธิขงจื๊อจนเจนจบ และผ่านการสอบเป็นข้าราชการฝ่ายบุ๋นตั้งแต่อายุเพียง 13 ปีเท่านั้น ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี มารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมลง ทำให้เขาเลือกใช้ชีวิตอยู่อย่างสันโดษ ณ ภูเขาคึมกังถึง 3 ปีเพื่อศึกษาหลักธรรมของพุทธศาสนา ต่อมาเมื่ออายุ 20 ปีจึงออกจากภูเขาและหันมาศึกษาคำสอนของลัทธิขงจื๊อ[6][7]

อี อี แต่งงานเมื่ออายุ 22 ปี และได้เดินทางไปเข้าพบกับปรมาจารย์อี ฮวัง ที่โทซานในปีต่อมา ภายหลังเขาสอบรับราชการผ่านได้คะแนนสูงสุดจากการเขียนความเรียงเรื่อง "ชอนโดแช็ก" หรือ "ตำราว่าด้วยวิถีแห่งสวรรค์" (เกาหลี천도책; ฮันจา天道てんとうさく) ซึ่งได้รับการยอมรับในฐานะวรรณกรรมชิ้นเอกอย่างกว้างขวาง เนื้อหาของงานเขียนชิ้นนี้นั้นว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปรัชญาลัทธิขงจื๊อในด้านการเมือง ทั้งยังแสดงถึงความรู้ความเข้าใจในปรัชญาลัทธิเต๋าของเขาเองอย่างลึกซึ้งอีกด้วย[8] อีกทั้งเขายังได้สอบผ่านได้คะแนนสูงสุดติดต่อกันถึง 9 ครั้ง และเมื่ออายุได้ 26 ปี บิดาของอี อี ได้ถึงแก่กรรมลง[4]

ส่วนตัวอี อี นั้นเมื่ออายุ 29 ปี ได้รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ มากมาย ในปี ค.ศ. 1568 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "ซอจังกวาน" หรือ "เจ้าหน้าที่ฝ่ายเอกสารของกรมพิธีการ" (เกาหลี서장관; ฮันจา書狀しょじょうかん) ติดตามขบวนราชทูตโชซอนไปยังจักรวรรดิจีนในสมัยราชวงศ์หมิงอีกด้วย ส่วนเมื่ออายุได้ 34 อี อี ได้มีส่วนในการเขียนบันทึกจดหมายเหตุรายวันของราชสำนักในรัชสมัยพระเจ้ามยองจงแห่งโชซอน โดยเขียนในส่วนของทงโฮมุนดัพ ซึ่งเป็นบันทึก 11 ความเรียงเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองการปกครองที่เขาได้เสนอไว้ว่าการปกครองที่ทรงธรรมนั้นควรเป็นอย่างไร[9] ด้วยเหตุที่รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน ทำให้อี อี เป็นไว้วางพระทัยของพระราชาเป็นอย่างมาก เขาเป็นหนึ่งในขุนนางคนสำคัญคนหนึ่งในฝ่ายการเมืองของราชสำนัก ต่อมาเมื่ออายุได้ 40 ปี เขาได้ทูลถวายงานเขียนและฎีกามากมายต่อราชสำนัก แต่กลับล้มเหลวเมื่อเกิดความขัดแย้งของการเมืองในราชสำนักขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1576 ความพยายามปฏิรูปการเมืองของเขาจึงหมดความหมายลงและทำให้เขาเดินทางกลับบ้านเกิดไป โดยระหว่างที่พำนักที่บ้านเกิดนั่นเอง เขาได้ใช้เวลาไปกับการสั่งสอนเหล่าสานุศิษย์และได้เขียนตำรับตำราออกมามากมาย[4]

ภายหลังเมื่อกลับมารับราชการอีกครั้งตอนอายุ 45 ปี อี อี ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีและเจ้ากรมหลายตำแหน่ง ระหว่างนี้เขาก็ได้เขียนงานเขียนมากมายที่บันทึกถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่โหดร้ายรุนแรงในช่วงเวลานั้นด้วยจุดประสงค์ที่จะยับยั้งมันให้เบาบางลงได้บ้าง อย่างไรก็ดีในรัชสมัยของพระเจ้าซอนโจนั้น พระองค์ไม่ค่อยใส่ใจและบอกปัดแนวคิดของอี อี อยู่บ่อยครั้ง ทำให้อี อี ลำบากใจมากขึ้นในการพยายามจะเป็นกลางทางการเมืองในราชสำนักต่อไป เขาจึงได้ทูลลาออกจากราชการในปี ค.ศ. 1538 และปีต่อมาก็ถึงแก่กรรมลง[4]

มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนยังมีชีวิตอยู่นั้น อี อี ได้สร้างกระโจมไฟเตือนภัยไว้ที่ริมแม่น้ำอิมจิน (Imjin River) และสั่งให้ลูกหลานของเขาจุดไฟสัญญาณเพื่อเอาไว้เตือนพระราชาหากต้องทรงลี้ภัยไปยังทางเหนือจากกรุงฮันยาง (โซล) เพื่อให้ทรงเตรียมไปหลบในป้อมปราการ ภายหลังกระโจมไฟดังกล่าวได้ถูกยึดครองในช่วงสงครามอิมจิน (การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141))[10]

คำสอน

[แก้]

อี อี ไม่ได้เป็นเพียงนักปรัชญาเท่านั้น แต่ยังเป็นนักปฏิรูปการเมืองอีกด้วย ในทางปรัชญาแล้ว เขาไม่ได้เห็นด้วยเสียทั้งหมดกับแนวคิดทวินิยมของลัทธิขงจื๊อใหม่ (dualistic Neo-Confucianism) ที่อี ฮวังสมาทาน สำนักเรียนลัทธิขงจื๊อของเขาเน้นคำสอนที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมมากกว่าคำสอนเรื่องจิตภายใน วิธีการทางปรัชญาของเขาจึงมีลักษณะที่เป็นไปในทางเน้นการปฏิบัติโดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ภายนอก (มิใช่ภายในจิต) มากกว่า[11] ในขณะที่อี ฮวังนั้นท้อใจอยู่หลายครั้งหลายครากับการเมืองภายในราชสำนัก อี อี กลับเป็นขุนนางที่มุ่งมั่นในทางการเมือง เขาเชื่อว่าการเมืองและการทำงานในระบบราชการคือส่วนสำคัญในค่านิยมแบบขงจื๊อ อี อี เน้นย้ำว่า การเรียนรู้เพื่อจะเป็นปราชญ์และการอบรมบ่มเพาะตนคือรากฐานของระบบการปกครองที่เหมาะสมยิ่ง[6][7]

อี อี ยังมีชื่อเสียงในด้านความสุขุมรอบคอบในด้านความมั่นคงของอาณาจักรอีกด้วย เขาเคยนำเสนอร่างนโยบายที่ให้เตรียมกองทัพไว้ป้องกันการรุกรานจากญี่ปุ่นซึ่งเขาเชื่อว่าจะมาบุกโจมตีเมื่อไหร่ก็ได้ ข้อเสนอของเขาถูกที่ประชุมเสนาบดีปฏิเสธไป และภายหลังข้อกังวลของเขาในเรื่องนี้ก็ได้รับการยืนยันเพียงไม่นานหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว ในรูปของ การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141) นั่นเอง[7]

ผลงาน

[แก้]

งานเขียนของอี อี มีอยู่ถึง 193 ชิ้น และได้รับการตีพิมพ์ถึง 276 ครั้งใน 6 ภาษา และมีหอสมุดถึง 2,236 แห่งที่มีผลงานเหล่านี้ ต่อไปนี้คือรายชื่อผลงานอย่างคร่าว ๆ ของเขา[12]

  • ปุจฉา-วิสัชนา ณ ทะเลสาบตะวันออก (เกาหลี동호문답; ฮันจา東湖とうこ問答もんどう) เป็นบทความ 11 ชิ้นว่าด้วยการปฏิรูปทางการเมือง[9]
  • ฎีกาพันอักษร (เกาหลี만언봉사; ฮันจา萬言まんげんふうごと) เป็นคำสอนลัทธิขงจื๊อว่าด้วยการร่ำเรียน การอบรมตนเอง และการนำคำสอนไปประยุต์ใช้ในระบบราชการ[13]
  • แก่นแท้ในการร่ำเรียนของปวงปราชญ์ (เกาหลี성학집요; ฮันจาひじりまなぶ輯要) ว่าด้วยมูลฐานหลักจริยศาสตร์ การอบรมตนเอง และศิลปะในการปกครองบ้านเมืองตามหลักลัทธิขงจื๊อ[14]
  • เคล็ดลับในการขจัดความไม่รู้ (เกาหลี격몽요결; ฮันจาげきこうむ要訣ようけつ) ว่าด้วยคำแนะนำอย่างเป็นระบบในการร่ำเรียน[15]
  • บันทึกคำสอนประจำวันต่อหน้าพระพักตร์ (เกาหลี경연일기; ฮันจาけいむしろ日記にっき) เป็นบันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองในราชสำนัก[16]
  • สรรพ์นิพนธ์ยุลกกฉบับสมบูรณ์ (เกาหลี율곡전서; ฮันจา栗谷くりや全書ぜんしょ) เป็นงานที่รวมรวมผลงานของอี อี ภายหลังมรณกรรมของเขา[17]

สิ่งสืบทอด

[แก้]
ภาพของอี อี บนธนบัตร 5,000 วอนของเกาหลีใต้

Yulgongno ถนนใจกลางโซล ตั้งชื่อตามเขา[18] และมีการใส่ภาพของเขาในธนบัตร 5,000 วอน[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เดิมเขียนเป็น 니이(Ni Yi)
  2. "Joya hoetong". Jangseogak Royal Archives. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  3. Daehwan, Noh. "The Eclectic Development of Neo-Confucianism and Statecraft from the 18th to the 19th Century," เก็บถาวร มิถุนายน 14, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Korea Journal. Winter 2003.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 (ในภาษาเกาหลี) Yi I[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  5. Daehwan, Noh. "The Eclectic Development of Neo-Confucianism and Statecraft from the 18th to the 19th Century," Korea Journal. Winter 2003.
  6. 6.0 6.1 (เกาหลี) Yi I เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at The Academy of Korean Studies
  7. 7.0 7.1 7.2 (เกาหลี) [1] เก็บถาวร 2011-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Encyclopedia of Korean Culture
  8. Lee Eunjik (이은직) translated by Jeong Hongjun (정홍준), Great Joseon Masters Vol.2 (조선명인전 2) p35, Ilbit Publishing, Seoul, 2005. ISBN 89-5645-087-0
  9. 9.0 9.1 (เกาหลี) Dongho Mundap[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  10. Choi Beomseo (최범서), Unofficial History of Joseon Vol. 2 p52, Garam Publishing, Seoul, 2003. ISBN 89-8435-143-1
  11. Lee Hyun-hee, Park Sung-soo, Yoon Nae-hyun, translated by The Academy of Korean Studies, New History of Korea p393, Jimoondang, Paju, 2005. ISBN 89-88095-85-5
  12. WorldCat Identities: Yi, I 1536-1584
  13. (เกาหลี) Maneon Bongsa[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  14. (เกาหลี) Seonhak Jibyo[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  15. (เกาหลี) Gyeokmong Yogyel[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  16. (เกาหลี) Gyeongyeon Ilgi[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  17. (เกาหลี) Yulgok Jeonseo[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  18. (ในภาษาเกาหลี) Yulgongno[ลิงก์เสีย] at Doosan Encyclopedia
  19. (ในภาษาเกาหลี) Money bill designs at Naver dictionary

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]